ข้ามไปเนื้อหา

ฌ็อง-ฌัก รูโซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Jean-Jacques Rousseau)
ฌ็อง-ฌัก รูโซ
ฌ็อง-ฌัก รูโซ ในปี 1753.
เกิด28 มิถุนายน ค.ศ. 1712(1712-06-28)
เจนีวา, สาธารณรัฐเจนีวา
เสียชีวิต2 กรกฎาคม ค.ศ. 1778(1778-07-02) (66 ปี)
แอร์แมน็องวิลล์, ฝรั่งเศส
ยุคปรัชญาศตวรรษที่ 18
(ปรัชญาสมัยใหม่)
แนวทางปรัชญาตะวันตก
สำนักทฤษฎีสัญญาประชาคม
ศิลปะจินตนิยม
ความสนใจหลัก
ปรัชญาการเมือง,ดนตรี, การศึกษา, วรรณกรรม, อัตชีวประวัติ
แนวคิดเด่น
General will, amour de soi, amour-propre, moral simplicity of humanity, child-centered learning, civil religion, popular sovereignty, positive liberty
ลายมือชื่อ

ฌ็อง-ฌัก รูโซ (ฝรั่งเศส: Jean-Jacques Rousseau; 28 มิถุนายน พ.ศ. 2255 - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2321) เป็นนักปรัชญา นักเขียน นักทฤษฎีการเมือง และนักประพันธ์เพลงที่ฝึกหัดด้วยตนเองแห่งยุคเรืองปัญญา

งานเรื่อง วจนิพนธ์ว่าด้วยความไม่เท่าเทียม และ สัญญาประชาคม ของเขาเป็นหลักสำคัญในความคิดการเมืองและสังคมสมัยใหม่

ปรัชญาของรูโซ

[แก้]

คำสอนของเขาสอนให้คนหันกลับไปหาธรรมชาติ (back to nature) เป็นการยกย่องคุณค่าของคนว่า "ธรรมชาติของคนดีอยู่แล้วแต่สังคมทำให้คนไม่เสมอภาคกัน" เขาบอกว่า "เหตุผลมีประโยชน์ แต่มิใช่คำตอบของชีวิต ดังนั้นเราจึงต้องพึ่งความรู้สึก สัญชาตญาณและอารมณ์ของเราเอง ให้มากกว่าเหตุผล"

ทฤษฎีคนเถื่อนใจธรรม

[แก้]

รูโซเชื่อว่ามนุษย์นั้นเป็นคนดีโดยธรรมชาติ หรือเป็น "คนเถื่อนใจธรรม" (noble savage) เมื่ออยู่ในสภาวะธรรมชาติ (สภาวะเดียวกันกับสัตว์อื่น ๆ และเป็นสภาพที่มนุษย์อยู่มาก่อนที่จะมีการสร้างอารยธรรม และสังคม) แต่ถูกทำให้แปดเปื้อนโดยสังคม เขามองสังคมว่าเป็นสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น และเชื่อว่าการพัฒนาของสังคม โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของการพึ่งพากันในสังคมนั้น เป็นสิ่งที่อันตรายต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์

ความเรียงชื่อ "การบรรยายเกี่ยวกับศิลปะและวิทยาศาสตร์" (พ.ศ. 2293) ที่ได้รับรางวัลของเมือง ได้อธิบายว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์นั้น ไม่เป็นประโยชน์กับมนุษย์ เขาได้เสนอว่าพัฒนาการของความรู้ทำให้รัฐบาลมีอำนาจมากขึ้น และทำลายเสรีภาพของปัจเจกชน เขาสรุปว่าพัฒนาการเชิงวัตถุนั้น จะทำลายโอกาสของความเป็นเพื่อนที่จริงใจ โดยจะทำให้เกิดความอิจฉา ความกลัว และ ความระแวงสงสัย

งานชิ้นถัดมาของเขา การบรรยายว่าด้วยความไม่เสมอภาค ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาและการทำลายของมนุษย์ ตั้งแต่ในสมัยโบราณ จนถึงสมัยใหม่ เขาเสนอว่ามนุษย์ในยุคแรกสุดนั้น เป็นมนุษย์ครึ่งลิงและอยู่แยกกัน มนุษย์แตกต่างจากสัตว์เนื่องจากมีเจตจำนงเสรี (free will) และเป็นสิ่งที่สามารถแสวงหาความสมบูรณ์แบบได้ เขายังได้กล่าวว่ามนุษย์ยุคบุคเบิกนี้มีความต้องการพื้นฐาน ที่จะดูแลรักษาตนเอง และมีความรู้สึกห่วงหาอาทรหรือความสงสาร เมื่อมนุษย์ถูกบังคับให้ต้องมีความสัมพันธ์กันมากขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากร จึงได้เกิดการปรับเปลี่ยนทางด้านจิตวิทยา และได้เริ่มให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของคนอื่น ๆ ว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อการมีชีวิตที่ดีของตนเอง รูโซได้เรียกความรู้สึกใหม่นี้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิบานของมนุษย์

รูโซ มีชีวิตอยู่ในช่วงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ จนถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีของประเทศไทย เกิดในเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ งานเขียนของเขาส่งอิทธิพลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศสด้วย

อ้างอิง

[แก้]
  • Virioli, Maurizio ([1988] 2003). Jean-Jacques Rousseau and the 'Well-Ordered Society'. Hanson, Derek, translator. Cambridge University Press, 2003 ISBN 0-521-53138-1, 9780521531382
  • Williams, David Lay (2007). Rousseau’s Platonic Enlightenment. Pennsylvania State University Press.