ภาษาสันเกถิ
ภาษาสันเกถิ | |
---|---|
ประเทศที่มีการพูด | รัฐกรณาฏกะ |
จำนวนผู้พูด | (no estimate available) |
ตระกูลภาษา | |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | – |
ภาษาสันเกถิ เป็นภาษาตระกูลดราวิเดียนตอนใต้ที่มีความใกล้ชิดกับภาษาทมิฬ บางครั้งจัดเป็นภาษาย่อยของภาษากันนาดาหรือทมิฬ แต่ปัจจุบันแยกออกมาเป็นภาษาต่างหากเพราะผู้พูดภาษานี้ไม่อาจเข้าใจกันได้กับภาษาทมิฬ คาดว่าภาษานี้แยกตัวออกจากภาษาทมิฬในยุคเดียวกับภาษามลยาฬัม ได้รับอิทธิพลและยืมคำจากภาษากันนาดาและภาษาสันสกฤต[1][2] มีลักษณะใกล้เคียงกับภาษามลยาฬัม แต่ก็ยังมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ผู้พุดปัจจุบันอยุ่ระหว่างรอยต่อของรัฐเกราลากับทมิฬนาดู ภาษานี้ไม่มีระบบการเขียนเป็นของตนเองและมีเพลงพื้นบ้านมาก
ไวยากรณ์
[แก้]ภาษาสันเกถิเป็นภาษาที่มีคำศัพท์มาก คำศัพท์บางส่วนใกล้เคียงกับภาษาทมิฬคลาสสิก ภาษาสันเกถิมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากภาษากลุ่มดราวิเดียนอื่นๆคือ มีการแบ่งเป็นเอกพจน์และพหูพจน์ ซึ่งไม่พบในภาษากันนาดาและภาษาทมิฬ มีความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างกาลและบุคคล มี 3 เพศ มีการแยกสรรพนามที่รวมและไม่รวมผู้ฟังออกจากกันสำหรับบุรุษที่ 1 พหูพจน์ เครื่องหมายการกต่างจากภาษาทมิฬ โดยลักษณะของภาษาสันเกถิที่ไม่พบในภาษาทมิฬและภาษากันนาดาคือลักษณะที่ใช้กับเพศเป็นกลาง
คำส่วนใหญ่ลงท้ายด้วยสระ คำที่ลงท้ายด้วย –a ในภาษากันนาดาจะลงท้ายด้วย –u ในภาษาสันเกถิ คำที่ลงท้ายด้วย –e ในภาษากันนาดาหรือ –ai ในภาษาทมิฬจะลงท้ายด้วย –a ในภาษาสันเกถิ ซึ่งเป็นลักษณะที่คล้ายภาษาเตลูกูและภาษามลยาฬัม
สำเนียง
[แก้]แบ่งภาษาสันเกถิออกเป็นสี่สำเนียง ซึ่งแต่ละสำเนียงเข้าใจกันได้ง่าย โดยสำเนียงเกาศิกาต่างจากภาษาทมิฬมากที่สุด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "NASA - Fostering the global Sankethi community".
- ↑ Tamil ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
- Dr.Shrikaanth K.Murthy- Article in Sanketi Sangama, February 2006 (Published from Shimoga)
- Dravidabhashavijnana by Hampa Nagarajaiah (Published by D.V.K.Murthy publishers, Mysore, India)
- Sanketi jananga, samskruti mattu bhashe- C.S.Ramachandarao (Published by Chaitra Pallavi Publishers, Mysore)
- Nacharammana Jivana Carite- M. Keshaviah (published from Mysore)
- Shreyash S -Article in Sanketi Sangama [Published by Chaitra Pallavi Publishers, Bangalore]