ข้ามไปเนื้อหา

Jendrassik maneuver

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แพทย์ให้คนไข้ทำ Jendrassik maneuver เพื่อเพิ่มรีเฟล็กซ์เข่า

Jendrassik maneuver เป็นอุบายทางการแพทย์ที่ให้คนไข้กัดฟัน งอนิ้วมือของมือทั้งสองข้างเป็นตะขอเอามาเกี่ยวกัน แล้วแพทย์ก็จะเคาะใต้เข่าคนไข้ด้วยค้อนรีเฟล็กซ์เพื่อให้เกิดรีเฟล็กซ์เข่า (patellar reflex) ซึ่งใช้เทียบกับปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ที่ได้เมื่อไม่ทำเช่นนี้ บ่อยครั้ง เมื่อคนไข้ทำอย่างนี้ รีเฟล็กซ์จะแรงกว่า คือ "รีเฟล็กซ์ที่อ่อนหรือไม่มี อาจทำให้เกิดโดยกระแสประสาทนำเข้า[A] ที่เกิดจากการเกร็งกล้ามเนื้อเช่นนี้ นี่เป็นคำอธิบายที่ถูกต้องของอุบายนี้ เพราะไม่ได้เกิดเพราะการเบนความใส่ใจของคนไข้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดที่ก็ยังมีจนถึงทุกวันนี้"[1] แพทย์ชาวฮังการี Ernő Jendrassik ได้สังเกตเห็นผลเช่นนี้เป็นคนแรกในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จึงได้ตั้งชื่ออุบายนี้ตามเขา

อุบายนี้มีประโยชน์แม้คนไข้จะรู้ว่าให้ทำอย่างนี้เพื่ออะไร เพราะก็ยังให้ผลเหมือนกัน[2]

อุบายนี้ยังสามารถใช้เบนความสนใจของคนไข้เมื่อตรวจหรือทำหัตถการอย่างอื่น ๆ ที่ต้องเบนความสนใจโดยทำอย่างไรก็ได้ อย่างเช่น เมื่อตรวจประสาทโดยการหา Romberg's sign[3]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. กระแสประสาทนำเข้า (afferent activity) คือกระแสประสาทที่นำข้อมูลทางประสาทสัมผัสรวมทั้งจากตัวรับความรู้สึกที่หนัง ตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด ตัวรับรู้อากัปกิริยาอื่น ๆ (เช่น muscle spindle, Golgi tendon organ) เข้าไปยังระบบประสาทกลางคือไขสันหลังและสมอง

อ้างอิง

[แก้]
  1. Pásztor, E. (2004-03-01). "Erno Jendrassik (1858?1921)". Journal of Neurology. 251 (3): 366–367. doi:10.1007/s00415-004-0394-3. ISSN 0340-5354. A weak or apparently missing reflex could be triggered by afferent activity resulting from such muscle tension. This is the true explanation for the maneuver, not a diversion of the patient’s attention - a misconception that can be heard even today.
  2. Koehler, Peter J.; Bruyn, George W.; Pearce, John M. S. (2000). Neurological Eponyms (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. p. 146. ISBN 9780198030591. สืบค้นเมื่อ 2017-11-11.
  3. Vereeck, L; Truijen, S; Wuyts, FL; Van de Heyning, PH (January 2007). "The dizziness handicap inventory and its relationship with functional balance performance". Otology & Neurotology. 28 (1): 87–93. doi:10.1097/01.mao.0000247821.98398.0d. PMID 17195749.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]