การบันทึกภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
การบันทึกภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง[1] หรือ การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (อังกฤษ: echocardiography) เป็นวิธีการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค พยากรณ์โรค ตรวจหาความรุนแรงและเพื่อติดตามผลการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงซึ่งออกมาจากผนึกแร่ชนิดพิเศษส่งผ่านหัวตรวจ คลื่นเสียงจะถูกสะท้อนกลับสู่หัวตรวจและแปลเป็นสัญญาณภาพผ่านหน้าจอให้เห็นได้ตลอดเวลาขณะตรวจ ซึ่งสามารถเห็นขนาดรูปร่างของหัวใจ ลิ้นหัวใจ รวมทั้งหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ออกจากหัวใจด้วย
ลักษณะการตรวจ เจ้าหน้าที่จะให้ผู้ตรวจนอนบนเตียงราบ ตะแคงไปทางด้านซ้ายเล็กน้อย มือซ้ายพาดขึ้นบน และเปิดส่วนของเสื้อผ้าบริเวณหน้าอก และจะทำการติดแผ่นขั้วคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 3 จุด บริเวณไหล่ทั้ง 2 ข้าง และบริเวณท้องอีก 1 จุด ทั้งนี้การตรวจผ่านผนังทรวงอกด้านหน้า ไม่มีอันตรายต่อผู้รับการตรวจ
ประโยชน์
[แก้]ทำให้ได้ข้อมูลขนาดของหัวใจห้องต่างๆ วัดเปอร์เซ็นต์การบีบตัวของหัวใจ วัดความเร็วและแรงดันที่จุดต่างๆ ในหัวใจ และสามารถตรวจวิเคราะห์โรคหัวใจชนิดต่างๆ ได้แก่
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
- โรคลิ้นหัวใจผิดปกติทั้งชนิดลิ้นหัวใจรั่วและตีบ
- โรคที่เกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ
การตรวจด้วยเครื่องมือนี้ยังสามารถใช้ประเมินอัตราเสี่ยงของผู้ป่วยโรคหัวใจในกรณีที่จำเป็นต้องเข้ารับบริการผ่าตัดโรคที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะอื่นที่ไม่ใช่หัวใจด้วย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกข้อมูลวันที่ 3 กพ. 2553.