กีกาแฟ็กตอรีนิวยอร์ก
ทางเข้าโรงงานกีกาแฟ็กตอรีนิวยอร์ก | |
ก่อตั้ง | 2014–2017 |
---|---|
ดำเนินการ | สิงหาคม ค.ศ. 2017 |
ที่ตั้ง | เมืองบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา |
พิกัด | 42°51′32″N 78°50′24″W / 42.859°N 78.840°W |
อุตสาหกรรม | |
ผลิตภัณฑ์ | |
พนักงาน | 1,500 คน (2020)[1] |
พื้นที่ | พื้นที่ชั้น: 1,200,000 sq ft (110,000 m2)[2] |
ที่ตั้ง | 1339 เซาต์พาร์กอีฟ |
เจ้าของ | รัฐนิวยอร์ก |
เว็บไซต์ | tesla |
กีกาแฟ็กตอรีนิวยอร์ก (อังกฤษ: Gigafactory New York) (หรือเรียกอีกชื่อว่า Giga New York หรือ Gigafactory 2)[3] เป็นโรงงานที่บริษัทเทสลาเช่าดำเนินการในย่านวิเวอร์เบนด์ของเมืองบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ก โรงงานแห่งนี้เป็นทรัพย์สินของรัฐนิวยอร์กและถูกสร้างขึ้นบนพื้นที่สีน้ำตาล (brownfield land) ที่ได้รับการฟื้นฟูจากพื้นที่ของโรงถลุงเหล็กเก่า การก่อสร้างเริ่มในปี ค.ศ. 2014 และแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 2017 โรงงานนี้ผลิตเทสลาโซลาร์รูฟและเทสลาซูเปอร์ชาร์จเจอร์ นอกจากนี้ เทสลายังมีทีมวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับซอฟต์แวร์ออโตไพลอตของบริษัทปฏิบัติงานที่นี่
โรงงานแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ "Buffalo Billion" ของผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก แอนดรูว์ คูโอโม ที่มีเป้าหมายลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเขตพื้นที่บัฟฟาโล ในปี ค.ศ. 2013 คูโอโมประกาศว่าโรงงานนี้จะถูกใช้โดยผู้ผลิตไฟส่องสว่าง Soraa และผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์ Silevo ต่อมาในปี ค.ศ. 2014 โซลาร์ซิตี้ได้ซื้อกิจการ Silevo และในปี ค.ศ. 2016 เทสลาก็เข้าซื้อกิจการ SolarCity บริษัทประกาศแผนการขยายกิจการและการจ้างงานที่โรงงานนี้ ส่งผลให้ Soraa ต้องออกจากพื้นที่โรงงาน นอกจากนี้ รัฐนิวยอร์กยังเพิ่มเงินลงทุนในโรงงานเป็น 959 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โรงงานนี้ถูกวิจารณ์ว่ามีประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่ำเมื่อเทียบกับเงินสนับสนุนจำนวนมากที่รัฐมอบให้
ระหว่างปี ค.ศ. 2017 ถึง 2020 พานาโซนิค ซึ่งเป็นพันธมิตรของเทสลาได้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์ในโรงงานนี้ และช่วยเทสลาเริ่มการผลิตกระเบื้องหลังคาโซลาร์เซลล์ อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์โซลารูฟกลับประสบปัญหาในกระบวนการผลิต พานาโซนิคจึงตัดสินใจถอนตัวจากธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ในปี ค.ศ. 2020 ในปีเดียวกัน เทสลาได้เริ่มผลิตซูเปอร์ชาร์จเจอร์และเพิ่มงานด้านการติดป้ายข้อมูลสำหรับออโตไพลอตที่โรงงาน พร้อมทั้งเพิ่มจำนวนพนักงานจนสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขการสร้างงานที่รัฐนิวยอร์กกำหนด ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2024 เป็นต้นไป เทสลายังได้เริ่มผลิตฮาร์ดแวร์สำหรับซูเปอร์คอมพิวเตอร์โดโจที่โรงงานแห่งนี้อีกด้วย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Hanley, Steve (February 28, 2020). "Tesla Now Has 1,800 Employees In New York, Panasonic Quits Gigafactory 2 In Buffalo (The Solar One)". Clean Technica. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 19, 2020.
- ↑ "Tesla GigaFactory 2". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 22, 2021. สืบค้นเมื่อ October 12, 2021.
- ↑ Musk, Elon [@elonmusk] (January 25, 2020). "Going with nomenclature of Giga [most widely understood location name] vs Giga #, so Giga Shanghai, Giga Nevada, Giga New York & Giga Berlin" (ทวีต). สืบค้นเมื่อ January 26, 2020 – โดยทาง ทวิตเตอร์.