ข้ามไปเนื้อหา

เลณยาทรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมู่ถ้ำเลนยาทรี

เลณยาทรี (มราฐี: लेण्याद्री, Leṇyādri; Lenyadri) หรือบางครั้งเรียกว่า ถ้ำคเณศเลณ (Ganesa Lena), คเณศปหร์ (Ganesh Pahar) หรือ ถ้ำสุเลมาน (Suleman Caves) เป็นหมู่ถ้ำเจาะหินกว่า 30 แห่งในศาสนาพุทธ ตั้งอยู่ 5 กิโลเมตรทางเหนือของชุนนร (Junnar) ในอำเภอปูเน รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย ถ้ำอื่น ๆ ที่รายล้อมเมืองชุนนรได้แก่ถ้ำมนโมที (Manmodi Caves), ถ้ำศิวเนรี (Shivneri Caves) และ ถ้ำตุลชา (Tulja Caves)

ถ้ำหมายเลข 7 ดั้งเดิมแล้วเป็นเป็นวิหารในศาสนาพุทธได้กลายเป็นโบสถ์พราหมณ์ที่บูชาพระพิฆเนศ และเป็นหนึ่งในแปดโบสถ์พระคเณศอันยิ่งใหญ่ อัษฏวินายก ถ้ำจำนวน 26 ถ้ำมีการระบุตัวเลข เรียงจากตะวันออกไปตะวันตก โดยที่ทุกถ้ำหันหน้าออกไปทางทิศใต้[1][2][3] ถ้ำหมายเลข 6 และ 14 เป็นเจดียคฤห์ (chaitya-griha - ที่ประกอบพิธีกรรม) ส่วนที่เหลือเป็นวิหาร (vihara - กุฏิสงฆ์)[1][2][3]

ถ้ำต่าง ๆ สร้างขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 1-3 โดยมนเทียรของพระคเณศในถ้ำหมายเลข 7 สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 1[1][4] ทุกถ้ำล้วนมีรากฐานมาจากศาสนาพุทธหินยาน และไม่ทราบชัดเจนว่าวิหารพุทธในถ้ำ 7 กลายเป็นโบสถ์พราหมณ์ตั้งแต่เมื่อใด[1]

ชื่อ

[แก้]

"เลณยาทรี" (Lenyadri) แปลตรงตัวว่า "ถ้ำเขา" ("mountain cave") มาจากภาษามราฐี คำว่า 'เลณ' ('Lena') แปลว่าถ้ำ และ 'อทรี' ('Adri') ในภาษาสันสกฤต แปลว่า "เขา" หรือ "หิน"[5] พบชื่อของเลณยาทรีอยู่ในทั้งคัมภีร์คเณศปุราณะและสถลปุราณะ (Sthala Purana) ในลักษณะเกี่ยวข้องกับตำนานของพระคเณศ[1] It is also called Jeernapur and Lekhan parvat ("Lekhan mountain").[6]

ในอดีตเขานี้มีชื่อว่า คเณศปหร (Ganesh Pahar) ("เขาพระคเณศ") ในจารึกโบราณเรียกที่นี่ว่า กปิจิต (กปิจิตต) (Kapichita (Kapichitta)) ชื่ออื่น ๆ ของถ้ำเช่น คเณศเลณ (Ganesh Lena) หรือถ้ำพระคเณศ[1]

ถ้ำหมายเลข 7

[แก้]
เลณยาทรีคเณศมนเทียร
(ศรีคีรีชาตมัชมนเทียร)
ถ้ำหมายเลข 7 เลณยาทรี
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เขตอำเภอปูเน
เทพพระพิฆเนศ "คีรีชาตมัช" (Girijatmaja; गिरीजात्मज)
เทศกาลคเณศจตุรถี และ คเณศชยันตี
ที่ตั้ง
ที่ตั้งถ้ำเลณยาทรี
รัฐรัฐมหาราษฏระ
ประเทศประเทศอินเดีย
สถาปัตยกรรม
เสร็จสมบูรณ์วิหาร: คริสต์ศตวรรษที่ 1
การแปลงเป็นมนเทียร: ไม่ทราบ

สถาปัตยกรรม

[แก้]

คเณศมนเทียรตั้งอยู่ในถ้ำหมายเลข 7 ซึ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาการเจาะถ้ำรอบ ๆ ชุนนร (Junnar) ตั้งอยู่ที่ความสูงประมาณ 100 ฟุต (30 เมตร) จากพื้นดิน ดั้งเดิมแล้วที่นี่เป็นวิหารในศาสนาพุทธ ที่ซึ่งสงฆ์ใช้อยู่อาศัยและทำสมาธิ โถงมีความยาวราม 17.37 เมตร (57.0 ฟุต) กว้าง 15.54 เมตร (51.0 ฟุต) และสูง 3.38 เมตร (11.1 ฟุต) มีหน้าต่างอยู่ 2 บาน บานละข้างของทางเข้า[1][3] ปัจจุบันโถงนี้ใช้เป็นสภามณฑป (sabha-mandapa - โถงรวมตัว) ของมนเทียร ("assembly hall") ทางเข้ามนเทียรเข้าถึงได้ผ่านบันได 283 ขั้น[7][8] บันไดเหล่านี้เชื่อว่าเป็นตัวแทนถึงความสุขทางราคะ ที่ซึ่งพระคเณศสามารถพ้นผ่านมาได้[9]

เทวรูป

[แก้]
ด้านในถ้ำหมายเลข 7
ด้านในมนเทียร

พระพิฆเนศที่ประดิษฐานที่นี่เรียกว่า "คีรีชาตมัช" (สันสกฤต: गिरिजात्मज) แปลว่า "เกิด (ชาตะ) แก่ภูเขา (คีรี)" ("mountain-born")[8][10] หรือ "อาตมัชแห่งคีรีชา" ("Atmaja of Girija") พระบุตรแห่งพระปารวตี ผู้ซึ่งทรงเป็นพระธิดาของหิมวาน (Himavan) บุคลาธิสถานของเทือกเขาหิมาลัย[7][8][11] เช่นเดียวกันกับอัษฏวินายกแห่งอื่น ๆ ทั้งแปดแห่ง พระคเณศแห่งคีรีชาตมัชนั้นเชื่อว่าเป็น สวยัมภู (svayambhu) คือหินที่เกิดขึ้นเป็นรูปลักษณะของพระคเณศเองตามธรรมชาติ[12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "Lenyadri Group of Caves, Junnar". Archaeological Survey of India official site. Archaeological Survey of India, Government of India. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2009. สืบค้นเมื่อ 4 February 2010.
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Gazetteer
  3. 3.0 3.1 3.2 Edwardes, S. M. (2009). By-Ways of Bombay. The Ganesh Caves. Echo Library. pp. 34–36. ISBN 978-1-4068-5154-0. สืบค้นเมื่อ 2010-02-26.
  4. Feldhaus p. 143
  5. Grimes p. 13
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ transport
  7. 7.0 7.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ pune
  8. 8.0 8.1 8.2 Satguru Sivaya, Subramuniya (2000). "Lenyadhri Cave to Sri Girijatmaja". Loving Ganesa: Hinduism's Endearing Elephant-Faced God. Himalayan Academy Publications. pp. 278, 284. ISBN 9780945497776. สืบค้นเมื่อ 2009-11-26.
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Grimes115
  10. Grimes pp. 37–8
  11. Feldhaus p. 249
  12. Grimes pp. 110–1

บรรณานุกรม

[แก้]

19°14′34″N 73°53′8″E / 19.24278°N 73.88556°E / 19.24278; 73.88556