Grewia
บทความเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนี้มีชื่อบทความเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ เนื่องจากไม่มีชื่อสามัญเป็นภาษาไทย |
Grewia | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Tracheophytes |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Malvales |
วงศ์: | Malvaceae |
วงศ์ย่อย: | Grewioideae |
สกุล: | Grewia L. |
สปีชีส์ | |
มายมาย | |
ชื่อพ้อง | |
|
Grewia /ˈɡruːiə/ เป็นสกุลใหญ่ของพืชดอกในวงศ์ชบา ก่อนหน้านี้ Grewia ถูกจัดอยู่ในวงศ์ Tiliaceae หรือ Sparrmanniaceae อย่างไรก็ตาม ทั้งสองวงศ์นี้ไม่ใช่วงศ์เดียวกันเมื่อเทียบกับอันดับชบาอื่น ๆ ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการจัดกลุ่ม สกุล Grewia และสกุลที่คล้ายคลึงกันจึงถูกรวมเข้าในวงศ์ชบา ก่อนหน้านี้ที่สกุล Grewia รวมกับวงศ์ Sparrmanniaceae ถูกจัดอยู่ในวงศ์ย่อย Grewioideae และอยู่ในเผ่า Grewieae ซึ่งเป็นสกุลย่อย[2]
คอล ฟ็อน ลินเนีย ตั้งชื่อสกุลนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่ เนเฮเมียห์ กรูว์ (1641-1712) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ กรูว์เป็นนักกายวิภาคศาสตร์ และ นักวิจัยจุลทรรศนศาสตร์ชั้นนำคนหนึ่งในยุคนั้น การศึกษาเกี่ยวกับละอองเรณูของเขา เป็นรากฐานสำหรับการศึกษาด้านเรณูวิทยาในปัจจุบัน
นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
[แก้]หนอนผีเสื้อหลายชนิดกิน Grewia เป็นอาหาร แตนเบียน Aprostocetus psyllidis มักพบในต้นมาลัย
พืชหลายชนิด เช่น มาลัย ขึ้นชื่อในเรื่องผลที่กินได้ มีความสำคัญทางการค้าในท้องถิ่น มีรสฝาดและสดชื่น เป็นที่นิยมโดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน เป็นยาพื้นบ้านซึ่งเชื่อว่าสามารถรักษาอาการปวดท้อง และการติดเชื้อผิวหนังและลำไส้ได้ และดูเหมือนจะมีคุณสมบัติเป็นยาปฏิชีวนะอ่อน ๆ เชื่อกันว่าต้น G. mollis มีสารแอลคาลอยด์[3] กระนั้นสารประกอบดังกล่าวจะเกิดขึ้นในสายพันธุ์อื่นด้วยหรือไม่ และผลิตออกมาในปริมาณมากพอที่จะทำให้พืชมีฤทธิ์ทางจิตด้วยหรือไม่ ยังไม่มีการศึกษาอย่างละเอียด
ในประเทศพม่า เปลือกของต้น Grewia polygama (พม่า: တရော်) หรือ Grewia eriocarpa (พม่า: ပင်တရော်) ผสมกับผลส้มป่อย และบางครั้งผสมกับมะนาวหรือมะกรูด เป็นยาสระผมแบบดั้งเดิม หรือ ตะยอ กีนบู้น[4] ซึ่งยังคงใช้กันอย่างแพร่หลายโดยชาวพม่า และมักขายในตลาดกลางแจ้ง โดยทั่วไปบรรจุในถุงพลาสติก[5][6]
นักสำรวจ ลุดวิก ไลค์ฮาร์ดท์ บรรยายถึงการเตรียมเครื่องดื่มที่สดชื่นจากเมล็ด G. polygama พืชสายพันธุ์พื้นเมืองของออสเตรเลีย[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Hinsley (2008a)
- ↑ Heywood et al. (2007)
- ↑ Brown (2001)
- ↑ Yadu (31 August 2019). "မှေးမှိန်လာနေတဲ့ တရော်ကင်ပွန်းသုံးစွဲခြင်း အလေ့အထ". The Myanmar Times (ภาษาพม่า). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2 August 2022.
- ↑ "Myanmar Shampoo". www.myanmars.net (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 13 November 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2022. สืบค้นเมื่อ 2 August 2022.
- ↑ "Yan Win (Taung Da Gar) – Myanmar Shampoo". THIT HTOO LWIN (Daily News) (ภาษาพม่า). 16 April 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2019. สืบค้นเมื่อ 2 August 2022.
- ↑ Maiden, Joseph H. (1889). The useful native plants of Australia : Including Tasmania. Turner and Henderson, Sydney. p. 34.
- Brown, Dan (2001): Angiosperm Families Containing Beta-Carbolines. Version of 2001-OCT-04. Retrieved 2008-JUN-25.
- Heywood, V.H.; Brummitt, R.K.; Culham, A. & Seberg, O. (2007): Flowering Plant Families of the World. Firefly Books, Richmond Hill, Ontario, Canada. ISBN 1-55407-206-9
- Hinsley, Stewart R. (2008a): Partial Synonymy of Grewia. Retrieved 2008-JUN-25.
- Hinsley, Stewart R. (2008b): Partial Synonymy of Dombeya. Retrieved 2008-JUN-25.
- United States Department of Agriculture (USDA) (2007a): Germplasm Resources Information Network - Grewia. Retrieved 2008-JUN-25.
- United States Department of Agriculture (USDA) (2007b): USDA Plants Profile: Grewia. Retrieved 2008-JUN-25.
- Dressler, S.; Schmidt, M. & Zizka, G. (2014). "Grewia". African plants – a Photo Guide. Frankfurt/Main: Forschungsinstitut Senckenberg.