ฮีโรส์ (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)
ฮีโรส์ | |
---|---|
โลโก้ของละครชุด ฮีโรส์ | |
สร้างโดย | ทิม คริง |
แสดงนำ | ไมโล เวนทิมิกเลีย เอเดรียน พาสดาร์ แฮเดน พาเนทเทียร์ แจ็ค โคล์แมน เซนด์ฮิล รามามูร์ธิ ซานติเอโก คาเบรรา เจมส์ ไคสัน ลี มาซิ โอกะ เดวิด แอนเดอร์ส เกรก กรันเบอร์ก ลีโอนาร์ด โรเบิร์ทส อาลิ ลาร์เทอร์ โนอาฮ์ เกรย์-คาเบย์ แดนา แดวิส ดาเนีย รามิเรซ คริสเตน เบลล์ แซกคารี ควินโต |
ประเทศแหล่งกำเนิด | สหรัฐอเมริกา |
ภาษาต้นฉบับ | อังกฤษ |
จำนวนฤดูกาล | 5 |
จำนวนตอน | 53 |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการสร้าง | ทิม คริง เดนนิส แฮมเมอร์ อลัน อาร์คัช เกรก บีแมน |
ความยาวตอน | 42 นาที |
ออกอากาศ | |
ออกอากาศ | 25 กันยายน 2549 – 8 กุมภาพันธ์ 2553 |
ฮีโรส์ (อังกฤษ: Heroes) เป็นรายการซีรีส์อเมริกันที่แต่งขึ้นในแนววิทยาศาสตร์ ดรามา สร้างโดย ทิม คริง เริ่มออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2549 ทางช่องเอ็นบีซี ในสหรัฐอเมริกา[1] ซึ่งกล่าวถึงกลุ่มคนที่มีพลังความสามารถพิเศษเหนือคนอื่นที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก ซึ่งพัฒนาความสามารถเหนือมนุษย์ของตัวเองอย่างอธิบายไม่ได้ และแสดงบทบาทของตัวเองเพื่อปกป้องจากหายนะและช่วยหมู่มวลมนุษยชาติ ซีรีส์เรื่องนี้มีลักษณะการเล่าเรื่องแบบการ์ตูนอเมริกัน ใช้เรื่องสั้นหลายตอนปะติดปะต่อจนเป็นเรื่องราวเดียวกัน[2] ซีรีส์ผลิตโดยยูนิเวอร์ซัลมีเดียสตูดิโอส์ร่วมกับเทลวินด์โปรดักชันส์[3] มีสถานที่ถ่ายทำหลักในลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย[4] ผู้อำนวยการสร้างคือ อัลลัน อาร์คุช, เดนนิส แฮมเมอร์, เกร็ก บีแมน และ ทิม คริง
ในฤดูกาลแรกของ ฮีโรส์ ออกฉายด้วยจำนวน 23 ตอนมีผู้ชมเฉลี่ย 14.3 ล้านคน ในสหรัฐอเมริกา ยังสามารถครองอันดับเรตติ้งสูงสุดในรอบ 5 ปีของละครดราม่า ทางช่องเอ็นบีซี [5][6][3] ในฤดูกาลที่ 2 มีผู้ชมเฉลี่ย 13.1 ล้านคนในสหรัฐอเมริกา[7] ในฤดูกาลที่ 2 นี้ยังติดอันดับ 1 ของซีรีส์ทางช่องเอ็นบีซีในกลุ่มอายุ 18-49 ปี[7] และยังติดอันดับ 1 ของรายการซีรีส์ในวันจันทร์ในทุกสถานีจากกลุ่มผู้ชมอายุ 18–49 ปี[7] และยังติดอันดับ 1 รายการซีรีส์แบบมีบทในทุกเครือข่ายสถานีในกลุ่มอายุ 18-34 ปี[7] นอกจากนี้ในฤดูกาลที่ 2 ยังเป็นรายการเดียวของทางเอ็นบีซีที่ติดอันดับ 20 อันดับแรกของรายการในทุกกลุ่มผู้ชมสำหรับซีรีส์ปี 2007-2008 จากการสำรวจของนีลเซนมีเดียรีเสิร์ช[8] มีการเตรียมการว่าจะฉายฤดูกาลที่ 2 เป็นจำนวน 24 ตอน[9] แต่ออกฉายจริงเพียง 11 ตอนเท่านี้น[10] เนื่องจากการประท้วง 100 วันของสมาคมนักเขียนแห่งอเมริกา[11][12] ความคัดแย้งนี้เองนำไปสู่การเลื่อนฉายจนในที่สุดก็ยกเลิกการฉาย 6 ตอน ที่มีชื่อตอนว่า Heroes: Origins[13] ฮีโรส์ กลับมาฉายอีกครั้งในฤดูกาลที่ 3 เมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 2008[7][13] และในปี 2015-2016 ได้มีมินิซี่รี่ส์ภาคต่อจากฮีโรส์คือ ฮีโรส์ รีบอร์น (Heroes : Reborn) โดยการนำเอาตัวละครใหม่มาเป็นตัวหลัก และตัวละครเก่ามาเป็นตัวเสริมโดยจะเล่าหลังเหตุการณ์ที่พวกปีเตอร์ขัดขวางแผนการของซัลลิแวน โดยมีจำนวน 13 ตอน และได้มีการปล่อยมินิซีรีส์ใหม่เรื่อง Heroes Reborn : dark matter เป็นช่วงก่อนเหตุการณ์ในภาครีบอร์นโดยมีตัวละครหลักคือ เควนติน และ ฟีบี้ ว่าก่อนที่ฟีบี้จะเข้าด้านมืดมันเกิดอะไรขึ้น ตอนพิเศษอีกหนึ่งตอนคือ Damen peak โดยเล่าเรื่องเกี่ยวกับ ลุค กับ โจแอน โดยไม่มีการสร้างซีซั่นสองต่อ
เรื่องย่อ
[แก้]ฤดูกาลที่ 1
[แก้]บทที่ 1: "Genesis"
[แก้]ในฤดูกาลแรกมีอยู่ 23 ตอนที่ออกอากาศทุกคืนวันจันทร์เวลา 21.00 น. ในสหรัฐอเมริกา เริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 2006 ในฤดูกาลนี้เป็นบทที่มีชื่อเรียกว่า "Genesis" (แปลว่า ต้นกำเนิด) โดยมีการชะงักการฉาย 2 ครั้งคือจากวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 2006 ถึง 22 มกราคม ค.ศ. 2007,[14] และอีกครั้งจากวันที่ 5 มีนาคม ถึง 23 เมษายน ค.ศ. 2007[15] จนฉายจบในฤดูกาลแรกเมื่อ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2007[16]
ในบทนี้ได้กล่าวถึงการค้นพบพลังพิเศษเฉพาะในแต่ละบุคคล ซึ่งได้อธิบายการได้มาและการใช้พลังพิเศษของแต่ละบุคคล การเกิดเหตุการณ์ต่างในที่แสดงออกในรูปแบบภาพเขียนถึงพลังพวกเขา และการค้นพบที่ส่งผลต่อชีวิตพวกเขา ในขณะเดียวกันก็มีบางคนที่ค้นหาความจริงถึงการเกิดขึ้นและขอบเขตของพลังความสามารถของตน โดยที่เนื่อเรื่องเริ่มจากที่ศาสตราจารย์เซอร์เรช นักพันธุกรรมศาสตร์ได้พยายามสืบหาร่องรอยการเสียชีวิตของพ่อของเขาจากการฆาตกรรมอันลึกลับซึ่งนั่นเองคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ศาสตราจารย์เซอร์เรชได้เข้ามาพัวพันกับกลุ่มคนที่มีพลังพิเศษเหนือมนุษย์ทั่วไป
ขณะที่โนอาห์ เบนเนท ที่อยู่ในองค์กรลับที่เรียกว่า "เดอะคอมปานี" ที่ตามล่าพวกที่มีความสามารถพิเศษ ซึ่งก็มีบางคนได้เข้ามาสู่องค์กรทั้งยินยอมและไม่ยินยอม เพื่อควบคุมพวกเหนือมนุษย์นี้ และแข่งกับเวลาที่จะหยุดการทำลายล้างของนิวยอร์กซิตี
ฤดูกาลที่ 2
[แก้]บทที่ 2: "Generations"
[แก้]ในฤดูกาลที่ 2 มีอยู่ 13 ตอน จากที่เคยวางแผนว่าจะออกฉาย 24 ตอน โดยเริ่มออกอากาศในคืนวันจันทร์เวลา 21.00 น. ในสหรัฐอเมริกา เริ่มเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 2007 อีก 11 ตอนไม่ได้ออกอากาศเพราะการประท้วงของกลุ่มนักเขียน[17] ในฤดูกาลที่สองประกอบด้วย 2 ส่วนของภาค 2 ของซีรีส์ที่ชื่อว่า "Generations"[18] โดยตอนสุดท้ายของฤดูกาลที่ 2 ออกฉายเมื่อ 3 ธันวาคม ค.ศ. 2007[19] ภาค 2 เริ่มต้นที่เหตุการณ์ที่เคอร์บี้ พลาซ่า 4 เดือน โดยมีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับผู้มีความสามารถพิเศษได้เข้ามาข้องเกี่ยวกับเดอะคอมปานีและการศึกษาเกี่ยวกับไวรัสชานติ ผลของการวิจัยนี้ค้นพบโดยผู้ร่วมก่อตั้งเดอะคอมปานีที่ได้ล่วงรู้ความสามารถพิเศษของแต่ละคน และยังรู้ผลของสายพันธุ์ไวรัส กลุ่มฮีโร่นี้ได้พยายามร่วมกันที่จะหยุดการแพร่กระจายของไวรัสและความหายนะที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
ในฤดูกาลที่ 2 เดิมทีจะมี 3 ภาคในนั้น แต่เนื่องจากการประท้วงของกลุ่มนักเขียนจึงทำให้ปรับเปลี่ยนเหลือแค่ภาคเดียวที่ชื่อว่า "Generations"[20] ภาค 3 จะเรียกว่า "Exodus"[21] และภาค 4 จะเรียกว่า "Villains" และจากผลจากการประท้วงทำให้ภาค 3 เปลี่ยนไปเป็น "Villains" แทนและย้ายไปอยู่ในฤดูกาลที่ 3[7] โดยในภาค "Exodus" จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับผลกระทบหลังการแพร่สเตรน 135 ของไวรัสแชนติ แต่ก็ยกเลิกไป ฉากสุดท้ายของภาค 2 คือตอน "Powerless" ที่ถ่ายทำใหม่เพื่อบ่งบอกการยกเลิกของภาค "Exodus" และเพื่อให้สอดคล้องกับโครงเรื่องของ "Generations"[22][23]
ฤดูกาลที่ 3
[แก้]บทที่ 3: "Villains"
[แก้]ไซลาร์ได้ถูกไวรัสของชานติยับยั้งความสามารถไว้ แต่พลังของเขาก็กลับคืนมาเช่นเดิมหลังจากที่ใช้ยารักษาของศาสตราจารย์เซอร์เรช[24]
ในฤดูกาลที่ 3 ออกอากาศครั้งแรกด้วยจำนวน 2 ตอนรวด ออกอากาศวันจันทร์ที่ 22 กันยายน ค.ศ. 2008 ในสหรัฐอเมริกา[25] ตอนปฐมทัศน์บทที่ 3 ที่ชื่อว่า "Villains" (ตัวร้าย) โดยเริ่มออกอากาศภาพบนพรมแดงก่อน 1 ชั่วโมง และคลิปตอนเก่า ๆ รวมถึงภาพบางส่วนของตอนที่จะฉายในฤดูกาล และบทสัมภาษณ์ทั้งนักแสดงและทีมงาน บทที่ 3 เริ่มต้นด้วยการพยายามลอบสังหารเนธาน เพเทรลลี่ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ตัวร้ายหลายตัวก็หลุดออกมาจากที่กักขังของเลเวล 5 และเดอะคอมปานีพยายามหาหนทางที่จะตามจับพวกที่หลุดหนีกลับมา อาเธอร์ เพเทรลลี่ฟื้นมาจากอาการโคม่า จากพลังความสามารถของอดัม มอนโร และในที่สุดตัวร้ายก็เพิ่มขึ้น (ฟลินธ์ กอร์ดอน จูเนียร์, น็อกซ์ และแดฟเน่ มิลบรู๊ก) ขณะที่ก็ยังหลอกล่อโมฮินเดอร์ ซูเรช, เนธาน, เทรซี สเตราส์, แอลล์ บิช็อป และไซลาร์ ให้เป็นพวก โดยจุดหมายของพวกเขาคือการสร้างสูตรให้คนสามารถมีความสามารถพิเศษ แต่หลังจากความล้มเหลวหลายครั้ง พวกเขาก็พบว่าต้องมีตัวเร่ง ซึ่งก็คือแคลร์ ซึ่งแคลร์และฮิโระย้อนเวลากลับไปในอดีต ที่เขาได้รับตัวเร่งจากแม่ของเขา แต่หลังจากนั้นไม่นานอาร์เธอร์ก็ตามมาและเอาตัวเร่งไปได้ หลังจากนั้นปีเตอร์ เพเทรลลี่ ชาวไฮเทียน ได้ประชันหน้ากับอาร์เธอร์ที่ไพน์เฮิร์สต และต่อสู้กัน แต่ท้ายสุดอาร์เธอร์ก็ถูกยิงโดยกระสุนของปีเตอร์ผ่านพลังของไซลา ซึ่งได้บอกกับเขาว่าคนที่ฆ่าเป็นเขาไม่ใช่ปีเตอร์ ปีเตอร์ดีดตัวออกมาพร้อมกับเนธานที่หลังเกิดเพลิงไหม้ในตึก โดยเนธานเป็นฝั่งพ่อของเขา อันโดะได้มีความสามารถพิเศษขึ้นมา (ได้ช่วยฮิโระจากในอดีตโดยได้รับความช่วยเหลือจากพลังซุเปอร์ความเร็วของแด็ปเน่) แคลร์ ,โนอาร์ เบนเน็ตต์ และแองเจลา เพเทรลลี่ต่อสู้กับไซลาร์ที่ไพรมาเทค ซึ่งที่นั่นพลังของเมเรดิธได้ประทุเกินควบคุมจนทำให้เผาไหม้อาคารเป็นหน้ากอง โดยไซลาร์สันนิษฐานว่าตายแล้ว
บท "Villains" เดิมทีจะอยู่ในฤดูกาลที่ 2 แต่เนื่องจากการประท้วงของนักเขียนบท ทำให้บทนี้อยู่ในฤดูกาลที่ 3 แทน โดยที่ซานดิเอโกคอมิก-คอน 2008 คริงได้นำส่วนแรกของฤดูกาลที่ 3 นี้นำมาฉายครั้งแรก กับตอน "Villains" ที่ชื่อ "The Second Coming" ที่ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากแฟน ๆ[26] แต่ถึงแม้ว่าในทั้งสองฤดูกาลแรกจะประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แต่ใน "Villains" ความนิยมเรื่องเรตติ้งก็ลดลง รวมถึงเสียงตอบรับด้านบวกก็น้อยลงไปด้วย[27]
บทที่ 4: "Fugitives"
[แก้]ในบทที่ 4 นี้เริ่มต้นด้วยการที่เนธาน เพเทรลลี รายงานต่อประธานาธิบดี ว่าผู้มีพลังนั้นเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศ และขอไห้มีคำสั่งควบคุมตัวพวกเขา ซึ่งประธานาธิบดีเห็นด้วย เป็นผลทำไห้เหล่าผู้มีพลังต้องออกต่อสู้เพื่ออิสรภาพของพวกเขาเอง
ฤดูกาลที่ 4
[แก้]บทที่ 5: "Redemtion"
[แก้]ในบทที่ 5 เรื่องเริ่มต้นที่กลุ่มของ แซมมวล ซัลลิแวน ผู้นำของเหล่าพวกมีพลังพิเศษอีกกลุ่มหนึ่งมีฉากหน้าเป็นเจ้าของงานสวนสนุกตระเวนโชว์รอบประเทศมีเป้าหมายคือต้องการรวบรวมคนที่มีพลังพิเศษมาไว้ในที่เดียวกัน โดยที่เจ้าตัวมีเป้าหมายที่จะทำให้เหล่าผู้ที่มีพลังมีที่อยู่อาศัยไม่ต้องหลบซ่อนจากผู้คน สัญลักษณ์ของกลุ่ม แซมมวล คือ เข็มทิศ ที่ถ้าอยู่กับคนธรรมดาจะไม่เกิดอะไรขึ้น แต่ถ้าอยู่กับคนที่มีพลังพิเศษเข็มจะหมุนไปหาที่ตั้งสวนสนุกของแซมมวลเสมอ
ด้าน เนธาน เพเทรลลี่ ซึ่งตายจากภาคที่แล้ว แต่ แองเจล่า โนอาฮ์ และ แมท ได้จับตัว ไซล่าร์ และเปลี่ยนความทรงจำ ให้คิดว่าตนเป็น เนธาน เกิดความสับสนในตัวเองเพราะอาจเป็นเพราะพลังที่แมทสะกดไว้เสื่อมลง จึงต้องสืบว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับตน
ด้าน ไซล่าร์ กลายเป็นจิตใต้สำนึกอยู่ในหัวของ แมท ต้องการร่างกายของตนคืนจึงพยายามก่อกวน แมท เพื่อหาร่างของตน หลังจากที่ได้ร่างของตนกลับมา ไซล่าร์ เริ่มสับสนตัวเองว่าจะฆ่าผู้ที่พลังพิเศษไปทำไมจึงต้องที่หยุดตัวเองอีกครั้งโดยให้ แมท สะกดจิต แต่ แมท ได้ขัง ไซล่าร์ ให้อยู่ในฝันร้ายตลอดกาล จนกระทั่ง ปีเตอร์มาช่วยจึงสามารถหลุดออกจากฝันร้ายนี้ได้
ในตอนท้ายของบทที่ 5 แผนการของ แซมมวล ถูกขัดขวาง โดย พวกของปีเตอร์ทำให้ แซมมวลถูกจับในที่สุด ส่วนแคลร์ ได้รับความจริงต่างๆจาก โนอาห์ เลยตัดสินทำบางอย่างโดยการเปิดเผยความสามารถของตนให้สื่อมวลชนดู และเป็นของการเริ่มต้น บทที่ 6: Brave new world
ฮีโรส์ รีบอร์น
[แก้]บทที่ : 6 "brave new world"
[แก้]มินิซี่รี่ส์ภาคต่อจากฮีโรส์
ตัวละคร
[แก้]- ปีเตอร์ เพเทรลลี่ (ไมโล เวนทิมิกเลีย) (ภาค 1-5) ตัวละครเอกของเรื่อง มีความสามารถในการดูดซับความสามารถของผู้อื่น ที่เขาอยู่ใกล้หรือเคยเห็นความสามารถนั้นๆ ภายหลังจากการสู้กับ พ่อของตน (อาร์เธอร์ เพเทรลลี่) ทำให้มีความสามารถเหมือนพ่อตน โดยปีเตอร์มีอาชีพหลักคือเป็นบุรุษพยาบาล
- เนธาน เพเทรลลี่ (เอเดรียน พาสดาร์) (ภาค 1-5) พี่ชายของปีเตอร์, พ่อของแคลร์ มีความสามารถในการเหาะเหิน ภายหลังถูก ไซล่าร์ ฆ่าตายแต่ แมท ใส่ความคิดของตนในร่าง ไซล่าร์
- แองเจล่า เพเทรลี่ (คริสทีน โรส) (ภาค 1-6) แม่ของนาธานและปีเตอร์ มีความสามารถในการนิมิตฝันเห็นอนาคต และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง คอมพานี ในภาค6 แองเจลล่ารู้ว่าทอมมี่มีเชื้อแบบเดียวกับสามีของ(อาร์เธอร์ เพเทรลลี่)
- แคลร์ เบนเนท (แฮเดน พาเนทเทียร์) (ภาค 1-6) เชียร์ลีดเดอร์ของโรงเรียนไฮสคูลที่โอเดสซา เท็กซัส เป็นลูกเลี้ยงของโนอาฮ์ เบนเนท, ลูกสาวของเนธาน เพเทรลลี่ มีความสามารถในการสร้าง เซลล์ใหม่ และภายหลังมีพลังเป็นอมตะคล้าย อดัม และไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด ในภาค6 แคลร์ได้คลอดเด็กแฝดสองคนนั่นก็คือทอมมี่และมาลิน่าแต่พอแคลร์คลอดเสร็จแคลร์ได้เสียชีวิตลง เนื่องจากทอมมี่ที่มีเชื่อมาจากตาของเขา(อาร์เธอร์ เพเทรลี่) เลยทำให้พลังของแคร์ถูกลบไป
- โนอาฮ์ เบนเนท (แจ็ค โคล์แมน) (ภาค 1-5) พ่อบุญธรรมของแคลร์ เป็นนักล่าผู้มีพลังพิเศษ ภายหลังได้หย่ากับ ภรรยา ของตน (ซานดร้า)
- โมฮินเดอร์ ซูร์เรช (เซนด์ฮิล รามามูร์ธิ) (ภาค 1-5) ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรม ได้เดินทางจากอินเดียมาที่นิวยอร์ก เพื่อมาสืบหาสาเหตุของการเสียชีวิตของพ่อเขา ในเลือดของเขามีสารที่สามารถต่อต้านไวรัส ที่ผู้มีความสามารถกำลังติดเชื้อไวรัสนั้นอยู่ ภายหลังได้ฉีดวัคซีนที่ตนทดลองทำให้มีพลังเหนือมนุษย์ คล้ายกับ นิกิ
- ไอแซค เมนเดซ (ซานติเอโก คาเบรรา) (ภาค 1) จิตรกรผู้มีความสามารถในการวาดภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเป็นผู้เขียนการ์ตูนเรื่อง 9th Wonders!
- อันโด มาซาฮาชิ (เจมส์ ไคสัน ลี) (ภาค 1-5) เป็นเพื่อนสนิทของฮิโระ นาคามูระ ในภาค 3 ตนได้ฉีดวัคซีนที่ โมฮินเดอร์ สร้างขึ้นทำให้ตนมีความสามารถในการเร่งพลังพิเศษให้คนอื่น และสามารถปล่อยคลื่นแสงสร้างความเสียหายได้
- ฮิโระ นาคามูระ (มาซิ โอกะ) (ภาค 1-6) โปรแกรมเมอร์ที่โอซากา ญี่ปุ่น มีความสามารถในการควบคุมกาลเวลา ในภาค 4 ตนมีเนื้องอกในสมองทำให้ควบคุมเวลาคลาดเคลื่อนและเป็นอันตรายต่อชีวิตตน
- อดัม มอนโร/ทาเคโซ เคนไซ (เดวิด แอนเดอร์ส) (ภาค 2-3) ชาวอังกฤษผู้สร้างตำนานแห่งนักรบเคนไซในญี่ปุ่น มีความสามารถในสร้างเซลล์ใหม่ เช่นเดียวกันกับแคลร์ และได้มีการพัฒนาศักยภาพของความสามารถ จนมีชีวิตอยู่ถึงปัจจุบัน และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง คอมพานี
- แมทท์ พาร์คแมน (เกรก กรันเบอร์ก) (ภาค 1-5) ตำรวจ นครลอสแอนเจลิส ผู้มีความสามารถในการอ่านจิตใจของผู้อื่น และได้มีการพัฒนาศักยภาพของความสามารถ จนสามารถควบคุมความคิดของผู้อื่นได้ ภายหลังมีลูกชาย ชื่อ แมทธิว (เกิดกับ เจนิส) มีความสามารถในการเปิด-ปิดพลังผู้อื่น และควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้า คล้ายกับ ไมก้า
- ดี.แอล. ฮอว์คินส์ (ลีโอนาร์ด โรเบิร์ทส) (ภาค 1-2) สามีของนิกิ, พ่อของไมคาฮ์ มีความสามารถในการทะลุผ่านสิ่งกีดขวาง
- นิกกิ้ แซนเดอร์ส (อาลิ ลาร์เทอร์) (ภาค 1-3) นางโชว์ทางอินเทอร์เน็ต,ฝาแฝดเจสสิก้า มีความสามารถในการเปลี่ยนจิตให้เป็นอีกคน(ซึ่งก้คือเจสสิก้านั่นเอง) ภายหลังเสียชีวิตเพราะไปช่วยโมนิกาจากอาคารที่ถูกระเบิด
- เทรซี่ สเตราส์ (อาลิ ลาร์เทอร์) (ภาค 3-5) แฝดของนิกิ ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยนักวิทยาศาสตร์ของ คอมพานี มี 3 คนคือ นิกกิ้,เทรซี่ และ เจสสิก้า มีความสามารถในการแช่แข็งของที่ตนสัมผัส ภายหลังพัฒนาความสามารถของตนทำให้ตนมีร่างกายเป็นน้ำ
- ไมคาฮ์ แซนเดอร์ส (โนอาฮ์ เกรย์-คาเบย์) (ภาค 1-4) เด็กอัจฉริยะ ผู้มีความสามารถในการสื่อสารและควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้า ภายหลังใช้ชื่อตนว่า รีเบล ต้องการที่จะปลดปล่อย ผู้ที่มีพลังพิเศษ จากแผนการในภาคที่ 4
- โมนิกา ดอว์สัน (แดนา แดวิส) (ภาค 2) หลานสาวของดี.แอล. มีความสามารถในการเลียนแบบพฤติกรรมที่เธอเคยเห็น
- มายา เฮอเรอรา (ดาเนีย รามิเรซ) (ภาค 2-3) มีความสามารถในการแพร่กระจายพิษ ที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต เวลาที่เธอร้องไห้ ภายหลังถูกลบความสามารถจาก อาร์เธอร์ พ่อของเนธานและปีเตอร์
- อเดจานโดร เฮอเรอรา (ภาค 2) คู่แฝดของมายา มีความสามารถในการรักษาพิษที่มายาปล่อยออกไป ภายหลังถูกไซล่าร์ ฆ่าตาย
- เอลล์ บิชอป (คริสเตน เบลล์) (ภาค 2-4) ลูกสาวของบ็อบ หนึ่งใน the company มีความสามารถในการปล่อยพลังงานไฟฟ้า ภายหลังถูกไซล่าร์ ฆ่าตาย
- ไซลาร์ (แซกคารี ควินโต) (ภาค 1-5) ตัวร้ายของเรื่อง ชื่อจริง คือ เกเบรล เกรย์ เป็นนักซ่อมนาฬิกา มีความสามารถในการรู้ถึงการทำงานของสิ่งต่างๆสามารถใช้พลังของผู้อื่นโดยการฆ่าผู้อื่นแล้วเปิดกะโหลกแล้วอ่านจากสมอง ชื่อ“ไซลาร์”นั้นมาจาก ยี่ห้อของนาฬิกาที่เกเบรลกำลังซ่อมอยู่
การสร้าง
[แก้]แนวความคิด
[แก้]ฮีโรส์ เริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่ในช่วงทำตอนทดลองในปี 2006 เมื่อทิม คริง ที่ตอนนั้นเป็นผู้สร้าง Crossing Jordan ทางเอ็นบีซีได้เกิดแนวความคิดโดยเขาต้องการสร้างโชว์ที่เป็น "การรวมกันของกลุ่มคนผู้กล้าหาญ" โดยได้เชื่อมโยงกับคนดู เขาเริ่มคิดเกี่ยวกับความใหญ่โต ความหวาดกลัว และความสลับซับซ้อน ที่เขารู้สึกกับโลกปัจจุบัน และต้องการสร้างตัวละครที่จะผลักดันให้คนที่สามารถทำอะไรบางอย่างได้ คริงรู้สึกว่าซีรีส์ประเภทที่เกี่ยวกับตำรวจ ทหาร แพทย์ และ ประเภทซีรีส์อย่าง Lost ยังไม่ใหญ่พอที่จะช่วยเหลือโลก เขาผุดแนวคิดเกี่ยวกับซูเปอร์ฮีโร่ ที่ค้นพบความสามารถพิเศษของตัวเองขณะที่ยังคงเชื่อโยงกับโลกแห่งความเป็นจริงอยู่ ไมโล เวนติมิเลีย อธิบายตอนทดลองของเรื่องว่า "มีตัวละครดราม่าในชีวิตประจำวันที่มีความเป็นเรียลลิตี้มากกว่าเดิม" คริงต้องการให้ซีรีส์มีมาตรฐานของการทดสอบที่เกี่ยวกับตัวละครและโลกที่พวกเขาอยู่[28][29]
ก่อนที่เขาจะเริ่มรวมแนวความคิดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เขาได้มีโอกาสพูดกับผู้อำนวยการสร้างซีรีส์เรื่อง อสุรกายดงดิบ ชื่อเดมอน ลินเดลอฟ ที่เคยทำงานใน Crossing Jordan เป็นเวลา 3 ปี คริงให้เครดิตกับลินเดลอฟสำหรับข้อแนะนำและแนวคิดในการนำซีรีส์ไปเสนอกับทางสถานีและเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานซีรีส์ในรูปแบบดรามา ซึ่งทั้ง 2 คนก็ยังคุยกันอยู่และสนับสนุนโครงการแต่ละฝ่ายด้วยกันอยู่[30][31][32] เมื่อคริงได้เสนอแนวคิดเรื่อง ฮีโรส์ ให้กับทางสถานีเอ็นบีซีแล้ว เขาอธิบายว่าสถานีให้การตอบรับ "ตื่นเต้น และให้การสนับสนุนมาก"[33] เขาอธิบายว่าเขาเคยมีมีส่วนร่วมกับทางเอ็นบีซีหลายครั้ง จากการที่เขาเป็นโชว์รันเนอร์ให้กับ Crossing Jordan เป็นเวลาถึง 6 ปี[33] เมื่อเขานำเสนอตอนทดสอลเขาอธิบายทุกรายละเอียด รวมถึงตอนจบของเรื่อง เมื่อเอกซ์คูทีฟของเอ็นบีซีถามเขาว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อ คริงตอบว่า "คุณเพียงแค่รอ และค้นหามัน"[34] หลังจากโครงการผ่านแล้ว ตอนทดลองพิเศษความยาว 73 นาทีออกฉายครั้งแรกให้ผู้ชมครั้งแรกในงานคอมิกคอน ปี 2006 ในซานดิเอโก[35] มีการรายงานว่าตอนทดลองที่ไม่ได้ออกฉายนี้จะไม่ออกฉาย แต่อย่างไรก็ตามก็มีอยู่ในเซ็ตดีวีดีในฤดูกาลแรก[36]
การเขียนบทและรูปแบบตอน
[แก้]เมื่อทีมเขียนบทเริ่มทำงานในแต่ละตอน นักเขียนบทแต่ละตัวละครจะเขียนแยกเป็นฉาก ๆ ไปที่เรื่องราวที่รายล้อมพวกเขาอยู่ เนื้อเรื่องจะถูกเชื่อมต่อกันและจากนั้นก็เป็นหน้าที่ให้กับนักเขียนบทของตอนนั้น ระบบนี้เองยังทำให้นักเขียนสามารถมีส่วนร่วมในทุก ๆ ตอน[37] และยังทำให้ทีมนักเขียนสามารถทำงานเขียนแบบเสร็จได้เร็วขึ้น จากนั้นทีงานถ่ายทำสามารถถ่ายทำฉากในแต่ละที่ได้มากขึ้น[34] ทิม คริง อธิบายขึ้นตอนการเขียนว่าเป็นการร่วมกันเป็นหนึ่งโดยผู้ที่ร่วมมีความสำคัญเพราะการผลิตต้องการถ่ายทำหลายฉาก ในสถานที่เดียว และเพื่อที่จะทำให้เสร็จ เจซซี อเล็กซานเดอร์ ผู้ร่วมสร้างและนักเขียนบท อธิบายว่ารูปแบบการทำงานแบบนี้มีความสำคัญในการถ่ายซีรีส์ประเภทดราม่าเพราะ แต่ละคนจะต้องรู้ว่าแต่ตัวละครกำลังเดินเรื่องที่ไหน[34]
ในแต่ละตอนมีรูปแบบโครงสร้างที่ชัดเจน เริ่มจากการสรุปเหตุการณ์ โดยโชว์จะเริ่มโดยทีเซอร์ที่ตัดต่อสรุปเนื้อเรื่องที่ผ่านมาที่ในบางครั้งจะเริ่มโดยการแนะนำฉากในสัปดาห์ที่ผ่านมาในส่วนสำคัญ จากนั้นจึงตัดมาเป็นกราฟิกชื่อเรื่อง ซึ่งเป็นรูปสุริยคราส และโลโก้ของ ฮีโรส์ และเพลงเริ่มเรื่อง และชื่อตอนมักจะปรากฏหลังชื่อไตเติล ซึ่งเป็นช่วงหลังพักโฆษณา โดยชื่อตอนจะมีเกาะเกี่ยวกับวัตถุบนโลกในฉากหลังพักโฆษณาแรก ไตเติลจะระบุชื่อบท ที่มีบอกว่าบทที่เท่าไหร่ และเครดิตเปิดเรื่องจะปรากฏรายชื่อนักแสดงตามตัวอักษรของนามสกุลในขณะกำลังดำเนินเรื่องในช่วงแรก มีหลายที่มีหลายตัวละครหลายเรื่องในนั้น บางครั้งก็เป็นเหตุการณ์เดียวกัน ขณะที่หลายครั้งเรื่องของตัวละครแต่ละเรื่องจะสานกันเป็นตอนเดียวกัน แต่ละตอนมักจบด้วยภาวะที่คาราคาซังหรือเรื่องราวที่น่าตื่นเต้น[38] โดยออกในวินาทีท้าย ๆ ก่อนจะตัดไปว่า "ติดตามชมตอนต่อไป"
ดนตรี
[แก้]ดนตรีประกอบในฤดูกาลแรกประพันธ์โดยเวนดี เมลวอยน์ และ ลิซา โคล์แมน ร่วมด้วยวิศวกรดนตรีอย่าง ไมเคิล เพอร์ฟิตต์[39] ส่วนเสียงร้องโดย ชังการ์ ในแต่ละตอนจะมีดนตรีเข้ามาเฉลี่ย 30 ถึง 35 นาที เล่นโดยเมลวอยน์และโคล์แมน ผลิตจากเครื่องอินเทลแม็ก 3 เครื่อง กับฮาร์ดไดร์ฟระบบ RAID[40] เมลวอยน์และโคลด์แมนได้มีส่วนร่วมใน ฮีโรส์ จากผลงานที่เคยทำงานร่วมกับผู้อำนวยการสร้างอย่าง อัลลัน อาร์คุช[40] ทิม คริงได้ให้ข้อมูลทั่วไปกัลทั้งคู่ รวมถึงอารมณ์และทิศทางของแต่ละตัวละคร คริงต้องการดนตรีที่ไม่ได้มีลักษณะทั่วไปและให้ความเป็นอิสระกับเวนดีและลิซาและอนุญาตให้ทดลองดนตรีต่าง ๆ ในตอนทดลองคริงแนะนำให้ให้มีลักษณะแบบความฝัน "dreamy" ในฉากที่แคลร์ เบนเนต วิ่งเข้าไปในรถไฟที่เกิดเพลิงไหม้ ซึ่ง "dreamy" เองก็เป็นลายเซ็นของโชว์เลย
เมลวอยน์และโคลแมนพัฒนาดนตรีให้แก่แต่ละตัวละคร ธีมดนตรีของคลอด (มนุษย์ล่องหน) ได้นำลมและเสียงพูดเข้ามาให้เกิดความรู้สึกเหมือนผี ธีมของฮิโร่ นาคามูระ นำมาริมบาส (เครื่องดนตรีคล้ายระนาด) กับบาสซูน เป็นห้วง ๆ และนำเสียงการเดินของนาฬิกามาประกอบพลังของตัวละคร ธีมของแม็ตต์ พาร์กแมนนำเสียงพูดที่เล่นกลับถอยหลังเมื่อเขาใช้พลังอ่านจิตใจคน ธีมของปีเตอร์ เพเทรลลี่ใช้เครื่องสาย ธีมของนิกี แซนเดอร์สยึดมาจากบุคลิกของเธอที่มีบุคลิกอีกคนที่ชื่อเจสสิกาจะมีเสียงลมและคำสวดแบบอินเดียที่เน้นความรู้สึกของเธอที่ถูกครอบงำในจิตใจ ธีมของโมฮินเดอร์ ซูเรชใช้เปียโนซึ่งในบางตอนจะใช้เล่นในตอนจบของหลาย ๆ ตอน และธีมของไซลาร์เป็นเสียงของนาฬิกาและเปียโนตัวเก่า ๆ[40]
ในปี 2007 ASCAP Film and Television Music Awards มอบรางวัลให้เวนดีและลิซา สำหรับการทำงานของพวกเธอในฮีโรส์[41] ในฝรั่งเศส ธีมของ ฮีโรส์ ประพันธ์โดย วิกตอเรีย พีโทรซิลโล มีเพลงอย่าง "Le Héros d'un autre" ที่ใช้เล่นในสถานีทีเอฟวัน แทนเพลงดั้งเดิม ทางสถานียังได้ทำเพลงเปิดตอนเครดิตใหม่จากนั้นจึงเข้าสู่เพลงธีมของพีโทรซิลโล[42] นอกจากนี้ยังมีเพลงของวงโร๊กเวฟชื่อเพลง "Eyes" ที่เคยเป็นเพลงประกอบเรื่อง Just Friends ก็นำมาใช้ในฤดูกาลแรกในตอน "Genesis" และ "Collision"[43]
เพลงประกอบ
[แก้]อัลบั้มเพลงประกอบซีรีส์อย่างเป็นทางการออกขายเมื่อ 18 มีนาคม ค.ศ. 2008 โดย The NBC Universal Television, DVD, Music & Consumer Products Group มีเพลงบันทึกเสียงของเวนดีและลิซา และยังมีเพลงของศิลปินอย่าง แพนิก แอต เดอะ ดิสโก, วิลโก, อิโมเจน ฮีป, บ็อบ ดีแลน, นาดา เสิร์ฟ และ เดวิด โบวี นอกจากเพลงจากศิลปินดังกล่าวแล้วยังมีเพลงธีมของ ฮีโรส์ แต่ในแผ่นก็ไม่มีเพลง "Eyes" ของโร๊ก เวฟ ที่มีในตอนที่ แรก และตอนที่ 4 ของฤดูกาลแรก ส่วนหน้าหลังของแผ่นจะมีเรื่องเล่าของโมฮินเดอร์ ซูเรชความยาว 45 นาที ต่อมาเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 NBC Universal Television, DVD, Music & Consumer Products Group ออกมิวสิกวิดีโอ 5 ตัว กำกับและสร้างโดย อัลลัน อาร์คุช โดยตัดภาพของโชว์กับเพลงประกอบเข้าด้วยกัน ออกทางเว็บไซต์ ซูน และ เอ็มเอสเอ็น[44][45][46]
ในเดือนกันยายน 2008 เวนดีและลิซา ประกาศว่าจะออกอัลบั้มเพลงสกอร์ของ ฮีโรส์ และยังไม่ระบุวันที่ออก[47]
การถ่ายทำและวิชวลเอฟเฟกต์
[แก้]อีริก เกรเนาดิเออร์และจอห์น ฮาน จากสตาร์เกตดิจิตอล เป็นหัวหน้างานเร้องวิชวลเอฟเฟกต์ และมาร์ก สแปตนี[48] เป็นโปรดิวเซอร์วิชวลเอฟเฟต์ให้กับ ฮีโรส์ โดยทำงานร่วมกับนักสร้างแอนิเมชันที่ชื่อ แอนโธนี โอเคมโปและไรอัน วีเบอร์ ที่ทั้งคู่มาจากสตาร์เกตดิจิตอล[28][49] ในซีรีส์มีวิชวลเอฟเฟต์ที่ใช้บลูสกรีนทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ โดยฉากที่มีวิชวลเอฟเฟกต์จะทำหลังจากถ่ายทำเสร็จแล้วในขึ้นตอนโพสต์โปรดักชัน ไม่เหมือนกับทั่วไป ที่มักจะดำเนินร่วมกันขณะถ่ายทำ[50] ฉากวิชวลเอฟเฟกต์ที่โดดเด่นเช่นในฉากกัมมันตภาพรังสีในฉากของแคลร์ตอน "Company Man" ,ฉากนาธานบินจากเบนเน็ตและผู้ชายจากไฮติ ในตอน "Hiros", และฮิโร่ หยุดเวลาช่วงเด็กนักเรียนหญิงผู้โบว์สีแดงในตอน "One Giant Leap"[28]
สเปเชียลเอฟเฟกต์ได้ทำงานร่วมกับแกรี ด'อะมิโก ส่วนนักแสดงแทนจะทำงานร่วมกัลเอียน อวินน์ ที่ในบางครั้งก็มีการใช้บลูสกรีนร่วมในฉากเสี่ยงในหลาย ๆ ตอน อย่างเช่นฉากนาธาน เพเทรลลี่ บินหนีขณะที่เกิดอุบัติเหตุทางรถยนในตอน "Six Months Ago" ฉากถ่ายทำส่วนใหญ่ของ ฮีโรส์ ถ่ายทำในลอสแอนเจลิสและซานตาคลาริตา ในแคลิฟอร์เนีย[4] ทีมงานสตาร์เกตดิจิตอลก็รับผิดชอบการถ่ายทำในลอสแอนเจลิสให้ดูเหมือนในสถานที่ในต่างประเทศอย่างเช่น อินเดีย และ ยูเครน โดยถ่ายทำบนบลูสกรีนและออกแบบฉากโดย รัธ แอมมอน ผู้ออกแบบงานสร้างของซีรีส์นี้[51] ซีรีส์เรื่องนี้ถ่ายทำโดยใช้กล้องเดียว (single-camera)
และเพื่อให้ดูมีรูปแบบเหมือนหนังสือการ์ตูน องค์ประกอบการ์ตูนที่ใช้ในซีรีส์วาดโดยศิลปินที่ชื่อ ทิม เซล ที่วาดอาร์ตเวิร์กที่ใช้ในเรื่องรวมถึงงานศิลป์ของไอแซก เมนเดซ และงานตีพิมพ์การ์ตูนของเมนเดซเรื่อง 9th Wonders! [52] นอกจากนี้ตัวหนังสือในอธิบายและเครดิตของโชว์ยังใช้ลายมือเขียนแบบการ์ตูนของเซลด้วย ที่ยึดมาจากสไตล์การเขียนของเขาเอง[53]
ตำนาน ฮีโรส์
[แก้]ในเรื่องฮีโรส์มีหลายสิ่งที่ยังทิ้งปมปริศนาอยู่มิใช่น้อย อาทิเช่น สัญลักษณ์เฮลิกซ์ รอยแผลเป็น และการเกิดสุริยคราส
สัญลักษณ์เฮลิกซ์
[แก้]เฮลิกซ์ เป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ในเรื่องนี้ โดยปรากฏขึ้นครั้งแรกในตอน Don't Look Back ซึ่งผู้กำกับต้องการให้เครื่องหมายนี้สื่อถึง พลังอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า
การออกอากาศและความประสบผลสำเร็จในประเทศต่างๆ
[แก้]- ออสเตรเลีย
- เริ่มออกอากาศครั้งแรกที่ช่อง Seven Network ในทุกวันพุธ เวลา 20.30 น.สามารถดึงดูดผู้ชมถึงกว่า 2 ล้านคน
- ฟินแลนด์
- ออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 21.00 น.สามารถดึงดูดผู้ชมประมาณ 614,000 คน
- ฝรั่งเศส
- ออกอากาศทางช่อง TF1 ทุกวันศุกร์ เวลา 20.50 น. สามารถดึงดูดผู้ชมถึงกว่า 6 ล้านคน
- เยอรมัน
- ออกอากาศทางช่อง RTL2 ทุกวันพุธ เวลา 20.15 น. สามารถดึงดูดผู้ชมราว 3 ล้านคน
- ฮ่องกง
- ออกอากาศทางช่อง TVB Pearl ทุกวันอังคาร เวลา 22.35 น.สามารถดึงดูดผู้ชมราว 340,000 คน
- อิตาลี
- ออกอากาศทางช่อง Italia 1ทุกวันอาทิตย์ เวลา 20.40 น.สามารถดึงดูดผู้ชมถึงกว่า 2 ล้านคน
- เนเธอร์แลนด์
- ออกอากาศทางช่อง RTL5 ทุกวันอังคาร เวลา 21.30 น.สามารถดึงดูดผู้ชมราว 572,000 คน
- นอร์เวย์
- ออกอากาศทางช่อง NRK ทุกวันจันทร์ เวลา 21.25 น.
- ฟิลิปปินส์
- ออกอากาศทางช่อง RPN และ C/S
- สิงคโปร์
- ออกอากาศทางช่อง 5 ทุกวันจันทร์ เวลา 20.00 น.
- แอฟริกาใต้
- ออกอากาศทางช่อง SABC 3 ทุกวันพุธ สามารถดึงดูดผู้ชมราว 3 ล้านคน
- สวีเดน
- ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2549 สามารถดึงดูดผู้ชมราว 965,000 คน
- อังกฤษ
- ออกอากาศทางช่อง Sci fi UK สามารถดึงดูดผู้ชมถึง 579,000 คน ในวันแรกที่ออกอากาศ
- สหรัฐอเมริกา
- ออกอากาศทางช่อง NBC สามารถดึงดูดผู้ชมถึงกว่า 14 ล้านคน
สื่ออื่นๆ
[แก้]หนังสือและสื่อสาธารณะ
[แก้]นอกจากนี้ทางบริษัท NBC ได้นำเสนอฮีโร่สในรูปแบบฉบับการ์ตูนรายสัปดาห์ ซึ่งในฉบับการ์ตูนนี้จะให้รายละเอียดของตัวละครและเนื้อเรื่องได้มากกว่าการออกฉายทางโทรทัศน์
วิดีโอเกม
[แก้]ทางบริษัทยูบิซอฟท์ได้รับอณุญาตลิขสิทธิ์ในการผลิตเกมส์ฮีโรส์ ซึ่งคาดว่าจะออกมาในรูปแบบเกมส์คอมพิวเตอร์[54]
เกมบนโทรศัพท์มือถือ
[แก้]บริษัทเกมส์ลอฟท์ได้ปล่อยเกมส์ฮีโรส์ ออกมาครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2550 โดยผู้เล่นสามารถเลือกบุคลิก จาก 3 ตัวละคร คือ ฮิโระ นากามูระ, นิกิ แซนเดอร์ส และปีเตอร์ เพเทรลลี่ ซึ่งในเกมส์จะรวมการเล่นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยเริ่มจากตอน "Five Years Gone"[55][56]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Company credits for Heroes". Internet Movie Database. สืบค้นเมื่อ 2007-12-26.
- ↑ Kring, Tim (2006-09-24). "How many seasons/scripts are plotted out?". NBC Universal Heroes Live Blog. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-12. สืบค้นเมื่อ 2006-10-31.
- ↑ 3.0 3.1 "Heroes TV Show on NBC". NBC.com. สืบค้นเมื่อ 2008-03-28.
- ↑ 4.0 4.1 "Real locations or movie magic?". NBC.com. 2005-09-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-26. สืบค้นเมื่อ 2008-03-28.
- ↑ "'Heroes' debut paces NBC's second Monday win of the new season" (Press release). NBC Universal. 2006-09-26. สืบค้นเมื่อ 2006-09-29.
- ↑ "Heroes (NBC) - Reviews". Metacritic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-23. สืบค้นเมื่อ 2008-03-28.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 NBC (2008-02-13). "NBC Renews Drama Series 'Chuck, 'Life' and 'Heroes' for 2008-09 Season". สืบค้นเมื่อ 2008-02-13.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-16. สืบค้นเมื่อ 2021-10-04.
- ↑ McLean, Tom (2007-05-14). ""Heroes" spins off". Bags and Boards. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-17. สืบค้นเมื่อ 2007-05-14.
- ↑ Strachan, Alex (2007-11-07). "Casualties of the Hollywood writers strike". The Gazette. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-10. สืบค้นเมื่อ 2007-11-07.
- ↑ Jensen, Jeff (2007-11-07). "'Heroes' Creator Apologizes to Fans". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-09. สืบค้นเมื่อ 2007-11-16.
- ↑ Finn, Natalie (2007-12-03). "Heroes Drops Some Dead Weight". E!. สืบค้นเมื่อ 2007-12-04.
- ↑ 13.0 13.1 Spelling, Ian (2008-04-04). "Heroes Returns; Origins Dies". Sci Fi Wire. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-06. สืบค้นเมื่อ 2008-04-04.
- ↑ Kaplan, Don (2007-01-22). "New 'Heroes' Guy Revealed!". New York Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-09. สืบค้นเมื่อ 2008-04-16.
- ↑ Buckman, Adam (2007-03-05). "'Heroes' Spring Break". New York Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-05. สืบค้นเมื่อ 2008-04-16.
- ↑ "Heroes: How to Stop an Exploding Man - TV.com". TV.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-30. สืบค้นเมื่อ 2008-04-19.
- ↑ "Heroes: (Volume Two: "Generations") Four Months Later... - TV.com". TV.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-31. สืบค้นเมื่อ 2008-04-19.
- ↑ Logan, Michael (2007-12-04). "Exclusive: Tim Kring Explains Heroes' "Generations" Finale". TV Guide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-06. สืบค้นเมื่อ 2008-04-18.
- ↑ "Heroes: Powerless - TV.com". TV.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-19. สืบค้นเมื่อ 2008-04-19.
- ↑ Goldman, Eric (2007-12-14). "Heroes Creator Tim Kring Talks". IGN. สืบค้นเมื่อ 2007-12-28.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Carter, Bill (2008-07-21). "'Heroes' Is Ready for Its Rebound". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-09-17.
- ↑ Phegley, Kiel (2007-12-20). "Tim Kring on 'Heroes' Vol. 3". Wizard Universe. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-25. สืบค้นเมื่อ 2008-02-03.
- ↑ Goldman, Eric (2007-12-14). "Heroes Creator Tim Kring Talks". IGN. สืบค้นเมื่อ 2008-03-02.
- ↑ Beeman, Greg (2007-11-26). "Season 2 Episode 10 "Truth and Consequences"". Beaming Beeman. สืบค้นเมื่อ 2007-12-04.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Josef Adalian (2008-05-23). "NBC Revamps Fall Plans, Delays Series Launches". TVWeek.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-12. สืบค้นเมื่อ 2008-09-18.
- ↑ Hibberd, James (2008-07-26). "Tim Kring Screens Heroes Third Season Premiere". The Live Feed. สืบค้นเมื่อ 2008-08-02.
- ↑ "TV.com - "Chuck, Heroes hit ratings lows"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-01. สืบค้นเมื่อ 2009-02-16.
- ↑ 28.0 28.1 28.2 Kring, Tim (creator). (Unknown episode) (DVD) (Season one episodes). NBC Universal Media. สืบค้นเมื่อ 2008-01-20.
{{cite AV media}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|date2=
ถูกละเว้น (help) - ↑ Tim Kring. "Heroes Live Blog: Why I wanted to do a show like Heroes". NBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-15. สืบค้นเมื่อ 2008-02-02.
- ↑ Tim Kring. "Heroes Live Blog: Friends with the creator of LOST". NBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-01. สืบค้นเมื่อ 2008-02-02.
- ↑ "Interview with Jef Loeb". NBC. สืบค้นเมื่อ 2008-02-02.
- ↑ "www.boston.com/ae/tv/articles/2007/03/04/its_all_connected/?page=2".
- ↑ 33.0 33.1 Tim Kring. "Heroes Live Blog: The Pitch Process to NBC". NBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-28. สืบค้นเมื่อ 2008-02-02.
- ↑ 34.0 34.1 34.2 "Heroes Execs discuss show's future, LOST, more/". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-27. สืบค้นเมื่อ 2008-11-29.
- ↑ Goldman, Eric (2006-06-22). "Comic-Con 2006: Heroes Pilot Premiere". IGN. สืบค้นเมื่อ 2006-11-01.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Tribbey, Chris (2007-07-26). "The HD DVD of "Heroes" Comes Packed With Interactive Extras". allthingshidef.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-05. สืบค้นเมื่อ 2007-07-26.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Taylor, Robert (2006-10-26). "Reflections: Talking with Bryan Fuller". Comic Book Resources. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-13. สืบค้นเมื่อ 2006-11-01.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "theTVaddict.com Interview: Tim Kring HEROES Creator". the TV Addict. 2006-10-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-10. สืบค้นเมื่อ 2008-04-19.
- ↑ Heroes TV Show on NBC: NBC Official Site
- ↑ 40.0 40.1 40.2 Greg Beeman. "BEEMAN'S BLOG – SEASON 2, EPISODE 11". สืบค้นเมื่อ 2008-01-31.
- ↑ "22nd Annual ASCAP Film and Television Music Awards > Playback Summer 2007". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-01. สืบค้นเมื่อ 2008-12-13.
- ↑ "Bienvenue chez Victoria !". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-10. สืบค้นเมื่อ 2021-08-09.
- ↑ Olund, Melissa (2006-09-26). "Rogue Wave on 'Heroes'". spinner.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-17. สืบค้นเมื่อ 2007-09-16.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "Heroes soundtrack, music videos on the way - Today's News: Our Take | TVGuide.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-06. สืบค้นเมื่อ 2008-12-13.
- ↑ Dylan, Bowie on Heroes soundtrack | Entertainment | Reuters
- ↑ "Heroes soundtrack taps Bob Dylan, Wilco | Heroes | Television News | News + Notes | Entertainment Weekly". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-21. สืบค้นเมื่อ 2008-12-13.
- ↑ "Wendy and Lisa prepare 'Heroes' score album". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-22. สืบค้นเมื่อ 2008-12-13.
- ↑ "fxguide - vfx knowledge - Heroic VFX : Stargate Digital and NBC's Heroes". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-03. สืบค้นเมื่อ 2008-12-13.
- ↑ Heroes TV Show on NBC: NBC Official Site
- ↑ Heroes TV Show on NBC: NBC Official Site
- ↑ Heroes TV Show on NBC: NBC Official Site
- ↑ Smith, Zack (2006-11-14). "Talking Heroes and comics with Tim Sale". Newsarama. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-10. สืบค้นเมื่อ 2007-03-21.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ George, Richard (2006-10-26). "Loeb Talks Heroes". IGN. สืบค้นเมื่อ 2007-03-21.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Magrino, Tom (2007-07-26). "Ubisoft finds Heroes". GameSpot. สืบค้นเมื่อ 2007-07-27.
- ↑ "Gameloft and NBC Universal enter worldwide agreement to bring the #1 television drama series 'Heroes' to mobile phones". Gameloft. 2007-03-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-16. สืบค้นเมื่อ 2007-12-28.
- ↑ supadupagama (2007-08-19). "Heroes: The Mobile Game developer walkthrough video". videogamesblogger.com. สืบค้นเมื่อ 2007-12-28.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]2 = ฮีโรส์ (ภาพยนตร์ชุดทางโทร...
- เว็บไซต์ฮีโรส์ อย่างเป็นทางการ
- ฮีโรส์วิกิ เก็บถาวร 2010-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน