ข้ามไปเนื้อหา

มณฑลจี๋หลิน

พิกัด: 43°42′N 126°12′E / 43.7°N 126.2°E / 43.7; 126.2
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Jilin)
มณฑลจี๋หลิน

吉林省
การถอดเสียงชื่อมณฑล
 • ภาษาจีนจี๋หลินเฉิ่ง (吉林省 Jílín Shěng)
 • อักษรย่อJL / จี๋ ( )
ทิวทัศน์ของทะเลสาบสวรรค์ (ทะเลสาบเทียนฉือ)
ทิวทัศน์ของทะเลสาบสวรรค์ (ทะเลสาบเทียนฉือ)
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลจี๋หลิน
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลจี๋หลิน
พิกัด: 43°42′N 126°12′E / 43.7°N 126.2°E / 43.7; 126.2
ตั้งชื่อจากมาจาก girin ula วลีภาษาแมนจู แปลว่า "ไปตามลำน้ำ"
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
จี๋หลิน (ค.ศ. 1949–1954)
ฉางชุน (ค.ศ. 1954–ปัจจุบัน)
เขตการปกครอง9 จังหวัด, 60 อำเภอ, 1,006 ตำบล
การปกครอง
 • เลขาธิการพรรคBayanqolu
 • ผู้ว่าราชการจิ่ง จุ้นไห่ (景俊海)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด191,126 ตร.กม. (73,794 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 14
ความสูงจุดสูงสุด (ภูเขาแพ็กดู)2,744 เมตร (9,003 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2010)[2]
 • ทั้งหมด27,462,297 คน
 • อันดับอันดับที่ 21
 • ความหนาแน่น140 คน/ตร.กม. (370 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 23
ประชากรศาสตร์
 • องค์ประกอบทางชาติพันธุ์
 • ภาษาและภาษาถิ่นภาษาจีนกลางตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาษาเกาหลีสำเนียงฮัมกย็อง
รหัส ISO 3166CN-JL
GDP (ค.ศ. 2017)[3]1.53 ล้านล้านเหรินหมินปี้ หรือ 226.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 23)
 • ต่อหัว56,101 เหรินหมินปี้ หรือ 8,309 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 13)
HDI (ค.ศ. 2018)เพิ่มขึ้น 0.768[4] (สูง) (อันดับที่ 9)
เว็บไซต์www.jl.gov.cn

จี๋หลิน (จีน: 吉林; พินอิน: Jílín) เป็นหนึ่งในสามมณฑลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดคือ ฉางชุน มณฑลจี๋หลินมีอาณาเขตทางทิศตะวันออกติดกับประเทศเกาหลีเหนือ (นครราซ็อน จังหวัดฮัมกย็องเหนือ จังหวัดรยังกัง และจังหวัดชากัง) และประเทศรัสเซีย (ดินแดนปรีมอร์สกี) ทิศเหนือติดกับมณฑลเฮย์หลงเจียง ทิศใต้ติดกับมณฑลเหลียวหนิง และทิศตะวันตกติดกับเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ชื่อของมณฑล "จี๋หลิน" มาจากวลีภาษาแมนจู girin ula หมายถึง "ไปตามลำน้ำ"

ชาวแมนจูเคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ของมณฑลจี๋หลิน จึงทำให้มณฑลจี๋หลินเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นแมนจูเรียในประวัติศาสตร์ พื้นที่แห่งนี้เคยมีการต่อสู้แย่งชิงและตกอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ของชาวฮั่น ได้แก่ รัฐกลุ่มชนซฺยงหนู, รัฐเซียนเปย์, ราชวงศ์เหลียวของชาวชี่ตัน, ราชวงศ์จินของกลุ่มชนนฺหวี่เจิน, และราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล[5] ประชากรส่วนใหญ่ในมณฑลพูดภาษาจีนกลาง เนื่องด้วยการรับเอาวัฒนธรรมฮั่นและภาษาจีนมาใช้โดยชาวแมนจู ทำให้ภาษาแมนจูถือเป็นภาษาที่ใกล้สูญพันธุ์[6] มณฑลนี้มีชาวเกาหลีอยู่ประมาณร้อยละ 4 ของประชากรทั้งหมด เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กับคาบสมุทรเกาหลี

เช่นเดียวกันกับมณฑลอื่น ๆ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน จี๋หลินได้ผ่านช่วงแรกของการพัฒนาอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของมณฑลจี๋หลิน ซึ่งเด่นด้านอุตสาหกรรมหนัก ได้ประสบปัญหากับการโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชน สิ่งนี้กระตุ้นให้รัฐบาลกลางดำเนินการรณรงค์ที่เรียกว่า "แผนฟื้นฟูพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ" นอกจากนี้ มณฑลจี๋หลินยังมีแหล่งหินน้ำมันเป็นจำนวนมาก

ภูมิศาสตร์

[แก้]

มณฑลจี๋หลินมีพื้นที่ติดต่อดังนี้

ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงทิศตะวันออกเฉียงใต้พื้นที่สูงบริเวณเทือกเขาฉางไป๋ซันซึ่งมีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลมากกว่า 1,000 เมตร ส่วนทิศตะวันตกบริเวณที่ราบซงเหลียว เป็นพื้นที่ค่อนข้างต่ำจึงเหมาะเป็นเขตทำปศุสัตว์ที่สำคัญของมณฑล

ด้านตะวันออกค่อนข้างรับอิทธิพลจากทะเลหวงไห่ และทะเลญี่ปุ่น จึงมีสภาพอากาศแบบชุ่มชื้น มีฝนตกชุก ด้านตะวันตกรับอิทธิพลจากที่ราบสูงมองโกล ทำให้อากาศแห้งแล้งทั้งมณฑลมีลักษณะอากาศเฉพาะแบบมรสุม เกษตรกรรม เป็นแหล่งวัตถุดิบประเภทข้าวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ มีผลผลิตต่าง ๆ ได้แก่ ถั่วเหลือง ข้าวโพด

เขตการปกครอง

[แก้]

มณฑลจี๋หลินแบ่งออกเป็นเขตการปกครองระดับจังหวัดทั้งหมด 9 แห่ง ประกอบด้วย 8 นครระดับจังหวัด (เป็นนครระดับกิ่งมณฑล 1 แห่ง) และ 1 จังหวัดปกครองตนเอง

เขตการปกครองของมณฑลจี๋หลิน
ชื่อ อักษรจีน พินอิน
นครฉางชุน 长春市 Chángchūn Shì
นครจี๋หลิน 吉林市 Jílín Shì
นครซี่ผิง 四平市 Sìpíng Shì
นครเหลียวเยฺหวียน 辽源市 Liáoyuán Shì
นครทงฮว่า 通化市 Tōnghuà Shì
นครไป๋ชาน 白山市 Báishān Shì
นครซงเยฺหวียน 松原市 Sōngyuán Shì
นครไป๋เฉิง 白城市 Báichéng Shì
จังหวัดปกครองตนเองชนชาติเกาหลี หยันเปียน 延边朝鲜族自治州 Yánbiān Cháoxiǎnzú Zìzhìzhōu

เขตการปกครองระดับจังหวัดทั้ง 9 แห่งนี้ แบ่งย่อยอีกเป็นเขตการปกครองระดับอำเภอ จำนวน 60 แห่ง (ประกอบด้วย 21 เขต, 20 นครระดับอำเภอ, 16 อำเภอ, และ 3 อำเภอปกครองตนเอง) ณ ปลายปี 2017 มีประชากรทั้งสิ้น 27.17 ล้านคน[7]

การเมือง

[แก้]
รูปปั้นเหมา เจ๋อตง ในมณฑลจี๋หลิน

การเมืองของมณฑลจี๋หลินมีโครงสร้างเป็นระบบพรรค-รัฐบาล เหมือนกับสถาบันการปกครองในมณฑลอื่น ๆ ในจีนแผ่นดินใหญ่

ผู้ว่าการมณฑลจี๋หลินเป็นตำแหน่งสูงสุดในหน่วยงานบริหารมณฑลจี๋หลิน อย่างไรก็ตาม ในระบบพรรค-รัฐบาลนี้ ผู้ว่าการมณฑลมีอำนาจน้อยกว่าเลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนประจำมณฑลจี๋หลิน หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "หัวหน้าพรรคมณฑลจี๋หลิน"

อุตสาหกรรม

[แก้]

มีฐานอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่งและระบบอุตสาหกรรมที่สมบูรณ์มากมีบริษัทอุตสาหกรรมมากกว่า 14,000 แห่ง อุตสาหกรรมหลัก คือ อุตสาหกรรมวิศวกรรม เคมีภัณฑ์ ปิโตรเคมี อาหารและยา

การคมนาคม

[แก้]
  • ทางรถไฟ - เส้นทางรถไฟสายหลักปักกิ่ง-ฮาร์บินผ่ากลางมณฑล ทำให้เชื่อมต่อเมืองทางเหนือกับใต้

และยังมีเส้นทางตรงถึงฮาร์บิน เซิ่นหยัง ต้าเหลียน ปักกิ่ง เทียนจิน สือเจียจวง จี่หนัน หนันจิง (นานกิง) และเซี่ยงไฮ้ เป็นต้น ทางหลวง จากสถิติเมื่อปลายปี 2004 ทั่วมณฑลจี๋หลินมีถนนหลวง 47,255 กิโลเมตร จากฉางชุนต่อไปยังเมืองสำคัญได้ทั่วมณฑล

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Doing Business in China - Survey". Ministry Of Commerce - People's Republic Of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2013. สืบค้นเมื่อ 5 August 2013.
  2. "Communiqué of the National Bureau of Statistics of People's Republic of China on Major Figures of the 2010 Population Census [1] (No. 2)". National Bureau of Statistics of China. 29 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2013. สืบค้นเมื่อ 4 August 2013.
  3. 吉林省2017年国民经济和社会发展统计公报 [Statistical Communiqué of Jilin Province on the 2017 National Economic and Social Development] (ภาษาจีน). Jilin Bureau of Statistics. 2018-03-28. สืบค้นเมื่อ 2018-06-22.
  4. "Sub-national HDI - Subnational HDI - Global Data Lab". globaldatalab.org. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
  5. History of Mongolia, Volume II, 2003
  6. 抢救满语振兴满族文化_大公资讯_大公网. Ta Kung Pao (ภาษาChinese (China)). 2017-11-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-08. สืบค้นเมื่อ 2019-06-12.
  7. "中国统计年鉴—2018".

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]