สกุลรองเท้านารี
สกุลรองเท้านารี | |
---|---|
ภาพวาดของ Paphiopedilum lawrenceanum | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophyta |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงเดี่ยว Monocots |
อันดับ: | หน่อไม้ฝรั่ง Asparagales |
วงศ์: | กล้วยไม้ |
วงศ์ย่อย: | Cypripedioideae |
สกุล: | รองเท้านารี |
สปีชีส์ | |
มีราวๆ 80 ชนิด | |
การกระจายพันธุ์ | |
ชื่อพ้อง | |
|
สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum) เป็นพันธุ์ไม้ประเภทกล้วยไม้ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2429 โดยนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน มาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ Paphia หมายถึงเทพธิดาแห่งความรักและความงาม และ pedilon หมายถึงรองเท้าของผู้หญิง ซึ่งหมายถึงลักษณะกลีบดอกที่เป็นถุงลึกคล้ายรองเท้า พบทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อเรียกอื่นๆ
[แก้]กล้วยไม้รองเท้านารีมีชื่อเรียกอื่นๆ อีกหลายชื่อ เช่น รองเท้านาง รองเท้าแตะนารี หรือ บุหงากะสุต ในภาษามาเลเซีย อันหมายถึงรองเท้าของสตรี เนื่องจากกลีบดอก หรือที่เรียกว่า “กระเป๋า”
แหล่งกำเนิด
[แก้]กล้วยไม้รองเท้านารี มีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น และเขตร้อนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินเดีย ฟิลิปปินส์ พม่า มาเลเซีย และในประเทศไทยซึ่งพบกล้วยไม้รองเท้านารีขึ้นอยู่ในป่าทั่วๆ ไป
ลักษณะเด่น
[แก้]มีรูปร่างคล้ายกับรองเท้าของสตรีและรองเท้าไม้ของชาวเนเธอแลนด์ กระเป๋าของรองเท้านารีมีรูปร่างลักษณะและสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์
ลักษณะทั่วไป
[แก้]บางชนิดเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพวกที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินหรือซอกหินที่มีต้นไม้ใบหญ้าเน่าตายทับถมกัน เจริญงอกงามในที่โปร่ง ไม่ชอบที่รกทึบ แสงแดดส่องถึง รองเท้านารี เป็นกล้วยไม้ประเภทแตกกอเช่นเดียวกับ หวาย "คัทลียา" และ"ซิมบิเดียม" ต้นที่แท้จริงเรียกว่า "ไรโซม" (เหง้า)
ต้นหนึ่งหรือกอหนึ่งจะประกอบด้วยต้นย่อยหลายต้น รากออกเป็นกระจุกที่โคนต้นและมักจะทอดไปทางด้านราบมากกว่าหยั่งลึกลงไป หน่อใหม่จะแตกจากตาที่โคนต้นเก่า มีลำต้นสั้นมาก แต่ไม่มีลำลูกกล้วย ใบมีขนาดรูปร่างต่างกันไป บางชนิดมีใบยาว บางชนิดใบตั้งชูขึ้น บางชนิดใบทอดขนานกับพื้น บางชนิดใบมีลาย บางชนิดใบไม่มีลายแต่เป็นสีเดียวเรียบๆ
การออกดอกจะออกที่ยอด มีทั้งชนิดออกดอกเป็นดอกเดี่ยว และออกดอกเป็นช่อ กลีบดอกชั้นนอกกลีบบนมีขนาดใหญ่สะดุดตา ส่วนกลีบชั้นนอกคู่ล่างจะเชื่อมติดกันและมีขนาดเล็กลงจนส่วนปากบังมิดหรือเกือบมิด กลีบคู่ในซึ่งมีลักษณะเหมือนกันกางออกไปทั้ง 2 ข้างซ้ายขวาของดอก ส่วนกลีบในกลีบที่ 3 จะเปลี่ยนเป็น “กระเปาะ” คล้ายรูปรองเท้า
กระเปาะนี้มีหน้าที่รับน้ำฝนตกลงไปเพื่อชะล้างเกสรตัวผู้ไปตัดกับแผ่นเกสรตัวเมีย กล้วยไม้สกุลนี้จะมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน แต่จะมีเส้าเกสรแตกต่างจากกล้วยไม้ทั่วๆ ไป คือ ที่ปลายสุดของเส้าเกสร แทนที่จะเป็นอับเรณูกลับเป็นแผ่นบางๆ ซึ่งทางพฤกษาศาสตร์ถือเป็นเกสรที่เปลี่ยนรูปร่างไปใช้การไม่ได้ เรียกส่วนนี้ว่า “สตามิโนด” สำหรับเกสรตัวผู้ที่ใช้การได้มีอยู่ 2 ชุด โดยจะอยู่ถัดต่ำลงมาทั้ง 2 ข้างของเสาเกสรข้างละ 1 ชุด
ในแต่ละชุดจะมีอับเรณูลักษณะเป็นก้อนแข็งอยู่ 2 อัน ถัดต่ำลงมาจากส่วนนี้อีกจะเป็นยอดเกสรตัวเมียซึ่งเป็นแอ่งลึกลงไปยึดติดกับเส้าเกสร (ปกติส่วนนี้จะถูกหูกระเป๋าโอบหุ้มเอาไว้จนมิด) ภายในมีน้ำเมือกเหนียวสำหรับยืดเกสรตัวผู้ที่ตกลงไปในแอ่ง รังไข่อยู่ตรงส่วนของก้านดอก ภายในรังไข่ยังไม่มีการพัฒนาเป็นไข่อ่อน จนกระทั่งผสมเกสรแล้วจึงเกิดไข่อ่อนในรังไข่ รังไข่จะกลายเป็นฝักเมื่อฝักแก่จะแตกเมล็ดสามารถเจริญงอกงามเป็นต้นใหม่ได้ โดยธรรมชาติของกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีทุกชนิด เมื่อออกดอกแล้วก็จะตายไป แต่ก่อนตายจะแตกหน่อทดแทน ซึ่งหน่อนี้ก็จะเจริญงอกงามเป็นต้นใหม่ต่อไป
อนุกรมวิธานย่อย
[แก้]สกุลรองเท้านารีแบ่งออกเป็นหลายสกุลย่อย (subgenus) จากนั้นจึงแบ่งออกเป็นหมู่ (section) และหมู่ย่อย (subsection) ลงไปอีก
- สกุลย่อย Parvisepalum
- สกุลย่อย Brachypetalum
- สกุลย่อย Polyantha[ต้องการตรวจสอบความถูกต้อง]
- หมู่ Mastigopetalum
- หมู่ Polyantha
- หมู่ Mystropetalum
- หมู่ Stictopetalum
- หมู่ Paphiopedilum
- หมู่ Seratopetalum
- หมู่ Cymatopetalum
- หมู่ Thiopetalum
- สกุลย่อย Sigmatopetalum
- หมู่ Spathopetalum
- หมู่ย่อย Macronidium
- หมู่ย่อย Spathopetalum
- หมู่ Blepharopetalum
- หมู่ Mastersianum
- หมู่ Punctatum
- หมู่ Barbata
- หมู่ย่อย Lorapetalum
- หมู่ย่อย Chloroneura
- หมู่ Planipetalum
- หมู่ Venustum
- หมู่ Spathopetalum
- สกุลย่อย Cochlopetalum
ตัวอย่างชนิด
[แก้]- Paphiopedilum acmodontum (ฟิลิปปินส์)
- Paphiopedilum adductum
- Paphiopedilum × affine (P. appletonianum × P. villosum) (เวียดนาม)
- Paphiopedilum appletonianum (Hainan to Indochina)
- Paphiopedilum × areeanum (P. barbigerum × P. villosum var. annamense) (ยูนนาน)
- Paphiopedilum argus (เกาะลูซอน)
- Paphiopedilum armeniacum - Golden Slipper Orchid
- Paphiopedilum barbatum - Penang Slipper Orchid (ไทย ถึง เกาะสุมาตรา)
- Paphiopedilum barbigerum
- Paphiopedilum bellatulum - Egg-in-a-nest Orchid (ยูนนานถึงอินโดจีน)
- Paphiopedilum bougainvilleanum (หมู่เกาะโซโลมอน)
- Paphiopedilum bougainvilleanum var. bougainvilleanum (หมู่เกาะโซโลมอนทางตอนเหนือ)
- Paphiopedilum bougainvilleanum var. saskianum (หมู่เกาะโซโลมอนทางตอนใต้)
- Paphiopedilum bullenianum (มาเลเซีย)
- Paphiopedilum bullenianum var. bullenianum (มาเลเซียตะวันตก)
- Paphiopedilum bullenianum var. celebesense (ซูลาเวซีถึงมาลูกู)
- Paphiopedilum × burbidgei (P. dayanum × P. javanicum var. virens) (บอร์เนียว)
- Paphiopedilum callosum (อินโดจีนจนถึงมาเลเซีย)
- Paphiopedilum callosum var. callosum (อินโดจีน) (รวม f. albinum, P. viniferum)
- Paphiopedilum callosum var. potentianum (ไทย)
- Paphiopedilum callosum var. warnerianum (ไทยถึงมาเลเซีย)
- Paphiopedilum charlesworthii
- Paphiopedilum ciliolare
- Paphiopedilum concolor
- Paphiopedilum × cribbii Averyanov (เวียนามภาคใต้)
- Paphiopedilum × dalatense (P. callosum × P. villosum var. annamense) (เวียดนาม)
- Paphiopedilum dayanum (บอร์เนียว)
- Paphiopedilum delenatii
- Paphiopedilum dianthum
- Paphiopedilum × dixlerianum (P. callosum × P. wardii) (พม่า)
- Paphiopedilum druryi (อินเดียใต้)
- Paphiopedilum emersonii
- Paphiopedilum × expansum ( P. hennisianum × P. philippinense) (ฟิลิปปินส์)
- Paphiopedilum exul (ไทย)
- Paphiopedilum fairrieanum (เทือกเขาหิมาลัยถึงรัฐอัสสัม)
- Paphiopedilum × fanaticum (P. malipoense × P. micranthum) (จีนตอนใต้)
- Paphiopedilum fowliei
- Paphiopedilum × frankeanum (P. superbiens × P. tonsum) (เกาะสุมาตรา)
- Paphiopedilum gigantifolium (ซูลาเวซี)
- Paphiopedilum glanduliferum (นิวกินี)
- Paphiopedilum glaucophyllum
- Paphiopedilum godefroyae (ไทย)
- Paphiopedilum gratrixianum
- Paphiopedilum × grussianum (P. dianthum × P. hirsutissimum var. esquirolei) (กวางสี)
- Paphiopedilum hangianum Perner & O.Gruss (ยูนนานถึงเวียดนาม) (รวม f. album, P. singchii)
- Paphiopedilum haynaldianum (เกาะลูซอนและเกาะเนกรอส)
- Paphiopedilum helenae Aver. (เวียดนามตอนเหนือ) (รวม P. delicatum)
- Paphiopedilum hennisianum (ฟิลิปปินส์)
- Paphiopedilum henryanum (SE Yunnan, Guangxi to N Vietnam)
- Paphiopedilum × herrmannii (P. helenae × P. hirsutissimum var. esquirolei) (Vietnam)
- Paphiopedilum hirsutissimum (Assam to S China)
- Paphiopedilum hirsutissimum var. chiwuanum (China: Yunnan)
- Paphiopedilum hirsutissimum var. esquirolei (Yunnan, Guizhou, Guangxi to N & E Indochina)
- Paphiopedilum hirsutissimum var. hirsutissimum (Assam to Myanmar)
- Paphiopedilum hookerae (Borneo)
- Paphiopedilum hookerae var. hookerae (Borneo: Sarawak, W. Kalimantan)
- Paphiopedilum hookerae var. volonteanum (Borneo: Sabah)
- Paphiopedilum insigne (Assam: Meghalaya)
- Paphiopedilum intaniae (Sulawesi)
- Paphiopedilum javanicum (Sumatra, Borneo to Lesser Sunda Islands)
- Paphiopedilum javanicum var. javanicum (Sumatra to Lesser Sunda Islands)
- Paphiopedilum javanicum var. virens (Borneo: Sabah to N Sarawak)
- Paphiopedilum × kimballianum (P. dayanum × P. rothschildianum) (Borneo: Mt. Kinabalu)
- Paphiopedilum kolopakingii (Borneo: C Kalimantan)
- Paphiopedilum lawrenceanum (Borneo - Sarawak, Sabah)
- Paphiopedilum liemianum (N. Sumatra)
- Paphiopedilum × littleanum (P. dayanum × P. lawrenceanum) (Borneo)
- Paphiopedilum lowii (W & C Malesia)
- Paphiopedilum lowii var. lowii (W & C Malaysia)
- Paphiopedilum lowii var. lynniae (Borneo)
- Paphiopedilum lowii var. richardianum (Sulawesi)
- Paphiopedilum malipoense - Jade Slipper Orchid (including P. jackii)
- Paphiopedilum mastersianum (Lesser Sunda Islands to Maluku)
- Paphiopedilum mastersianum var. mastersianum (Maluku: Ambon, Buru)
- Paphiopedilum mastersianum var. mohrianum (Lesser Sunda Islands: Flores)
- Paphiopedilum × mattesii (P. barbatum × P. bullenianum) (Peninsular Malaysia)
- Paphiopedilum micranthum - Silver Slipper Orchid, Hard-leaved Pocket Orchid
- Paphiopedilum niveum (Peninsular Thailand to N Peninsular Malaysia)
- Paphiopedilum ooii
- Paphiopedilum papuanum (New Guinea)
- Paphiopedilum parishii (Assam to W Yunnan)
- Paphiopedilum × pereirae (P. exul × P. niveum) (Peninsular Thailand)
- Paphiopedilum × petchleungianum (P. dianthum × P. villosum) (China: SE Yunnan)
- Paphiopedilum philippinense (Philippines to N Borneo)
- Paphiopedilum philippinense var. philippinense (Philippines to N Borneo)
- Paphiopedilum philippinense var. roebelenii (Philippines: Luzon)
- Paphiopedilum × powellii (P. callosum × P. exul) (Peninsular Thailand)
- Paphiopedilum × pradhanii (P. fairrieanum × P. venustum) (E Himalaya)
- Paphiopedilum primulinum (Sumatra: S Aceh)
- Paphiopedilum primulinum var. primulinum
- Paphiopedilum primulinum var. purpurascens
- Paphiopedilum purpuratum (S China to Hainan)
- Paphiopedilum purpuratum var. hainanense (Hainan)
- Paphiopedilum purpuratum var. purpuratum (China: Yunnan, Hong Kong, Guangdong)
- Paphiopedilum randsii (Philippines: N Mindanao)
- Paphiopedilum rhizomatosum (Myanmar)
- Paphiopedilum rothschildianum - King of the Paphs
- Paphiopedilum saccopetalum (China: SE Guanxi)
- Paphiopedilum sanderianum (NW Borneo: Gunung Mulu)
- Paphiopedilum sangii (N Sulawesi)
- Paphiopedilum schoseri (Sulawesi to Maluku)
- Paphiopedilum × shipwayae (P. dayanum × P. hookerae). (Borneo)
- Paphiopedilum × siamense (P. appletonianum × P. callosum) (Thailand)
- Paphiopedilum spicerianum
- Paphiopedilum × spicerovenustum (P. spiceranum × P. venustum) (Assam)
- Paphiopedilum stonei (Borneo: Sarawak)
- Paphiopedilum stonei var. platyphyllum (Borneo: Sarawak)
- Paphiopedilum stonei var. stonei (Borneo: S Sarawak)
- Paphiopedilum sugiyamanum (Borneo: Sabah)
- Paphiopedilum sukhakulii (NE Thailand)
- Paphiopedilum supardii (Borneo: SE Kalimantan)
- Paphiopedilum superbiens (N & W Sumatra)
- Paphiopedilum thaianum (Thailand)
- Paphiopedilum tigrinum (including P. smaragdinum)
- Paphiopedilum tonsum (Rchb.f.) Stein (N & W Sumatra) (including f. alboviride)
- Paphiopedilum tranlienianum (Vietnam)
- Paphiopedilum tranlienianum f. alboviride (Vietnam)
- Paphiopedilum urbanianum
- Paphiopedilum usitanum (Philippines)
- Paphiopedilum vejvarutianum (Thailand: Kanchanaburi)
- Paphiopedilum × venustoinsigne (P. insigne × P. venustum) (Assam)
- Paphiopedilum venustum (E Nepal to NE Bangladesh)
- Paphiopedilum victoria-mariae (W Sumatra)
- Paphiopedilum victoria-regina (including P. chamberlainianum)
- Paphiopedilum × vietenryanum (P. gratrixianum × P. henryanum) (China: Yunnan)
- Paphiopedilum vietnamense Gruss & Perner (Vietnam)
- Paphiopedilum villosum (Assam to S China)
- Paphiopedilum villosum var. annamense (Yunnan and Guangxi to Indochina)
- Paphiopedilum villosum var. boxallii (Myanmar)
- Paphiopedilum villosum var. villosum (Assam to Thailand) (including P. densissimum)
- Paphiopedilum violascens (N & E New Guinea, Manus Island)
- Paphiopedilum wardii Summerh. - Rainbow Orchid (SW Yunnan to Myanmar) (including f. alboviride)
- Paphiopedilum wardii var. teestaensis (China: SW Yunnan)
- Paphiopedilum × wenshanense (P. bellatulum × P. concolor, including P. × conco-bellatulum)
- Paphiopedilum wentworthianum (Solomon Islands)
- Paphiopedilum wilhelminae (C New Guinea)
รองเท้านารีในประเทศไทย
[แก้]ตามรายงานในประเทศไทยพบรองเท้านารีชนิดต่าง ๆ ดังนี้
- รองเท้านารีคางกบคอแดง (P. appletonianum var. wolterianum)
- รองเท้านารีม่วงสงขลา หรือรองเท้านารีคางกบภาคใต้ (P. barbatum)
- รองเท้านารีฝาหอย (P. bellatulum)
- รองเท้านารีคางกบ, รองเท้านารีคางกบคอขาว หรือ รองเท้านารีไทยแลนด์ (P. callosum)
- รองเท้านารีดอยตุง (P. charlesworthii)
- รองเท้านารีเหลืองปราจีน หรือรองเท้านารีเหลืองกาญจน์ หรือรองเท้านารีเหลืองอุดร (P. concolor)
- รองเท้านารีเชียงดาว (P. dianthum)
- รองเท้านารีเหลืองกระบี่ (P. exul)
- รองเท้านารีอินทนนท์ลาว (P. gratrixianum)
- รองเท้านารีขาวชุมพร (P. godefroyae)
- รองเท้านารีเหลืองตรัง หรือรองเท้านารีเหลืองพังงา (P. godefroyae var. leucochilum)
- รองเท้านารีเหลืองเลย (P. hirsutissimum var. esquirolei)
- รองเท้านารีอินซิกเน่ (P. insigne)
- รองเท้านารีขาวสตูล (P. niveum)
- รองเท้านารีเมืองกาญจน์ (P. parishii)
- รองเท้านารีปีกแมลงปอ หรือ รองเท้านารีสุขะกุล (P. sukhakulii)
- รองเท้านารีขาวพังงา หรือ รองเท้านารีไทย (P. thaianum)
- รองเท้านารีอินทนนท์ (P. villosum)
- รองเท้านารีช่องอ่างทอง (P. × ang-thong) บ้างพิจารณาเป็นลูกผสมธรรมชาติ บ้างถือเป็นชนิด บ้างถือเป็นชนิดย่อยของ รองเท้านารีขาวชุมพร
- รองเท้านารีเกาะช้าง (P. × siamense) เป็นลูกผสมธรรมชาติ ระหว่างรองเท้านารีคางกบคอขาว และรองเท้านารีคางกบคอแดง
อ้างอิง
[แก้]- กล้วยไม้เมืองไทย, รศ.ดร. อบฉันท์ ไทยทอง, สำนักพิมพ์บ้านและสวน