อีวานอ-ฟรันกิวสก์
อีวานอ-ฟรันกิวสก์ | |
---|---|
สมญา: ฟรันกิวสก์, ฟรานึก, สตานิสลาวิว | |
พิกัด: 48°55′22″N 24°42′38″E / 48.92278°N 24.71056°E | |
ประเทศ | ยูเครน |
แคว้น | อีวานอ-ฟรันกิวสก์ |
เขต | อีวานอ-ฟรันกิวสก์ |
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1663 |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | รุสลัน มาร์ตซินกิว (สวอบอดา)[1] |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 83.7 ตร.กม. (32.3 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 244 เมตร (801 ฟุต) |
ประชากร (2021) | |
• ทั้งหมด | 237,855 คน |
• ความหนาแน่น | 2,800 คน/ตร.กม. (7,400 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+2 (เวลายุโรปตะวันออก) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+3 (เวลาออมแสงยุโรปตะวันออก) |
รหัสไปรษณีย์ | 76000–76030 |
รหัสโทรศัพท์ | +380 342 |
เว็บไซต์ | mvk |
อีวานอ-ฟรันกิวสก์ (ยูเครน: Іва́но-Франкі́вськ, ออกเสียง: [iˈwɑno frɐnˈkiu̯sʲk] ( ฟังเสียง)) เดิมมีชื่อว่า สตานิสลาวิว (ยูเครน: Станісла́вів),[2] สตานิสเลา (ยูเครน: Станісла́в), ชตานิสเลา (เยอรมัน: Stanislau) และ สตาญิสวาวุฟ (โปแลนด์: Stanisławów) เป็นนครในภาคตะวันตกของประเทศยูเครน[3] เป็นศูนย์กลางการบริหารของแคว้นอีวานอ-ฟรันกิวสก์และเขตอีวานอ-ฟรันกิวสก์ และเป็นที่ตั้งหน่วยงานบริหารของเทศบาลนครอีวานอ-ฟรันกิวสก์ซึ่งเป็นหนึ่งในเทศบาลของยูเครน[4] นครมีประชากร 237,855 คน (ประมาณการ ค.ศ. 2021)[5]
สตาญิสวาวุฟได้รับการก่อตั้งขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 เพื่อเป็นป้อมปราการของตระกูลปอตอตสกีจากโปแลนด์ ต่อมาถูกผนวกเข้ากับจักรวรรดิฮาพส์บวร์คระหว่างการแบ่งโปแลนด์ครั้งที่ 1 ใน ค.ศ. 1772 และกลายเป็นสมบัติของรัฐภายในจักรวรรดิออสเตรีย ป้อมปราการดังกล่าวค่อย ๆ เปลี่ยนสภาพเป็นหนึ่งในเมืองที่โดดเด่นที่สุดบริเวณเชิงเขาคาร์เพเทียน หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สตานิสลาวิวทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงชั่วคราวของสาธารณรัฐประชาชนยูเครนตะวันตกเป็นเวลาหลายเดือน สตาญิสวาวุฟกลายเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 ด้วยผลจากสนธิสัญญาสันติภาพรีกา หลังจากการรุกรานโปแลนด์ของสหภาพโซเวียตในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 เมืองนี้ถูกผนวกเข้าสหภาพโซเวียต แต่ก็ถูกเยอรมนีนาซีเข้ายึดครองในอีกสองปีต่อมา หลังการปลดปล่อยยูเครนของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1944 และการเปลี่ยนแปลงพรมแดน ระบอบคอมมิวนิสต์ได้ปกครองเมืองนี้เป็นเวลาสี่ทศวรรษครึ่ง ไม่กี่ปีก่อนการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ธงสีฟ้า-เหลืองได้รับการชูขึ้นในเมืองในฐานะสัญลักษณ์ของประเทศยูเครนที่เป็นเอกราช
สิ่งปลูกสร้างในนครอีวานอ-ฟรันกิวสก์สามารถพบองค์ประกอบของวัฒนธรรมต่าง ๆ สอดประสานกัน เช่น อาคารศาลาว่าการสมัยสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2, ศูนย์กลางธุรกิจสมัยออสเตรีย-ฮังการี, อาคารห้องพักอาศัยสำเร็จรูปสมัยโซเวียตในเขตชานเมือง และอื่น ๆ อีวานอ-ฟรันกิวสก์ยังเป็นหนึ่งในเมืองหลักของสมาคมยูโรรีเจียนแห่งคาร์เพเทียน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Mayor of Ivano-Frankivsk Martsinkiv on the success of the OPZZ in the east: this was expected and this is a problem of pro-Ukrainian forces, Hromadske.TV (26 October 2020) (ในภาษายูเครน)
Mayors of Mykolayiv, Ivano-Frankivsk become known after elections, Ukrinform (16 November 2015) - ↑ The Sad End of the Orange Revolution, Der Spiegel (14 January 2010)
- ↑ "The City of Ivano-Frankivsk". sbedif.if.ua. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 16, 2000. สืบค้นเมื่อ March 7, 2010.
- ↑ "Ивано-Франковская городская громада" (ภาษารัสเซีย). Портал об'єднаних громад України.
- ↑ "Чисельність наявного населення України (Actual population of Ukraine)" (PDF) (ภาษายูเครน). State Statistics Service of Ukraine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-04-06. สืบค้นเมื่อ 11 July 2021.