ข้ามไปเนื้อหา

โจนัส ซอล์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Jonas Salk)
โจนัส ซอล์ก
โจนัส ซอล์ก ที่ท่าอากาศยานโคเปนเฮเกน (พฤษภาคม ค.ศ. 1959)
เกิดJonas Salk
28 ตุลาคม ค.ศ. 1914(1914-10-28)
นครนิวยอร์ก, สหรัฐ
เสียชีวิต23 มิถุนายน ค.ศ. 1995(1995-06-23) (80 ปี)
La Jolla, รัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐ.
สุสานEl Camino Memorial Park
ซานดิเอโก, รัฐแคลิฟอร์เนีย
สัญชาติอเมริกัน
ศิษย์เก่าCity College of New York
มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก
มหาวิทยาลัยมิชิแกน
มีชื่อเสียงจากผู้ค้นพบวัคซีนโรคโปลิโอ
คู่สมรสDonna Lindsay
(สมรส 1939; หย่า 1968)

Françoise Gilot
(สมรส 1970)
รางวัลLasker Award (1956)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาการวิจัยทางการแพทย์,
วิทยาไวรัส และวิทยาการระบาด
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์ก
Salk Institute
มหาวิทยาลัยมิชิแกน
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกโทมัส ฟรานซิส จูเนียร์
ลายมือชื่อ

โจนัส เอ็ดเวิร์ด ซอล์ก (อังกฤษ: Jonas Edward Salk; 28 ตุลาคม ค.ศ. 1914 – 23 มิถุนายน ค.ศ. 1995) เป็นนักวิจัยการแพทย์และนักวิทยาไวรัสชาวอเมริกัน เขาค้นพบและพัฒนาวัคซีนโรคโปลิโอสำเร็จครั้งแรก เขาเกิดในนครนิวยอร์ก เข้าศึกษาที่โรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ต่อมาเลือกทำวิจัยการแพทย์แทนเป็นแพทย์เวชปฏิบัติ ซอล์กได้ปริญญาการแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยนี้ แล้วใน ค.ศ. 1939 เขาเป็นแพทย์นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเมานต์ไซนาย[1] เขายังทำวิจัยที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน[2]

ก่อน ค.ศ. 1955 เมื่อมีการริเริ่มวัคซีนซอล์ก โรคโปลิโอถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่น่ากลัวที่สุดอย่างหนึ่งในโลก ในสหรัฐหลังสงคราม การระบาดประจำปีมีความเสียหายเพิ่มขึ้น การระบาดในสหรัฐเมื่อ ค.ศ. 1952 ถือเป็นการระบาดครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ มีรายงานผู้ป่วยเกือบ 58,000 คน มีผู้เสียชีวิต 3,145 คน และอีก 21,269 คนมีอาการอัมพาตเล็กน้อยถึงพิการในปีนั้น[3] โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็ก ผลคือ นักวิทยาศาสตร์แข่งขันลนลานเพื่อหาวิธีป้องกันหรือรักษาโรค ใน ค.ศ. 1938 ประธานาธิบดีสหรัฐ แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ผู้ป่วยโรคโปลิโอที่ขึ้นชื่อที่สุดของโลก ก่อตั้งมูลนิธิสำหรับอัมพาตทารกแห่งชาติ องค์การซึ่งจะให้ทุนสนับสนุนการพัฒนาวัคซีน

ใน ค.ศ. 1947 ซอล์กรับการแต่งตั้งโรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์ก ใน ค.ศ. 1948 เขาดำเนินโครงการที่มูลินิธิสำหรับอัมพาตทารกแห่งชาติสนับสนุนทุนเพื่อตัดสินจำนวนชนิดต่าง ๆ ของไวรัสโปลิโอ ซอล์กสบโอกาสขยายโครงการนี้ไปถึงการพัฒนาวัคซีนต้านโปลิโอ และร่วมกับคณะวิจัยที่เชี่ยวชาญที่เขารวบรวม อุทิศตนให้กับงานนี้เป็นเวลาอีกเจ็ดปี มีการทดลองสนามเพื่อทดสอบวัคซีนซอล์ก มีเด็กนักเรียนกว่า 1,800,000 คนเข้าร่วมการทดลอง[4] เมื่อข่าวความสำเร็จของวัคซีนเผยแพร่ต่อสาธารณะเมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1955 ซอล์กได้รับยกย่องเป็น "คนงานปาฏิหาริย์" และวันนั้นเกือบเป็นวันหยุดประจำชาติ ทั่วโลก มีการเริ่มเร่งรัดให้วัคซีนทันที โดยประเทศอย่างแคนาดา สวีเดน เดนมาร์ก นอร์เวย์ เยอรมนีตะวันตก เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ และเบลเยียมกำลังวางแผนเริ่มโครงการให้ภูมิคุ้มกันโปลิโอโดยให้วัคซีนของซอล์ก

ซอล์กรณรงค์สนับสนุนการให้วัคซีนโดยบังคับ โดยอ้างว่าสาธารณสุขควรถือเป็น "การผูกมัดทางศีลธรรม"[5] ความสนใจเดียวของเขาคือ เพื่อพัฒนาวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้โดยไม่สนใจประโยชน์ส่วนตน เมื่อถูกถามว่าผู้ใดเป็นเจ้าของสิทธิบัตรวัคซีน ซอล์กตอบว่า "ไม่มีสิทธิบัตร คุณสามารถจดสิทธิบัตรดวงอาทิตย์ได้หรือ"[6] ใน ค.ศ. 1960 เขาก่อตั้งสถาบันเพื่อการศึกษาชีววิทยาซอล์กในลาฮอยยา (La Jolla) รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์การวิจัยการแพทย์และวิทยาศาสตร์ เขายังดำเนินการวิจัยและจัดพิมพ์หนังสือต่อไป บั้นปลายของซอล์กใช้ไปกับการค้นหาวัคซีนต้านเอชไอวี เอกสารส่วนบุคคลของเขาถูกเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนดีเอโก[7][8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "About Jonas Salk - Salk Institute for Biological Studies". Salk Institute for Biological Studies (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2016-02-22.
  2. "A Science Odyssey: People and Discoveries: Salk produces polio vaccine". www.pbs.org. สืบค้นเมื่อ 2016-03-03.
  3. Zamula E (1991). "A New Challenge for Former Polio Patients." FDA Consumer 25 (5): 21–5. FDA.gov, Cited in Poliomyelitis [Retrieved November 14, 2009].
  4. Rose DR (2004). "Fact Sheet—Polio Vaccine Field Trial of 1954." March of Dimes Archives. 2004 02 11.
  5. Jacobs, Charlotte DeCroes. "Vaccinations have always been controversial in America: Column", USA Today, August 4, 2015
  6. Johnson, George (November 25, 1990). "Once Again, A Man With A Mission". The New York Times. สืบค้นเมื่อ August 5, 2011.
  7. "UC San Diego Library Receives Personal Papers of Jonas Salk", Newswise, March 20, 2014
  8. San Diego Union Tribune, 20 March 2014: "UCSD to house Salk's papers" เก็บถาวร 2016-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, accessed 3 July 2015.