ข้ามไปเนื้อหา

สิทธิมนุษยชน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Human rights)

สิทธิมนุษยชน (อังกฤษ: human rights) เป็นหลักทางศีลธรรมหรือจารีต[1] ซึ่งอธิบายมาตรฐานตายตัวของพฤติกรรมมนุษย์ และได้รับการคุ้มครองสม่ำเสมอเป็นสิทธิทางกฎหมายในกฎหมายท้องถิ่นและกฎหมายระหว่างประเทศ[2] ปกติเข้าใจว่าเป็นสิทธิพื้นฐานที่ไม่โอนให้กันได้ "ซึ่งบุคคลมีสิทธิในตัวเพียงเพราะผู้นั้นเป็นมนุษย์"[3] และซึ่ง "มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน"[4] โดยไม่คำนึงถึงชาติ สถานที่ ภาษา ศาสนา ชาติพันธุ์กำเนิดหรือสถานภาพอื่นใด[5] สิทธิมนุษยชนใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาในแง่ที่เป็นสากล[1] และสมภาคในแง่ที่เหมือนกับสำหรับทุกคน[5] สิทธิดังกล่าวต้องการความร่วมรู้สึกและหลักนิติธรรม[6] และกำหนดพันธะต่อบุคคลให้เคารพสิทธิมนุษยชนของผู้อื่น[1][5] สิทธิดังกล่าวไม่ควรถูกพรากไปยกเว้นอันเป็นผลของกระบวนการทางกฎหมายที่ยึดพฤติการณ์แวดล้อมจำเพาะ[5] ตัวอย่างเช่น สิทธิมนุษยชนอาจรวมเสรีภาพจากการจำคุกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย การทรมานและการประหารชีวิต[7]

ลัทธิสิทธิมนุษยชนมีอิทธิพลสูงในกฎหมายระหว่างประเทศ สถาบันโลกและภูมิภาค[5] การกระทำของรัฐและองค์การนอกภาครัฐก่อพื้นฐานของนโยบายสาธารณะทั่วโลก แนวคิดสิทธิมนุษยชนเสนอว่า "หากวจนิพนธ์สาธารณะสังคมโลกยามสงบสามารถกล่าวเป็นภาษาศีลธรรมร่วมได้ สิ่งนั้นคือสิทธิมนุษยชน" การอ้างอย่างหนักแน่นโดยลัทธิสิทธิมนุษยชนยังกระตุ้นกังขาคติและการอภิปรายเกี่ยวกับเนื้อหา สภาพและการให้เหตุผลว่าชอบด้วยกฎหมายซึ่งสิทธิมนุษยชนตราบจนทุกวันนี้ ความหมายแน่ชัดของคำว่า "สิทธิ" นั้นมีการโต้เถียงและเป็นหัวข้อการอภิปรายทางปรัชญาต่อไป[8] ขณะที่มีการเห็นพ้องต้องกันว่าสิทธิมนุษยชนครอบคลุมสิทธิต่าง ๆ[4] เช่น สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีด้วยความเป็นธรรม การคุ้มครองจากการเป็นทาส การห้ามพันธุฆาต เสรีภาพในการพูด[9]หรือเสรีภาพที่จะได้รับการศึกษา แต่ยังเห็นไม่ลงรอยกันเกี่ยวกับว่าสิทธิใดบ้างต่อไปนี้ควรรวมอยู่ในกรอบทั่วไปของสิทธิมนุษยชน[1] นักคิดบางคนเสนอว่าสิทธิมนุษยชนควรเป็นข้อกำหนดพื้นฐานเพื่อเลี่ยงการละเมิดที่ร้ายแรงที่สุด ขณะที่บางคนมองว่าเป็นมาตรฐานขั้นสูง[1]

ความคิดพื้นฐานดังกล่าวจำนวนมากซึ่งขับเคลื่อนขบวนการสิทธิมนุษยชนพัฒนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองและความเหี้ยมโหดของฮอโลคอสต์[6] จนลงเอยด้วยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีมติเห็นชอบปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในกรุงปารีสในปี 2491 คนโบราณไม่มีแนวคิดสิทธิมนุษยชนสากลสมัยใหม่แบบเดียวกัน[10] การบุกเบิกวจนิพนธ์สิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริงนั้นคือมโนทัศน์สิทธิธรรมชาติซึ่งปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีกฎหมายธรรมชาติยุคกลางซึ่งโดดเด่นขึ้นระหว่างยุคภูมิธรรมยุโรปโดยมีนักปรัชญาอย่างจอห์น ล็อก, ฟรานซิส ฮัตชิสัน (Francis Hutcheson) และฌ็อง-ฌัก บูร์ลามากี (Jean-Jacques Burlamaqui) และซึ่งมีการเสนออย่างโดดเด่นในวจนิพันธ์การเมืองของการปฏิวัติอเมริกาและการปฏิวัติฝรั่งเศส[6] จากรากฐานนี้ การให้เหตุผลสิทธิมนุษยชนสมัยใหม่กำเนิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20[11] อาจเป็นปฏิกิริยาต่อความเป็นทาส การทรมาน พันธุฆาตและอาชญากรรมสงคราม[6] โดยความตระหนักถึงความเปราะบางของมนุษย์ในตัวและเป็นเงื่อนไขก่อนความเป็นไปได้ของสังคมยุติธรรม[4]

ปรัชญา

[แก้]

ปรัชญาตะวันตกเรื่องสิทธิมนุษยชนที่เก่าแก่ที่สุดสำนักหนึ่งมีว่าสิทธิมนุษยชนเป็นผลลัพธ์ของกฎหมายธรรมชาติ ที่มาจากเหตุผลทางปรัชญาหรือศาสนาที่แตกต่างกัน ทฤษฎีอื่น ๆ มีว่าสิทธิมนุษยชนเป็นการประมวลพฤติกรรมที่มีศีลธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นผลลัพธ์ทางสังคมของมนุษย์ที่พัฒนามาจากกระบวนการวิวัฒนาการทางชีววิทยาและสังคม

มโนทัศน์

[แก้]

สากลนิยมกับสัมพัทธนิยมทางวัฒนธรรม

[แก้]

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนระบุไว้ว่าสิทธิมนุษยชนใช้กับมนุษย์ทุกคนโดยเสมอกัน ไม่ว่าอยู่ที่ใด รัฐใด มีเชื้อชาติหรือวัฒนธรรมใดก็ตาม แต่ผู้สนับสนุนสัมพัทธนิยมเสนอว่าสิทธิมนุษยชนไม่ใช่สิ่งสากล และขัดแย้งกับบางวัฒนธรรมตลอดจนคุกคามการอยู่รอดของวัฒนธรรมเหล่านั้น บางคนอธิบายสากลนิยมว่าเป็นจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจหรือการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมโนทัศน์สิทธิมนุษยชนมักอ้างว่ามีรากเหง้ามาจากทัศนะทางการเมืองแบบเสรีนิยม ซึ่งแม้ว่าโดยทั่วไปเป็นที่ยอมรับในทวีปยุโรป ญี่ปุ่นและอเมริกาเหนือ แต่มิได้เป็นมาตรฐานที่อื่น นอกจากนี้ยังมีการพาดพิงถึงนักคิดสิทธิมนุษยชนที่ทรงอิทธิพลบางคน เช่น จอห์น ล็อก และจอห์น สจวต มิล ว่าทุกคนเป็นชาวตะวันตกและบางคนยังพัวพันกับการบริหารจักรวรรดิเองเสียด้วย[12][13]

สิทธิที่นักสัมพัทธนิยมมักแย้งคือสิทธิสตรี ตัวอย่างเช่น การตัดอวัยวะเพศสตรีพบในหลายวัฒนธรรมในทวีปแอฟริกา เอเชียและอเมริกาใต้

ลี กวน ยิว อดีตนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ และมหาเธร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย อ้างในคริสต์ทศวรรษ 1990 ว่าค่านิยมแบบเอเชียแตกต่างจากค่านิยมตะวันตกมาก และมีสำนึกเรื่องความจงรักภักดีและการยอมสละเสรีภาพส่วนบุคคลเพื่อให้สังคมมีเสถียรภาพและมั่งคั่ง ฉะนั้นรัฐบาลอำนาจนิยมจึงเหมาะสมกับทวีปเอเชียมากกว่าประชาธิปไตย

อย่างไรก็ดี ผู้ให้เหตุผลสัมพัทธนิยมมักละเลยข้อเท็จจริงที่ว่าสิทธิมนุษยชนเป็นของใหม่สำหรับทุกวัฒนธรรม คือ มีประวัติย้อนไปไม่เกินปี 1948 ทั้งไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ร่างปฏิญญาฯ ประกอบด้วยคนหลายวัฒนธรรมและประเพณี เช่น คริสตังชาวอเมริกัน, นักปรัชญาศาสนาขงจื้อชาวจีน, นักลัทธิไซออนิสต์ชาวฝรั่งเศส และผู้แทนจากสันนิบาตอาหรับ และได้รับคำแนะนำจากนักคิดอย่างมหาตมา คานธี[14]

Michael Ignatieff แย้งว่าสัมพัทธนิยมทางวัฒนธรรมเป็นการให้เหตุผลที่เกือบทั้งหมดมาจากผู้ครอบอำนาจในวัฒนธรรมที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน และผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนล้วนเป็นผู้ไร้อำนาจทั้งสิ้น[15] สะท้อนว่าการตัดสินสากลนิยมกับสัมพันธนิยมอยู่ในมือของผู้ที่อ้างว่าเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมนั้น ๆ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 James Nickel, with assistance from Thomas Pogge, M.B.E. Smith, and Leif Wenar, December 13, 2013, Stanford Encyclopedia of Philosophy, Human Rights, Retrieved August 14, 2014
  2. Nickel 2010
  3. Sepúlveda et al. 2004, p. 3[1] เก็บถาวร 2012-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. 4.0 4.1 4.2 Burns H. Weston, March 20, 2014, Encyclopedia Britannica, human rights, Retrieved August 14, 2014
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 The United Nations, Office of the High Commissioner of Human Rights, What are human rights?, Retrieved August 14, 2014
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Gary J. Bass (book reviewer), Samuel Moyn (author of book being reviewed), October 20, 2010, The New Republic, The Old New Thing, Retrieved August 14, 2014
  7. Merriam-Webster dictionary, [2], Retrieved August 14, 2014, "rights (as freedom from unlawful imprisonment, torture, and execution) regarded as belonging fundamentally to all persons"
  8. Shaw 2008, p. 265
  9. Macmillan Dictionary, human rights - definition, Retrieved August 14, 2014, "the rights that everyone should have in a society, including the right to express opinions about the government or to have protection from harm"
  10. Freeman 2002, pp. 15–17
  11. Moyn 2010, p. 8
  12. Tunick (2006)
  13. Beate (2005)
  14. Ball, Gready (2007) p.34
  15. Ignatief, M. (2001) p.68

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Amnesty International (2004). Amnesty International Report. Amnesty International Publications. ISBN 0-86210-354-1 ISBN 1-887204-40-7
  • Alexander, Fran (ed) (1998). Encyclopedia of World History. Oxford University Press. ISBN 0-19-860223-5
  • Alston, Philip (2005). "Ships Passing in the Night: The Current State of the Human Rights and Development Debate seen through the Lens of the Millennium Development Goals". Human Rights Quarterly. Vol. 27 (No. 3) p. 807
  • Arnhart, Larry (1998). Darwinian Natural Right: The Biological Ethics of Human Nature SUNY Press. ISBN 0-7914-3693-4
  • Ball, Olivia; Gready, Paul (2007). The No-Nonsense Guide to Human Rights. New Internationalist. ISBN 1-904456-45-6
  • Barzilai, Gad. (2003). Communities and Law: Politics and Cultures of Legal Identities. Ann Arbor: University of Michigan Press. ISBN 0-472-11315-1
  • Chauhan, O.P. (2004). Human Rights: Promotion and Protection. Anmol Publications PVT. LTD. ISBN 81-261-2119-X.
  • Cook, Rebecca J.; Fathalla, Mahmoud F. (September 1996). "Advancing Reproductive Rights Beyond Cairo and Beijing". International Family Planning Perspectives Vol.22 (No.3): p. 115–121 JSTOR 2950752
  • Cope, K., Crabtree, C., & Fariss, C. (2020). Patterns of disagreement in indicators of state repression. Political Science Research and Methods, 8(1), 178–187.
  • Davenport, Christian (2007a). State Repression and the Domestic Democratic Peace. New York: Cambridge University Press. ISBN 0-521-86490-9
  • Davenport, Christian (2007b). State Repression and Political Order. Annual Review of Political Science.
  • Donnelly, Jack. (2003). Universal Human Rights in Theory & Practice. 2nd ed. Ithaca & London: Cornell University Press. ISBN 0-8014-8776-5
  • Ellerman, David (2005). Helping People Help Themselves: From the World Bank to an Alternative Philosophy of Development Assistance. Ann Arbor: University of Michigan Press. ISBN 0-472-03142-2
  • Esposito, John L. (2004). The Oxford Dictionary of Islam. Oxford University Press. ISBN 0-19-512559-2
  • Esposito, John L. (2005). Islam: The Staight Path. Oxford University Press. ISBN 0-19-518266-9
  • Finnis, John (1980). Natural Law and Natural Rights Oxford: Clarendon Press. ISBN 0-19-876110-4
  • Forsythe, David P. (2000). Human Rights in International Relations. Cambridge: Cambridge University Press. International Progress Organization. ISBN 3-900704-08-2
  • Forsythe, David P. (2005). The Humanitarians: The International Committee of the Red Cross Cambridge University Press. ISBN 0-521-84828-8
  • Freedman, Lynn P.; Isaacs, Stephen L. (Jan–Feb 1993). "Human Rights and Reproductive Choice". Studies in Family Planning Vol.24 (No.1): p. 18–30 JSTOR 2939211
  • Ignatieff, Michael (2001). Human Rights as Politics and Idolatry. Princeton & Oxford: Princeton University Press. ISBN 0-691-08893-4
  • Glendon, Mary Ann (2001). A World Made New: Eleanor Roosevelt and the Universal Declaration of Human Rights. Random House of Canada Ltd. ISBN 0-375-50692-6
  • Haddad, Yvonne Yazbeck; Esposito, John L. (1998) Islam, Gender, and Social Change. Oxford University Press US. ISBN 0-19-511357-8
  • Hitchens, Christopher (2002). The Trial of Henry Kissinger. Verso. ISBN 1-85984-398-0
  • Houghton Miffin Company (2006). The American Heritage Dictionary of the English Language. Houghton Miffin. ISBN 0-618-70173-7
  • Jaffa, Harry V. (1979). Thomism and Aristotelianism; A Study of the Commentary by Thomas Aquinas on the Nicomachean Ethics Greenwood Press. ISBN 0-313-21149-3 (reprint of 1952 edition published by University of Chicago Press)
  • Jahn, Beate (2005). "Barbarian thoughts: imperialism in the philosophy of John Stuart Mill". Review of International Studies 13 June 2005 31: 599–618 Cambridge University Press
  • Jones, Lindsay. Encyclopedia of religion, second edition. ISBN 0-02-865742-X
  • Joseph, Suad; Najmabadi, Afsaneh (eds) (2007). Encyclopedia of Women & Islamic Cultures. Brill Publishing. ISBN 90-04-12818-2
  • Kennedy, Duncan (1982). Legal Education and the Reproduction of Hierarchy เก็บถาวร 2020-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Journal of Legal Education Vol.32 (No. 591)
  • Khadduri, Majid (1978). "Marriage in Islamic Law: The Modernist Viewpoints". American Journal of Comparative Law Vol. 26 (No. 2): pp. 213–218.
  • Köchler, Hans (1981). The Principles of International Law and Human Rights. hanskoechler.com
  • Köchler, Hans. (1990). "Democracy and Human Rights". Studies in International Relations, XV. Vienna: International Progress Organization.
  • Kohen, Ari (2007). In Defense of Human Rights: A Non-Religious Grounding in a Pluralistic World. Routledge. ISBN 0-415-42015-6, ISBN 978-0-415-42015-0
  • Landman, Todd (2006). Studying Human Rights. Oxford and London: Routledge ISBN 0-415-32605-2
  • Lewis, Bernard (1992). Race and Slavery in the Middle East: An Historical Enquiry. Oxford University Press. ISBN 0-19-505326-5
  • Lewis, Bernard (21 January 1998). "Islamic Revolution". The New York Review of Books Vol.34 (Nos. 21 & 22)
  • Light, Donald W. (2002). "A Conservative Call For Universal Access To Health Care เก็บถาวร 2005-01-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" Penn Bioethics Vol.9 (No.4) p. 4–6
  • Littman, David (1999). "Universal Human Rights and 'Human Rights in Islam'". Midstream Magazine Vol. 2 (no.2) pp. 2–7
  • Maan, Bashir; McIntosh, Alastair (1999). "Interview with William Montgomery Watt" The Coracle Vol. 3 (No. 51) pp. 8–11.
  • Maret, Susan 2005. “‘Formats Are a Tool for the Quest for Truth’: HURIDOCS Human Rights Materials for Library and Human Rights Workers.” Progressive Librarian, no. 26 (Winter): 33–39.
  • Mayer, Henry (2000). All on Fire: William Lloyd Garrison and the Abolition of Slavery. St Martin's Press. ISBN 0-312-25367-2
  • McAuliffe, Jane Dammen (ed) (2005). Encyclopaedia of the Qur'an: vol 1–5 Brill Publishing. ISBN 90-04-14743-8. ISBN 978-90-04-14743-0
  • McLagan, Meg (2003) "Principles, Publicity, and Politics: Notes on Human Rights Media". American Anthropologist. Vol. 105 (No. 3). pp. 605–612
  • Hershock, Peter D; Ames, R.T.; Stepaniants, M. (eds). Technology and Cultural Values on the Edge of the Third Millennium. (Selected papers from the 8 th East-West Philosophers Conference). Honolulu: U of Hawai’i Press, 2003. 209–221.
    • Möller, Hans-Georg (2003). How to Distinguish Friends from Enemies: Human Rights Rhetoric and Western Mass Media.
  • Nathwani, Niraj (2003). Rethinking Refugee Law. Martinus Nijhoff Publishers. ISBN 90-411-2002-5
  • Paul, Ellen Frankel; Miller, Fred Dycus; Paul, Jeffrey (eds) (2001). Natural Law and Modern Moral Philosophy Cambridge University Press. ISBN 0-521-79460-9
  • Clayton, Philip; Schloss, Jeffrey (2004). Evolution and Ethics: Human Morality in Biological and Religious Perspective Wm. B. Eerdmans Publishing. ISBN 0-8028-2695-4
  • Robertson, Arthur Henry; Merrills, John Graham (1996). Human Rights in the World: An Introduction to the Study of the International Protection of Human Rights. Manchester University Press. ISBN 0-7190-4923-7.
  • Salevao, Lutisone (2005). Rule of Law, Legitimate Governance and Development in the Pacific. ANU E Press. ISBN 978-0731537211
  • Scott, C. (1989). "The Interdependence and Permeability of Human Rights Norms: Towards a Partial Fusion of the International Covenants on Human Rights". Osgood Law Journal Vol. 27
  • Sills, David L. (1968, 1972) International Encyclopedia of the Social Sciences. MacMillan.
  • Shellens, Max Salomon. 1959. "Aristotle on Natural Law." Natural Law Forum 4, no. 1. Pp. 72–100.
  • Schimmel, Annemarie (1992). Islam: An Introduction. SUNY Press. ISBN 0-7914-1327-6
  • Sen, Amartya (1997). Human Rights and Asian Values. ISBN 0-87641-151-0.
  • Shute, Stephen & Hurley, Susan (eds.). (1993). On Human Rights: The Oxford Amnesty Lectures. New York: BasicBooks. ISBN 0-465-05224-X
  • Steiner, J. & Alston, Philip. (1996). International Human Rights in Context: Law, Politics, Morals. Oxford: Clarendon Press. ISBN 0-19-825427-X
  • Sunga, Lyal S. (1992) Individual Responsibility in International Law for Serious Human Rights Violations, Martinus Nijhoff Publishers. ISBN 0-7923-1453-0
  • Tierney, Brian (1997). The Idea of Natural Rights: Studies on Natural Rights, Natural Law, and Church Law. Wm. B. Eerdmans Publishing. ISBN 0-8028-4854-0
  • Tunick, Mark (2006). "Tolerant Imperialism: John Stuart Mill's Defense of British Rule in India". The Review of Politics 27 October 2006 68: 586–611 Cambridge University Press
  • Vaughn, Karen I. (1978) "John Locke and the Labor Theory of Value" Journal of Libertarian Studies. Vol. 2 (No. 4) pp. 311–326

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]