กามุย
กามุย (ไอนุ: kamuy) หรือ คามูอิ (ญี่ปุ่น: カムイ; โรมาจิ: kamui) เป็นวิญญาณหรือเทพเจ้าในตำนานของชาวไอนุ เป็นคำที่บ่งบอกถึงตัวตนเหนือธรรมชาติที่ประกอบด้วยหรือมีพลังงานทางจิตวิญญาณ
ชาวไอนุมีตำนานมากมายเกี่ยวกับกามุยซึ่งสืบทอดต่อ ๆ กันมาโดยเรื่องเล่ามุขปาฐะและพิธีกรรม เรื่องราวของกามุยได้รับการถ่ายทอดในรูปแบบบทสวดและการแสดง ซึ่งมักจะแสดงในระหว่างพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์
แนวคิด
[แก้]แนวความคิดเกี่ยวกับกามุยคล้ายกับคามิของญี่ปุ่น แต่แนวความคิดของคามิยังไม่ครอบคลุมถึงบางบริบทของกามุย[1] (มิชชันนารีจอห์น แบตเชอเลอร์สันนิษฐานว่า คามิในภาษาญี่ปุ่นมีต้นกำเนิดมาจากคำว่ากามุยในภาษาไอนุ)[2] การใช้คำว่ากามุยในหมู่ชาวไอนุครอบคลุมในบริบทที่กว้างมาก และสามารถใช้กล่าวบางสิ่งที่ถือว่ามีความแข็งแกร่งเป็นพิเศษ[2] คำว่ากามุยสามารถใช้กล่าวถึงสิ่งมีชีวิตทางจิตวิญญาณ รวมทั้งสัตว์ พืช สภาพอากาศ และแม้แต่เครื่องมือของมนุษย์[3] เทวดาผู้พิทักษ์ เรียกว่า "อีตูเร็นกามุย" (Ituren-kamuy)[4] กามุยมีหลากหลายรูปแบบ กามุยบางตนได้รับคำพรรณนาลักษณะและได้รับการตั้งชื่อเช่นกามุยฮูจี (Kamuy huci) เทพีแห่งเตาไฟ ในขณะที่กามุยอื่นไม่ได้รับการพรรณนาและชื่อ กามุยมักมีความเกี่ยวข้องกับบางสิ่งอย่างเฉพาะเจาะจง เช่น มีกามุยแห่งคลื่นใต้น้่ำ[1] แบตเชอเลอร์เปรียบเทียบคำว่ากามุยกับคำภาษากรีกว่าไดมอน (δαίμων)[2]
เทพในตำนานของไอนุมักมีคำว่ากามุยเป็นส่วนหนึ่งของชื่อ
ตัวอย่างกามุยที่มีชื่อเสียง
[แก้]- อาเอโอยนากามุย (Ae-oyna-kamuy) วีรชนวัฒนธรรมผู้สอนมนุษย์ให้รู้จักศิลปวิทยาการอันศักดิ์สิทธิ์
- อาปาซัมกามุย (Apasam kamuy) กามุยแห่งธรณีประตู
- จีกัปกามุย (Cikap-kamuy) / โกตันโกร์กามุย (Kotan-kor-kamuy) เทพแห่งนกฮูกและผืนดิน
- จีรนนุปกามุย (Cironnup kamuy) เทพแห่งจิ้งจอก
- ฮาซีเนาอุกกามุย (Hasinaw-uk-kamuy) เทพีแห่งการล่าสัตว์
- โฮเยากามุย (Hoyau kamuy) เทพมังกร
- กามุยฮูจี (Kamuy-huci) เทพีแห่งเตาไฟ
- กันดาโกโรกามุย (Kanda-koro-kamuy) เทพแห่งท้องฟ้า
- กันนากามุย (Kanna kamuy) กามุยแห่งฟ้าแลบและฟ้าร้อง
- เกนัสอูนาร์เป (Kenas-unarpe) สัตว์ประหลาดดื่มเลือดที่ล่านายพราน
- กิมุนกามุย (Kimun-kamuy) เทพแห่งภูเขาและหมี
- กีนาซุตกามุย (Kina-sut-kamuy) เทพแห่งงู
- โกตันการ์กามุย (Kotan-kar-kamuy) เทพแห่งการสร้าง
- กุนเนจุปกามุย (Kunnecup-kamuy) เทพแห่งพระจันทร์
- โมซีร์การากามุย (Mosirkara kamuy) เทพผู้สร้างโลก
- นูซาโกร์กามุย (Nusa-kor-kamuy) ผู้ส่งสารของเทพและตัวแทนของความตาย
- เปาจีกามุย (Pawci-kamuy) วิญญาณชั่วร้ายที่ทำให้เกิดความวิกลจริต
- เรปุนกามุย (Repun-kamuy) วาฬเพชฌฆาต เทพแห่งทะเล
- ซีรันปากามุย (Siranpa-kamuy) เทพแห่งไม้ ธัญพืช และพืชพันธุ์
- โตกัปจุปกามุย (Tokapcup-kamuy) เทพแห่งพระอาทิตย์
- วักกาอุสกามุย (Wakka-us-kamuy) เทพแห่งน้ำจืด
- ยาอสเก็ปกามุย (Yaoskep kamuy) เทพีแมงมุม
- ซาโรรุนกามุย (Sarorun kamuy) เทพแห่งหนองน้ำ
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Ashkenazy, Michael. Handbook of Japanese Mythology. Santa Barbara, California: ABC-Clio, 2003. 187-188
- ↑ 2.0 2.1 2.2 John Batchelor: The Ainu and Their Folk-Lore, London 1901, p. 580–582.
- ↑ Strong, Sarah Mehlhop (2011). Ainu spirits singing : the living world of Chiri Yukie's Ainu shinʼyōshū. Chiri, Yukie, 1903-1922., 知里, 幸恵(1903-1922). Honolulu: University of Hawaii Press. ISBN 9780824860127. OCLC 798295761.
- ↑ Batchelor: The Ainu and Their Folk-Lore, p. 240–241.
บรรณานุกรม
[แก้]- Ashkenazy, Michael. Handbook of Japanese Mythology. Santa Barbara, California: ABC-Clio, 2003.
- Etter, Carl. Ainu Folklore: Traditions and Culture of the Vanishing Aborigines of Japan. Chicago: Wilcox and Follett, 1949.
- Munro, Neil Gordon. Ainu Creed and Cult. New York: Columbia University Press, 1995
- Strong, Sarah Mehlhop (2011). Ainu spirits singing: the living world of Chiri Yukie's Ainu shinʼyōshū. Chiri, Yukie, 1903-1922., 知里, 幸恵(1903-1922). Honolulu: University of Hawaii Press. ISBN 9780824860127ISBN 9780824860127. OCLC 798295761OCLC 798295761
- Batchelor, John (1894). "Items of Ainu Folk-Lore". The Journal of American Folklore. 7 (24): 15. doi:10.2307/532957
- Utagawa, Hiroshi (1992). "The 'Sending-Back' Rite in Ainu Culture". Japanese Journal of Religious Studies. 19: 255–270 – via JSTOR
- Phillipi, Donald L. (2015). Songs of gods, songs of humans. Princeton University Press. ISBN 0691608814ISBN 0691608814. OCLC 903423542OCLC 903423542
- Strong, Sarah M. (2009). "The Most Revered of Foxes: Knowledge of Animals and Animal Power in an Ainu Kamui Yukar". Asian Ethnology. 68 (1): 27–54. ISSN 1882-6865ISSN 1882-6865
- Kimura, Takeshi (1999-01-01). "Bearing the 'Bare Facts' of Ritual. A Critique Of Jonathan Z. Smith's Study of the Bear Ceremony Based On a Study of the Ainu Iyomante". Numen. 46 (1): 88–114. doi:10.1163/1568527991526086. ISSN 0029-5973ISSN 0029-5973