ข้ามไปเนื้อหา

รองเท้านารีเหลืองปราจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รองเท้านารีเหลืองปราจีน
รองเท้านารีเหลืองปราจีน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: พืช (Plantae)
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Liliopsida
อันดับ: Asparagales
วงศ์: Orchidaceae
วงศ์ย่อย: Cypripedieae
เผ่า: Cypripedilinae
เผ่าย่อย: Cypripediodeae
สกุล: Paphiopedilum
สปีชีส์: Paph.  concolor
ชื่อทวินาม
Paphiopedilum concolor

(Lindl. ex Bateman) Pfitzer (1888)
ชื่อพ้อง

รองเท้านารีเหลืองปราจีน เป็นกล้วยไม้ในสกุลรองเท้านารี ถูกค้นพบโดย Mr.C. Parish ในปี ค.ศ. 1859 มีการกระจายพันธุ์ในทางตอนใต้ของจีน (มณฑลยูนนาน มณฑลกุ้ยโจว และเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง) พม่า ไทย และตอนกลางและตอนใต้ของเวียดนาม โดยเฉพาะในอุทยานแห่งชาติฟ็องญา-แก๋บ่าง จังหวัดกว๋างบิ่ญ

รองเท้านารีเหลืองปราจีนมีชื่อสามัญอื่นอีกคือ รองเท้านารีเหลืองอุดรและรองเท้านารีเหลืองกาญจน์

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

[แก้]

มีลักษณะเป็นพุ่มต้นกว้างประมาณ 20-25 ซม. สูงประมาณ 10-20 ซม. ใบกว้าง 2.5-3.5 ซม. ยาว 10-20 ซม. ใบด้านบนเป็นลายสีเขียวสลับเขียวอ่อน ใต้ท้องใบมีจุดประสีม่วงเล็กน้อย ดอกกว้างประมาณ 3.5-7 ซม. ก้านช่อดอกค่อนข้างสั้นประมาณ 5-7 ซม. ช่อหนึ่งมี 1-2 ดอก กลีบบนและกลีบในสีเหลืองมีจุดประสีม่วงกระจายทั่วกลีบ ออกดอกตลอดทั้งปี [1]

ถิ่นอาศัย

[แก้]

พบอยู่ตามภูเขาหินปูน โดยขึ้นอยู่สูง 300-500 เมตรจากระดับน้ำทะเล บริเวณป่าเบญจพรรณที่อยู่ใกล้ทะเลหรือใกล้ลำธาร โดยขึ้นอยู่พื้นที่ค่อนข้างแฉะ ความชื้นสูง ปกคลุมด้วยพืชชั้นต่ำพวกมอสส์และซากใบไม้ที่ผุพังทับถม ได้รับแสงค่อนข้างมาก เป็นรองเท้านารีที่มีการกระจายพันธุ์เป็นบริเวณกว้าง ในประเทศไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และตอนใต้ของจีน

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • กล้วยไม้เมืองไทย, รศ.ดร. อบฉันท์ ไทยทอง, สำนักพิมพ์บ้านและสวน
  1. "รองเท้านารีเหลืองปราจีน สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 สุราษฎร์ธานี".