ทคฑูเศฐะหลวาอีคณปตีมนเทียร
ศรีมันตะ ทคฑูเศฐะ หลวาอี คณปตีมนเทียร | |
---|---|
श्रीमंत दगडूशेठ हलवाई गणपती मंदिर | |
ด้านนอกของมนเทียร | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาฮินดู |
เขต | อำเภอปูเณ |
เทพ | พระคณบดี |
หน่วยงานกำกับดูแล | ศรีมันตะ ทคฑูเศฐะ หลวาลี สรรวชนิก คณปตี ทรัสต์ |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | ปูเณ |
รัฐ | รัฐมหาราษฏระ |
ประเทศ | ประเทศอินเดีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 18°30′59″N 73°51′22″E / 18.51639°N 73.85611°E |
เว็บไซต์ | |
http://www.dagdushethganpati.com/ |
ศรีมันตะ ทคฑูเศฐะ หลวาอี คณปตีมนเทียร (มราฐี: श्रीमंत दगडूशेठ हलवाई गणपती; Shreemant Dagadusheth Halwai Ganapati) เป็นมนเทียรในเมืองปูเณสร้างขึ้นเพื่อบูชาพระคณบดี และเป็นหนึ่งในโบสถ์พราหมณ์ที่มีผู้เดินทางมาสักการะมากที่สุดในรัฐมหาราษฏระ ด้วยผู้เดินทางมาสักการะมากกว่าหลักแสนคนทุกปี[1][2] ผู้สรัทธาต่อมนเทียรนี้อย่างมากมีทั้งบุคคลมีชื่อเสียงและมุขยมนตรีแห่งรัฐมหาราษฏระผู้เดินทางมาเข้าร่วมเทศกาลประจำปีความยาวสิบวัน คเณโศตสัพ (Ganeshotsav)[3] คณะกรรมการของมนเทียรได้ขึ้นทะเบียนเทวรูปพระคณบดีองค์ประธานของมนเทียรด้วยมูลค่าประกัน ₹10 million (140,000 US$)[4] และมนเทียรฉลองอายุเทวรูปครบรอบ 125 ปีไปเมื่อปี 2017[5]
ชื่อของมนเทียรมาจากศรีมันตะ ทคฑูเศฐะ หลวาอี (Shrimant Dagadusheth Halwai)[6] พ่อค้าและหลวาอี (นักทำขนมหวานในภาษามราฐี) ลัทธิลิงคายัต ผู้เดินทางมาจากนันทาคาว (Nandgaon) และมาตั้งรกรากอยู่ในปูเณ ทำธุรกิจขนมหวานจนร่ำรวยและประสบความสำเร็จ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Zore, Prasanna D (1997). "Pune's Dagedu Sheth Halwai dresses up for Ganeshotsva". Rediff. สืบค้นเมื่อ 4 December 2008.
- ↑ Zelliot, Eleanor; Maxine Berntsen (1988). The Experience of Hinduism: Essays on Religion in Maharashtra. SUNY Press. p. 104. ISBN 978-0-88706-664-1.
- ↑ Rabade, Parag (9 July 2007). "Pune leads the community". Deccan Herald. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 November 2008. สืบค้นเมื่อ 4 December 2008.
- ↑ "Ganesh clears obstacles for women reciting Atharvasheersha". Hindustan Times. 4 กันยายน 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 May 2012. สืบค้นเมื่อ 5 December 2008.
- ↑ Dagadusheth Halwai Ganapati Temple
- ↑ Kaka Halwai Website