ฟอราเมน แมกนัม
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ฟอราเมน แมกนัม (Foramen magnum) | |
---|---|
กระดูกท้ายทอย มุมมองจากด้านใน | |
ตัวระบุ | |
MeSH | D005539 |
TA98 | A02.1.04.002 |
TA2 | 553 |
FMA | 75306 |
ศัพท์ทางกายวิภาคของกระดูก |
ฟอราเมน แมกนัม(Foramen Magnum, มาจากภาษาละติน แปลว่า รูขนาดใหญ่) ในทางกายวิภาคศาสตร์ เป็นช่องเปิดขนาดใหญ่รูปวงรีที่อยู่ที่ฐานของกะโหลกศีรษะ บนกระดูกท้ายทอย (อังกฤษ: Occipital Bone) ซึ่งเป็นทางผ่านของเมดัลลา ออบลองกาตา (อังกฤษ: Medulla Oblongata) ซึ่งติดต่อกับไขสันหลัง[ต้องการอ้างอิง]
นอกจากช่องนี้จะเป็นทางผ่านของเมดัลลา ออบลองกาตาแล้ว ยังเป็นทางผ่านของหลอดเลือดแดงเวอร์ทีบรัล (อังกฤษ: Vertebral Arteries) , หลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์สไปนัล (อังกฤษ: Anterior Spinal Artery) , และหลอดเลือดแดงโพสทีเรียร์สไปนัล (อังกฤษ: Posterior Spinal Artery) , เยื่อคลุม (อังกฤษ: Membrana Tectoria) และเอ็นเอลาร์ (อังกฤษ: Alar Ligaments)
ความสำคัญ
[แก้]ในมนุษย์ ช่องฟอราเมน แมกนัมจะอยู่ต่ำกว่าในเอปชนิดอื่นๆ ดังนั้นกล้ามเนื้อคอของมนุษย์จึงไม่ต้องมีความแข็งแรงมากเพื่อพยุงให้คอตั้งขึ้น การเปรียบเทียบตำแหน่งของช่องฟอราเมน แมกนัมในสิ่งมีชีวิตพวกโฮโมนิดจึงมีความสำคัญในการประเมินว่าลิงแต่ละชนิดจะมีความสะดวกในการเดิน 2 ข้างมากกว่า 4 ขาหรือไม่
ช่องฟอราเมน แมกนัมเป็นเขตแดนระหว่างสมองที่อยู่ด้านบน และไขสันหลังซึ่งอยู่ด้านล่าง
ภาพอื่นๆ
[แก้]-
กระดูกท้ายทอย มุมมองจากด้านนอก
-
มุมมองด้านล่างของฐานกะโหลกศีรษะ
-
ฐานของกะโหลกศีรษะ พื้นผิวด้านบน
-
เยื่อดูราของสมองมนุษย์
ดูเพิ่ม
[แก้]- แอ่งกะโหลกหลัง (Posterior cranial fossa)
- รูของกะโหลกศีรษะ (Foramina of the skull)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- SUNY Figs 22:4b-10
- Norman/Georgetown cranialnerves (XI)
- Roche Lexicon - illustrated navigator, at Elsevier 34257.000-1