ข้ามไปเนื้อหา

มณฑลเหอเป่ย์

พิกัด: 39°18′N 116°42′E / 39.3°N 116.7°E / 39.3; 116.7
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Hebei)
มณฑลเหอเป่ย์

河北省
การถอดเสียง 
 • ภาษาจีนเหอเป่ย์เฉิ่ง (河北省 Héběi Shěng)
 • ชื่อย่อHE / HEB / จี้ ( )
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลเหอเป่ย์
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลเหอเป่ย์
พิกัด: 39°18′N 116°42′E / 39.3°N 116.7°E / 39.3; 116.7
ตั้งชื่อจากเหอ ( ) — "แม่น้ำ" (แม่น้ำเหลือง)
เป่ย์ ( běi) — "เหนือ"
"ทางเหนือของแม่น้ำเหลือง"
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
ฉือเจียจวง
เขตการปกครอง11 จังหวัด,
121 อำเภอ,
2207 ตำบล
การปกครอง
 • เลขาธิการพรรคหวัง ตงเฟิง
 • ผู้ว่าการฉวี่ ฉิน
พื้นที่
 • ทั้งหมด188,800 ตร.กม. (72,900 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 12
ความสูงจุดสูงสุด (ยอดเขาเสียวอู่ไถ[1])2,882 เมตร (9,455 ฟุต)
ประชากร
 (พ.ศ. 2559)[2]
 • ทั้งหมด74,700,500 คน
 • อันดับอันดับที่ 6
 • ความหนาแน่น400 คน/ตร.กม. (1,000 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 11
ประชากรศาสตร์
 • ชาติพันธุ์ฮั่น: 96%
แมนจู: 3%
หุย: 0.8%
มองโกล: 0.2%
 • ภาษาและภาษาถิ่นจีนกลางจี้หลู่, จีนกลางปักกิ่ง, จิ้น
รหัส ISO 3166CN-HE
GDP (พ.ศ. 2560)[3]3.60 ล้านล้านเหรินหมินปี้ (อันดับที่ 8)
 • ต่อหัว47,985 เหรินหมินปี้ (อันดับที่ 18)
HDI (2010)0.691[4] (ปานกลาง) (อันดับที่ 16)
เว็บไซต์www.hebei.gov.cn
(อักษรจีนตัวย่อ)
english.hebei.gov.cn (ภาษาอังกฤษ)

มณฑลเหอเป่ย์ (จีน: 河北; พินอิน: Héběi) เป็นมณฑลหนึ่งในภาคเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีน ชื่อย่อของมณฑล คือ "จี้" ( ) ตั้งตามชื่อของมณฑลจี้ หรือจี้โจว ซึ่งเป็นมณฑลในสมัยราชวงศ์ฮั่นที่อยู่บริเวณทางตอนใต้ของมณฑลเหอเป่ย์ในปัจจุบัน คำว่า เหอเป่ย์ เมื่อแปลตรงตัวหมายถึง "ทางเหนือของแม่น้ำ"[5] ตามที่ตั้งของมณฑลที่อยู่ทางทิศเหนือของแม่น้ำเหลือง[6] เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของมณฑล คือ ฉือเจียจวง

เมื่อรัฐบาลกลางยุบมณฑล "จื๋อลี่" ซึ่งมีความหมายว่า "ปกครองโดยตรง[7] (โดยราชสำนัก)" มณฑลจื๋อลี่สมัยใหม่ก็ได้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1911 และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เหอเป่ย์" ในปี ค.ศ. 1928 อีกชื่อหนึ่งของมณฑลเหอเป่ย์คือ เอียนจ้าว (燕趙) ตั้งตามชื่อของรัฐเอียนและรัฐจ้าว ซึ่งอยู่ในยุครณรัฐในประวัติศาสตร์จีนโบราณ

พื้นที่มณฑลเหอเป่ย์ล้อมรอบเทศบาลนครสองแห่ง ได้แก่ ปักกิ่ง และเทียนจิน มีอาณาเขตติดต่อกับมณฑลเหลียวหนิงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เขตปกครองตนเองมองโกเลียในทางทิศเหนือ มณฑลชานซีทางทิศตะวันตก มณฑลเหอหนานทางทิศใต้ มณฑลชานตงทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และทะเลปั๋วไห่ทางทิศตะวันออก และยังมีพื้นที่เล็ก ๆ ที่เป็นดินแดนส่วนแยก ไม่เป็นผืนเดียวกับพื้นที่ส่วนใหญ่ของมณฑล ซึ่งแทรกอยู่กึ่งกลางระหว่างปักกิ่งและเทียนจิน พื้นที่นี้ประกอบด้วย นครซานเหอ, อำเภอปกครองตนเองชนชาติหุย ต้าฉ่าง, และอำเภอเซียงเหอ โดยทั้งสามเป็นเขตการปกครองในนครหลางฝาง

ประชากรในมณฑลมีจำนวนกว่า 74 ล้านคน จึงเป็นมณฑลที่มีประชากรมากเป็นอันดับหกของประเทศจีน ประกอบด้วยชนกลุ่มใหญ่ที่เป็นชาวฮั่น ร้อยละ 96 และชนกลุ่มน้อย ได้แก่ แมนจู หุย และมองโกล

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ภูมิอากาศ

[แก้]

มีสภาพอากาศแบบมรสุมเขตอบอุ่นภาคพื้นทวีป แบ่งเป็น 4 ฤดู ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 300-800 มิลลิเมตร/ปี [8] อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 3-27 องศาเซลเซียส ปี 2004

เขตการปกครอง

[แก้]

มณฑลเหอเป่ย์ประกอบด้วยเขตการปกครองระดับจังหวัดจำนวน 11 แห่ง โดยทั้งหมดมีฐานะเป็นนครระดับจังหวัด

เขตการปกครองระดับจังหวัดทั้ง 11 แห่งนี้ แบ่งออกเป็นเขตการปกครองระดับอำเภอ จำนวน 168 แห่ง (ประกอบด้วย 47 เขต, 21 นครระดับอำเภอ, 94 อำเภอ และ 6 อำเภอปกครองตนเอง) และแบ่งย่อยลงอีกเป็นเขตการปกครองระดับตำบลจำนวน 2,207 แห่ง เมื่อสิ้นปี ค.ศ. 2017 ประชากรทั้งหมดของมณฑลเหอเป่ย์มีจำนวน 75.2 ล้านคน[9]

ประชากร

[แก้]

มีประชากร 68,090,000 คน ความหนาแน่น 363/ก.ม. จีดีพี 876.9 พันล้านเหรินหมินปี้ ต่อประชากร 12,900 ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น

เศรษฐกิจ

[แก้]

มีมูลค่าจีดีพีเท่ากับ 883,690 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 12.9% จีดีพีเฉลี่ยต่อหัว เท่ากับ 13,017 หยวน เพิ่มขึ้น 12.2% อุตสาหกรรมมี 5 ประเภทได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตเวชภัณฑ์ยา หลอมโลหะ วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรกล และผลิตภัณฑ์อาหาร นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมสิ่งทอและอุตสาหกรรมเบาต่าง ๆ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมในท้องถิ่นที่สำคัญ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Liu, Yanlin (2015). 太行山把最高的山脊留在了河北. Chinese National Geography (ภาษาจีนตัวย่อ) (2). สืบค้นเมื่อ 20 May 2018. 小五台山是太行山主脉上的最高峰,同时也是河北省的最高峰
  2. "Communiqué of the National Bureau of Statistics of People's Republic of China on Major Figures of the 2010 Population Census [1] (No. 2)". National Bureau of Statistics of China. 29 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2013. สืบค้นเมื่อ 4 August 2013.
  3. 河北省2017年国民经济和社会发展统计公报 [Statistical Communiqué of Hebei on the 2017 National Economic and Social Development] (ภาษาจีน). Statistical Bureau of Hebei. 2018-02-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-01. สืบค้นเมื่อ 2018-06-22.
  4. 《2013中国人类发展报告》 (PDF) (ภาษาจีน). United Nations Development Programme China. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-11-29. สืบค้นเมื่อ 2014-01-05.
  5. "Yellow bridge Chinese Dictionary". Yellow Bridge. สืบค้นเมื่อ 15 April 2016.
  6. Origin of the Names of China's Provinces เก็บถาวร 2016-04-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, People's Daily Online. (จีน)
  7.  Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "Chih-Li" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 6 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 133.
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-06. สืบค้นเมื่อ 2009-11-13.
  9. [1]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]