ข้ามไปเนื้อหา

สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ

พิกัด: 45°30′02″N 73°33′42″W / 45.5006°N 73.5617°W / 45.5006; -73.5617
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก IATA)
สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ
ชื่อย่อIATA
ก่อตั้ง19 เมษายน 1945; 79 ปีก่อน (1945-04-19) ที่อาบานา ประเทศคิวบา
ประเภทสมาคมการค้านานาชาติ
สํานักงานใหญ่800 Square Victoria
มอนทรีออล รัฐเกแบ็ก
ประเทศแคนาดา[1]
สมาชิก
317 สายการบิน (2023)[2] จากกว่า 120 ประเทศและดินแดน[3]
วิลลี วอลช์
เว็บไซต์iata.org

สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Air Transport Association) หรือ ไออาตา (IATA) เป็นสมาคมการค้าของสายการบินโลกที่ก่อตั้งใน ค.ศ. 1945[4] ไออาตาได้รับการอธิบายเป็นการรวมกลุ่มเพื่อผูกขาดทางธุรกิจ เพราะนอกจากกำหนดมาตรฐานทางเทคนิคสำหรับสายการบินไออาตาแล้ว ทางสมาคมยังจัดการประชุมภาษีศุลกากรที่ทำหน้าที่เป็นเวทีสำหรับการกำหนดราคาด้วย[5][6]

ทางไออาตารายงานว่า ข้อมูลเมื่อ 2023 ทางสมาคมมีสายการบิน 317 แห่ง[2] รวมสายการบินหลัก จากกว่า 120 ประเทศ[3] สมาชิกสายการบินของไออาตามีประมาณ 82% (2020)[7] ของการจราจรทางอากาศ available seat miles ทั้งหมด ไออาตารองรับกิจกรรมของสายการบินและช่วยกำหนดนโยบายและมาตรฐานอุตสาหกรรม สำนักงานอยู่ที่มอนทรีออล ประเทศแคนาดา ส่วนสำนักงานฝ่ายบริหารอยู่ที่เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[8]

จุดประสงค์

[แก้]

สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายพิเศษของประเทศแคนาดา ปัจจุบันมีสมาชิกรวมกันมากว่า 112 สายการบิน มีหน้าที่หลักคือ

  1. อำนวยความสะดวกในการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า เชื่อมโยงกันโดยถือตั๋วใบเดียวด้วยคุณภาพเท่าเทียมกัน
  2. ส่งเสริมด้านความปลอดภัย และการขนส่งทางอากาศอย่างประหยัด
  3. สนับสนุนการบินพาณิชย์ และร่างกฎระเบียบต่างๆ ของการขนส่งทางอากาศ
  4. ศึกษา และหาทางแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบิน
  5. กำหนดนโยบายเรื่องตั๋วโดยสาร ให้เป็นมาตรฐานทั้งในด้านราคา การชั่งน้ำหนัก การตรวจสอบสัมภาระ และการดูแลเอกสาร ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก
  6. ออก Tag Code สำหรับสายการบินทั่วโลก

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "IATA – Office Addresses & Telephone Numbers". สืบค้นเมื่อ 2023-09-23.
  2. 2.0 2.1 "Current Airline Members". International Air Transport Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-21. สืบค้นเมื่อ 21 October 2023.
  3. 3.0 3.1 "IATA Members". International Air Transport Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-10. สืบค้นเมื่อ 21 October 2023.
  4. Wragg, David W. (1973). A Dictionary of Aviation (first ed.). Osprey. p. 164. ISBN 9780850451634.
  5. Hannigan, John A. (1982). "Unfriendly Skies: The Decline of the World Aviation Cartel". The Pacific Sociological Review. 25 (1): 107–136. doi:10.2307/1388890. ISSN 0030-8919. JSTOR 1388890. S2CID 158297510.
  6. Doganis, Rigas (2019). Flying Off Course: Airline Economics and Marketing. Routledge. p. 29. ISBN 978-1138224230. There can be little doubt IATA was effectively a suppliers cartel
  7. biopharma-reporter.com (11 September 2020). "Delivering COVID-19 vaccines safely will be the 'mission of the century' for air cargo industry". biopharma-reporter.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-04-01.
  8. "International Air Transport Association". CAPA Centre for Aviation (Informa). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-11. สืบค้นเมื่อ 21 October 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

45°30′02″N 73°33′42″W / 45.5006°N 73.5617°W / 45.5006; -73.5617