ฮามิลตัน (ประเทศนิวซีแลนด์)
ฮามิลตัน | |
---|---|
แถวบน: ภาพทิวทัศน์เมืองฮามิลตันจาก Till's Lookout, แถวกลาง: สะพานจาก Whitiora ไป Fairfield (แถวกลาง ภาพแรก), การจราจรบนทางหลวงสาย SH1 (แถวกลาง ภาพสอง), สวนสาธารณะมาวรี (Māori Garden), สถานีรถไฟฮามิลตัน, แถวล่าง: ศาลาว่าการเมืองฮามิลตัน และ WINTEC | |
Location of the Hamilton Territorial Authority | |
พิกัด: 37°47′S 175°17′E / 37.783°S 175.283°E | |
ประเทศ | นิวซีแลนด์ |
เกาะ | เกาะเหนือ |
ภูมิภาค | ไวกาโต |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | Paula Southgate |
• รองนายกเทศมนตรี | Geoff Taylor |
พื้นที่[1] | |
• อาณาเขต | 110.8 ตร.กม. (42.8 ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 110.37 ตร.กม. (42.61 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 40 เมตร (131 ฟุต) |
ประชากร (มิถุนายน 2024)[2] | |
• อาณาเขต | 192,000 คน |
• ความหนาแน่น | 1,700 คน/ตร.กม. (4,500 คน/ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 192,000 คน |
• ความหนาแน่นเขตเมือง | 1,700 คน/ตร.กม. (4,500 คน/ตร.ไมล์) |
• เดมะนิม | ชาวฮามิลโตเนียน (Hamiltonian) |
เขตเวลา | UTC+12 |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+13 (NZDT) |
Postcode(s) | 3200, 3204, 3206, 3210, 3214, 3216 |
รหัสพื้นที่ | 07 |
เว็บไซต์ | www.hamilton.govt.nz www.waikatoregion.govt.nz |
ฮามิลตัน (อังกฤษ: Hamilton, มาวรี: Kirikiriroa) เป็นเมืองตั้งอยู่ภายในภาคแผ่นดินของเกาะเหนือ ประเทศนิวซีแลนด์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไวกาโต เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในภูมิภาคไวกาโต ด้วยจำนวนประชากร 178,500 คน นับว่าเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสี่ของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 110 ตารางกิโลเมตร (42 ตารางไมล์)[3] ฮามิลตันเป็นส่วนหนึ่งของเขตเมืองฮามิลตัน (Hamilton urban area; เป็นเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นเมืองฮามิลตันที่ขยายรวมถึงเมืองใกล้เคียงของงารัววาเฮีย, เต อาวามูตู และเคมบริดจ์ เทียบได้กับกรุงเทพมหานครและปริมณฑลของไทย) ใน ค.ศ. 2020 ฮามิลตันได้รับรางวัลเมืองใหญ่ที่สวยที่สุดของนิวซีแลนด์[4]
อาณาเขตพื้นที่ที่ปัจจุบันของฮามิลตันครอบคลุมถึงหมู่บ้านชาวเมารีที่ตั้งอยู่มาแต่เดิมหลายแห่ง ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำไวกาโต รวมถึงหมู่บ้านคิริคิริโรอา ซึ่งต่อมาได้เป็นชื่อภาษาเมารีของเมืองเมืองนี้ เมื่อผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอังกฤษมาถึง นำไปสู่เหตุการณ์การรุกรานไวกาโต และการยึดที่ดิน (Raupatu; เราปาตู) โดยเจ้าอาณานิคมอังกฤษ หมู่บ้านชาวเมารีเหล่านี้จึงถูกทิ้งร้างในที่สุด
ในอดีตฮามิลตันเป็นเมืองศูนย์กลางทางด้านเกษตรกรรม ปัจจุบันเป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจที่หลากหลายและเป็นเขตเมืองที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดเป็นอันดับสามของประเทศนิวซีแลนด์ รองจากปูเกโกเฮ และออกแลนด์ [5] ฮามิลตันการ์เดน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของภูมิภาค การศึกษาและการวิจัยและพัฒนา เป็นภาคส่วนที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเมืองฮามิลตัน จำนวนนักศึกษาที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยภายในเมืองฮามิลตันรวมกว่า 40,000 คนและนักวิทยาศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกกว่า 1,000 คน[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Urban Rural 2020 (generalised) - GIS | | GIS Map Data Datafinder Geospatial Statistics | Stats NZ Geographic Data Service". datafinder.stats.govt.nz. สืบค้นเมื่อ 2020-10-25.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNZ_population_data_2018
- ↑ "Hamilton City Council". Internal Affairs. สืบค้นเมื่อ 9 December 2014.
- ↑ "Hamilton and Whanganui tie for most beautiful city in New Zealand". Stuff (ภาษาอังกฤษ). 2020-10-29. สืบค้นเมื่อ 2020-10-30.
- ↑ "Subnational Population Estimates". สืบค้นเมื่อ 23 January 2011.
- ↑ "Hamilton's Economy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 July 2011. สืบค้นเมื่อ 23 January 2011.