แกรนด์ดัชเชสอะนัสตาซียา นีคะลายีฟนา แห่งรัสเซีย
แกรนด์ดัชเชสอะนัสตาซียา นีคะลายีฟนา | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระรูป ป. 1914 | |||||
ประสูติ | 18 มิถุนายน [ตามปฎิทินเก่า: 5 มิถุนายน] ค.ศ. 1901 พระราชวังเปเตียร์กอฟ, เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก, รัสเซียยุโรป, รัสเซีย | ||||
สิ้นพระชนม์ | 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1918 พระตำหนักอิปาเตียฟ, เยคาเตรินบุร์ก, รัสเซีย | (17 ปี)||||
ฝังพระศพ | 17 กรกฎาคม 2541 มหาวิหารเปโตรและเปาโล, เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก, สหพันธรัฐรัสเซีย | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | ฮ็อลชไตน์-ก็อทตาร์ฟ-โรมานอฟ | ||||
พระบิดา | จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย | ||||
พระมารดา | อาลิกซ์แห่งเฮ็สเซิน | ||||
ลายพระอภิไธย |
แกรนด์ดัชเชสอะนัสตาซียา นีคะลายีฟนาแห่งรัสเซีย[ก] (รัสเซีย: Великая Княжна Анастасия Николаевна Романова, อักษรโรมัน: Anastasiya Nikolayevna Romanova; 18 มิถุนายน [ตามปฎิทินเก่า: 5 มิถุนายน] ค.ศ. 1901 – 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1918), หรือมักเรียกสั้น ๆ ตามสำเนียงรัสเซียว่า อะนัสตาซียา[ข] (Anastasia, เสียงอ่านภาษารัสเซีย: /ʌnʌˈstɑsyɪyə/) หรือตามสำเนียงอังกฤษว่า แอเนิสเตชา (Anastasia, เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˌænəˈsteɪʒə/), เป็นพระราชธิดาพระองค์สุดท้องของจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย กับจักรพรรดินีอะเลคซันดรา เฟโอโดรอฟนา แห่งรัสเซีย
อะนัสตาซียาและสมาชิกคนอื่น ๆ ในพระราชวงศ์ทรงถูกบอลเชวิก ปลงพระชนม์พร้อมกันที่ถูกปลงพระชนม์ในห้องใต้ดินของบ้านอิปาเตียฟ ย่านเยคาเตรินบุร์ก เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1918 ทว่า ข้อเท็จจริงที่ว่า ฝ่ายคอมมิวนิสต์ค้นไม่พบที่ฝังพระศพของอะนัสตาซียานั้น ทำให้มีข่าวลือว่าพระองค์อาจทรงรอดพ้นมรณภัยและหลบหนีมาได้ เสียงลือเสียงเล่าอ้างนี้แพร่ทั่วไป และมิได้รับการพิสูจน์ จนกระทั่งเดือนมกราคม ค.ศ. 2008 นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียว่า ได้พบซากศพตอตะโกสองร่าง เป็นร่างเด็กชายหนึ่ง และเด็กหญิงอีกหนึ่ง เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2007 ในถิ่นแถวใกล้เคียงย่านเยคาเตรินบุร์ก ครั้นวันที่ 30 เมษายนปีต่อมา นักนีติวิทยาศาสตร์รัสเซียยืนยันว่า ร่างทั้งสองนั้นเป็นพระศพพระโอรส (อะเลคเซย์ นีโคลาเยวิช) และพระธิดาที่เคยค้นหากันไม่เจอ[1] กระทั่งเดือนมีนาคมปีต่อมา ไมเคิล คอเบิล อาจารย์ประจำศูนย์ปฏิบัติการพิสูจน์เอกลักษณ์ทางดีเอ็นเอแห่งกองทัพสหรัฐอเมริกา แถลงว่า ผลการทดสอบทางพันธุกรรมชั้นสุดท้ายพิสูจน์ว่า หนึ่งในร่างทั้งสองที่พบนั้นเป็นอะนัสตาซียา และเป็นอันยุติว่า ไม่มีผู้ใดรอดจากการถูกปลงพระชนม์[2]
ทั้งนี้ ในระหว่างที่ยังไม่มีการพิสูจน์ยืนยันเช่นว่านั้น มีสตรีหลายนางอ้างตัวว่าเป็นอะนัสตาซียาผู้ทรงเร้นรอดมาได้ ในจำนวนผู้อ้างนี้ แอนนา แอนเดอร์สัน มีชื่อเสียงมากกว่าใครเพื่อน อย่างไรก็ดี ผลการทดสอบทางพันธุกรรมเมื่อปี ค.ศ. 1994 ปรากฏว่า ไม่มีสิ่งใดในร่างกายของแอนเดอร์สันเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมกับราชวงศ์โรมานอฟ เลย[3]
เชิงอรรถ
[แก้]ก. ^ ราชบัณฑิตยสถานเขียนว่า "อะนัสตาซียา นีโคลาเยฟนา" ดู สัญชัย สุวังบุตร (2547). ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม และคณะ (บ.ก.). สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: ยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (pdf). Vol. 1 (อักษร A-B) (3 ed.). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. p. 50. ISBN 974-9588-25-8. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2555.
ข. ^ ราชบัณฑิตยสถานเขียนว่า "อะนัสตาเซีย" ดู สัญชัย สุวังบุตร (2547). ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม และคณะ (บ.ก.). สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: ยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (pdf). Vol. 1 (อักษร A-B) (3 ed.). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. p. 36. ISBN 974-9588-25-8. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2555.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "DNA Confirms Remains Of Czar's Children". CBS News. February 11, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-29. สืบค้นเมื่อ 2011-09-08.
- ↑ "Mystery Solved: The Identification of the Two Missing Romanov Children Using DNA Analysis". Plos One. doi:10.1371/journal.pone.0004838. สืบค้นเมื่อ 2009-05-05.
- ↑ Massie (1995), pp. 194–229