ข้ามไปเนื้อหา

มณฑลกุ้ยโจว

พิกัด: 26°50′N 106°50′E / 26.833°N 106.833°E / 26.833; 106.833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Guizhou)
มณฑลกุ้ยโจว

贵州省
การถอดเสียงชื่อมณฑล
 • ภาษาจีนกุ้ยโจวเฉิ่ง (贵州省 Guìzhōu Shěng)
 • อักษรย่อGZ / เฉียน ( Qián) หรือ กุ้ย ( Guì)
น้ำตกหฺวังกั่วชู่ น้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน
น้ำตกหฺวังกั่วชู่ น้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลกุ้ยโจว
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลกุ้ยโจว
พิกัด: 26°50′N 106°50′E / 26.833°N 106.833°E / 26.833; 106.833
ตั้งชื่อจากกุ้ย – ภูเขากุ้ย
โจว – เขตการปกครองในประวัติศาสตร์จีน
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
กุ้ยหยาง
เขตการปกครอง9 จังหวัด, 88 อำเภอ, 1539 ตำบล
การปกครอง
 • เลขาธิการพรรคซุน จื้อกัง (孙志刚)
 • ผู้ว่าราชการเชิ่น อี้ฉิน (谌贻琴)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด176,167 ตร.กม. (68,018 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 16
ความสูงจุดสูงสุด2,900 เมตร (9,500 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2010)[2]
 • ทั้งหมด34,746,468 คน
 • อันดับอันดับที่ 19
 • ความหนาแน่น200 คน/ตร.กม. (510 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 18
ประชากรศาสตร์
 • องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ฮั่น - 62%
ม้ง - 12%
ปู้อี - 8%
ต้ง - 5%
ตูเจีย - 4%
ยี่ - 2%
Gelao - 2%
สุย - 1%
อื่น ๆ - 2%
 • ภาษาและภาษาถิ่นภาษาจีนกลางตะวันตกเฉียงใต้
รหัส ISO 3166CN-GZ
GDP (ค.ศ. 2017 [3])1.35 ล้านล้านเหรินหมินปี้
200.55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 25)
 • ต่อหัว37,956 เหรินหมินปี้
5,622 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 29)
HDI (ค.ศ. 2018)เพิ่มขึ้น 0.680[4]
ปานกลาง · อันดับที่ 29
เว็บไซต์http://www.gzgov.gov.cn
(อักษรจีนตัวย่อ)

มณฑลกุ้ยโจว (จีนตัวย่อ: 贵州省; จีนตัวเต็ม: 貴州省; พินอิน: Guìzhōu Shěng) หรือเดิมไทยเรียกว่า กุยจิว[5] เป็นมณฑลหนึ่งที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของมณฑลคือ กุ้ยหยาง ตั้งอยู่ตอนกลางของมณฑล มณฑลกุ้ยโจวติดต่อกับเขตปกครองตนเองกว่างซีทางทิศใต้ ติดมณฑลยูนนานทางทิศตะวันตก ติดมณฑลเสฉวนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดเทศบาลนครฉงชิ่งทางทิศเหนือ และมณฑลหูหนานทางทิศตะวันออก ประชากรของมณฑลมีประมาณ 34 ล้านคน เป็นมณฑลที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 19 ของประเทศจีน

พื้นที่ของมณฑลกุ้ยโจวเดิมเป็นที่ตั้งของอาณาจักรเตียน โดยต่อมาอาณาจักรเตียนได้ถูกผนวกเข้ากับแผ่นดินราชวงศ์ฮั่นเมื่อ 106 ปีก่อนคริสตกาล[6] มณฑลกุ้ยโจวได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1413 ในสมัยราชวงศ์หมิง หลังจากการโค่นล้มราชวงศ์ชิงในปี ค.ศ. 1911 และมาตามด้วยการเกิดสงครามกลางเมืองจีน พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนได้เข้าลี้ภัยในมณฑลกุ้ยโจวระหว่างการเดินทัพทางไกลในช่วงปี ค.ศ. 1934 และ 1935[7] และหลังจากการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน เหมา เจ๋อตงได้ส่งเสริมการย้ายอุตสาหกรรมหนักเข้ามายังมณฑลภายในประเทศดังเช่นมณฑลกุ้ยโจว เพื่อป้องกันการโจมตีจากโซเวียตและอเมริกา

เมื่อเทียบกับมณฑลอื่น ๆ ในประเทศจีน มณฑลกุ้ยโจวไม่ได้รับประโยชน์มากนักจากการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน มณฑลกุ้ยโจวอุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรม อุตสาหกรรมที่เป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจในมณฑล ได้แก่ อุตสาหกรรมป่าไม้ อุตสาหกรรมพลังงาน และการทำเหมืองแร่ แต่ถึงกระนั้น มณฑลกุ้ยโจวก็ยังถือว่าเป็นมณฑลที่ค่อนข้างยากจนและเศรษฐกิจยังไม่พัฒนา โดยมีจีดีพีต่อหัวต่ำเป็นอันดับสามในประเทศจีน นำหน้าเพียงมณฑลกานซู และมณฑลยูนนานที่ตั้งอยู่ติดกัน อย่างไรก็ตาม มณฑลกุ้ยโจวนั้นเป็นหนึ่งในมณฑลที่เศรษฐกิจเติบโตเร็วที่สุดในประเทศจีน[8] โดยรัฐบาลจีนกำลังมุ่งพัฒนากุ้ยโจวเพื่อให้เป็นศูนย์กลางด้านข้อมูล (data hub)[9][10]

มณฑลกุ้ยโจวตั้งอยู่บนส่วนตะวันออกของที่ราบสูงยฺหวินกุ้ย มีลักษณะภูมิประเทศเต็มไปด้วยภูเขา โดยทางตะวันตกและตอนกลางเป็นที่สูง ในด้านประชากรศาสตร์ กุ้ยโจวเป็นหนึ่งในมณฑลที่มีความหลากหลายมากที่สุดในประเทศจีน โดยมีประชากรชนกลุ่มน้อยมากกว่าร้อยละ 37 ของประชากรทั้งหมด ประกอบด้วย ม้ง, ปู้อี, ต้ง, ตูเจีย และ Yi ซึ่งพูดภาษาที่แตกต่างจากภาษาจีน ภาษาหลักที่ใช้พูดในมณฑลกุ้ยโจว คือ ภาษาจีนกลางตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นภาษาถิ่นหนึ่งของภาษาจีนกลาง

ภูมิประเทศ

[แก้]

ภูมิประเทศเป็นแบบเทือกเขาสูงโดยเฉพาะด้านตะวันตก ส่วนด้านตะวันออกและใต้พื้นที่ค่อนข้างราบ สูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,000 เมตร

ภูมิอากาศ

[แก้]

อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 14 - 16 องศาเซลเซียส เดือนมกราคม อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 4 - 9 องศา เดือนกรกฎาคมอุณหภูมิเฉลี่ย 20 - 28 องศา

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

มณฑลกุ้ยโจวแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 นครระดับจังหวัด (市) 7 นครระดับอำเภอ (市) 56 อำเภอ (县) 13 เขต (区) และ 11 อำเภอปกครองตนเอง (自治县)

เมืองกุ้ยหยาง (贵阳市)
ประเภท ชื่อ
เขต อูตัง (乌当区) หนานหมิง (南明区) หยุนเหยียน (云岩区) ฮัวซี (花溪区) ไป๋หยุน (白云区) กวนซานหู (观山胡区)
เมือง ชิงเจิ้น (清镇市)
อำเภอ ไคหยาง (开阳县) ซิวเหวิน (修文县) ซีเฟิง (息烽县)
เมืองลิ่วเผียนฉุ่ย (六盘水市)
เขต จงชาน (钟山区) เขตพิเศษหลิ่วจือ (六枝特区)
อำเภอ เผียน (盘县) ฉุ่ยเฉิง (水城县)
เมืองซุนอี้ (遵义市)
เขต หงฮัวกั่ง (红花岗区) หุ้ยชวน (汇川区)
เมือง ชื่อฉุ่ย (赤水市) เหรินหวย (仁怀市)
อำเภอ ซุนอี้ (遵义县) ถงจื่อ (桐梓县) สุยหยาง (绥阳县) เจิ้งอัน (正安县) เฝิ้งกัง (凤冈县) เหมยถาน (湄潭县) หยูชิ่ง (余庆县) สีฉุ่ย (习水县)
เขตปกครองตนเอง ชนชาติม้งและเกอเหล่า เต้าเจิน (道真仡佬族苗族自治县) ชนชาติม้งและเกอเหล่า อู้ชวน (务川仡佬族苗族自治县)
เมืองอันชุ่น (安顺市)
เขต ซีซิ่ว (西秀区) ผิงป้า (平坝区)
อำเภอ ผู่ติ้ง (普定县)
เขตปกครองตนเอง ชนชาติม้งและปู้ยี กวนหลิ่ง (关岭布依族苗族自治县) ชนชาติม้งและปู้ยี เจิ้นหนิง (镇宁布依族苗族自治县) ชนชาติม้งและปู้ยี สื่อหยุน (紫云苗族布依族自治县)
เมืองปี้เจี๋ย (毕节市)
เขต ชีชิงกวน (七星关区)
อำเภอ ต้าฟัง (大方县) เฉียนซี (黔西县) จินชา (金沙县) จือจิน (织金县) น่ายง (纳雍县) เห้อจัง (赫章县)
เขตปกครองตนเอง ชนชาติม้ง หุย และยี้ เวยหนิง (威宁彝族回族苗族自治县)
เมืองถงเหริน (铜仁市)
เขต ปี้เจียง (碧江区) เวิ่นซาน (万山区)
อำเภอ เจียงโข่ว (江口县) ฉือเชียน (石阡县) ซือหนาน (思南县) เต๋อเจียง (德江县)
เขตปกครองตนเอง ชนชาติต้ง ยู่ผิง (玉屏侗族自治县) ชนชาติตู่เจีย เหยียนเหอ (沿河土家族自治县) ชนชาติม้ง สงเถา (松桃苗族自治县)
เขตปกครองตนเองชนชาติม้ง เฉียนตงหนาน (黔东南苗族侗族自治州)
เมือง ก๋าหลี่ (凯里市)
อำเภอ หวงผิง (黄平县) ชือปิ่ง (施秉县) ซานสุ้ย (三穗县) เจิ้นหย่วน (镇远县) เฉินก่ง (岑巩县) เทียนจู้ (天柱县) จิ่นผิง (锦屏县) เจี้ยนเหอ (剑河县) ไถเจียง (台江县) หลีผิง (黎平县) หลงเจียง (榕江县) ฉงเจียง (从江县) เหลยซาน (雷山县) หมาเจียง (麻江县) ตานไจ้ (丹寨县)
เขตปกครองตนเองชนชาติม้งและปู้ยี เฉียนหนาน (黔南布依族苗族自治州)
เมือง ตูหยุน (都匀市) ฝูฉวน (福泉市)
อำเภอ ลี่โป (荔波县) กุ้ยติ้ง (贵定县) เหวิ้งอัน (瓮安县) ตู๋ซาน (独山县) ผิงถัง (平塘县) หลัวเตี้ยน (罗甸县) ฉางชุ่น (长顺县) หลงหลี่ (龙里县) หุยฉุ่ย (惠水县)
เขตปกครองตนเอง ชนชาติฉุ่ย ซันตู (三都水族自治县)
เขตปกครองตนเองชนชาติม้งและปู้ยี เฉียนซีหนาน (黔西南布依族苗族自治州)
เมือง ชิงยี่ (兴义市)
อำเภอ ชิงเหริน (兴仁县) ปู่อัน (普安县) ฉิงหลง (晴隆县) เจินเฟิง (贞丰县) วั่งหมอ (望谟县) เซ่อเหิง (册亨县) อันหลง (安龙县)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Doing Business in China - Survey". Ministry Of Commerce - People's Republic Of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 5 August 2013.
  2. "Communiqué of the National Bureau of Statistics of People's Republic of China on Major Figures of the 2010 Population Census [1] (No. 2)". National Bureau of Statistics of China. 29 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2013. สืบค้นเมื่อ 4 August 2013.
  3. 贵州省2017年国民经济和社会发展统计公报 [Statistical Communiqué of Guizhou Province on the 2017 National Economic and Social Development] (ภาษาจีน). Statistical Bureau of Guizhou. 2018-04-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-22. สืบค้นเมื่อ 2018-06-22.
  4. "Sub-national HDI - Subnational HDI - Global Data Lab". globaldatalab.org. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-10-20. สืบค้นเมื่อ 2018-03-12.
  6. Shennan, Stephen (1989). Archaeological approaches to cultural identity (illustrated ed.). Unwin Hyman. ISBN 0-04-445016-8.
  7. Maygew, Bradley; Miller, Korina; English, Alex (2002). "Facts about South-West China - History". South-West China (2 ed.). Lonely Planet. pp. 16–20, 24.
  8. 董志成. "Guizhou takes the green road to growth - Chinadaily.com.cn". www.chinadaily.com.cn. สืบค้นเมื่อ 2019-06-12.
  9. "How the trade war could impact China's big data hub Guizhou". EJ Insight (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-05-14. สืบค้นเมื่อ 2019-06-12.
  10. "Huawei, Guizhou to deepen partnership in big data area--China Economic Net". en.ce.cn. สืบค้นเมื่อ 2019-06-12.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]