รังสีคอสมิก
รังสีคอสมิก (อังกฤษ: cosmic ray) เป็นรังสีพลังงานสูงอย่างยิ่งที่ส่วนใหญ่กำเนิดนอกระบบสุริยะ[1] อาจทำให้เกิดการสาดอนุภาครองซึ่งทะลุทะลวงและมีผลกระทบต่อบรรยากาศของโลกและบ้างมาถึงผิวโลกได้ รังสีคอสมิกประกอบด้วยโปรตอนและนิวเคลียสอะตอมพลังงานสูงเป็นหลัก มีที่มาลึกลับ ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศแฟร์มี (2556)[2] ถูกตีความว่าเป็นหลักฐานว่าส่วนสำคัญของรังสีคอสมิกปฐมภูมิกำเนิดจากมหานวดารา(supernova) ของดาวฤกษ์ขนาดยักษ์[3] ทว่า คาดว่ามหานวดารามิใช่แหล่งเดียวของรังสีคอสมิก นิวเคลียสดาราจักรกัมมันต์อาจผลิตรังสีคอสมิกด้วย
รังสีคอสมิกถูกเรียกว่า "รังสี" เพราะทีแรกเข้าใจผิดว่าเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในการใช้ทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป[4] อนุภาคพลังงานสูงที่มีมวลในตัว เรียก รังสี "คอสมิก" และโฟตอน ซึ่งเป็นควอนตัมของรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า (จึงไม่มีมวลในตัว) ถูกเรียกด้วยชื่อสามัญ เช่น "รังสีแกมมา" หรือ "รังสีเอ็กซ์" ขึ้นกับความถี่
รังสีคอสมิกดึงดูดความสนใจอย่างมากในทางปฏิบัติ เนื่องจากความเสียหายที่รังสีกระทำต่อไมโครอิเล็กทรอนิกส์ และชีวิตนอกเหนือการป้องกันจากบรรยากาศและสนามแม่เหล็ก และในทางวิทยาศาสตร์ เพราะมีการสังเกตว่า พลังงานของรังสีคอสมิกพลังงานสูงอย่างยิ่ง (ultra-high-energy cosmic rays, UHECRs) ที่มีพลังงานมากที่สุดเฉียด 3 × 1020 eV[5] หรือเกือบ 40 ล้านเท่าของพลังงานของอนุภาคที่ถูกเครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่เร่ง[6] ที่ 50 จูล[7] รังสีคอสมิกพลังงานสูงอย่างยิ่งมีพลังงานเทียบเท่ากับพลังงานจลน์ของลูกเบสบอลความเร็ว 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ด้วยผลการค้นพบเหล่านี้ จึงมีความสนใจสำรวจรังสีคอสมิกเพื่อหาพลังงานที่สูงกว่านี้[8] ทว่า รังสีคอสมิกส่วนมากไม่มีพลังงานสูงสุดขีดเช่นนั้น การกระจายพลังงานของรังสีคอสมิกสูงสุดที่ 0.3 กิกะอิเล็กตรอนโวลต์ (4.8×10−11 J)[9]
ในบรรดารังสีคอสมิกปฐมภูมิซึ่งกำเนิดนอกบรรยากาศของโลก ราว 99% เป็นนิวเคลียสของอะตอม ในส่วนของนิวเคลียส 90% เป็นโปรตอนหรือนิวเคลียสไฮโดรเจน อีก 9% เป็นอนุภาคแอลฟา(หรือนิวเคลียสของฮีเลียม) และ 1% เป็นนิวเคลียสของธาตุหนักกว่าอื่น ๆ และอีก 1% ที่เหลือจาก 99% เป็นอิเล็กตรอนเดี่ยว ๆ คล้ายอนุภาคบีตา[10] ส่วนน้อยมากเป็นอนุภาคปฏิสสารที่เสถียร เช่น โพสิตรอนและแอนติโปรตอน ธรรมชาติที่แน่ชัดของส่วนที่เหลือนี้เป็นขอบเขตการวิจัยที่กำลังดำเนินอยู่ การแสวงอนุภาคอย่างแข็งขันจากวงโคจรโลกยังไม่พบแอนติแอลฟา
ผล
[แก้]การเปลี่ยนแปลงเคมีบรรยากาศ
[แก้]รังสีคอสมิกทำให้โมเลกุลไนโตรเจนและออกซิเจนในบรรยากาศกลายเป็นไอออน ซึ่งนำไปสู่ปฏิกิริยาเคมีจำนวนหนึ่ง มีปฏิกิริยาหนึ่งส่งผลให้เกิดการพร่องโอโซน รังสีคอสมิกยังมีผลต่อการผลิตไอโซโทปไม่เสถียรจำนวนหนึ่งในบรรยากาศของโลกอย่างต่อเนื่อง เช่น คาร์บอน-14 ผ่านปฏิกิริยา
- n + 14N → p + 14C
รังสีคอสมิกรักษาระดับคาร์บอน-14 ในบรรยากาศเกือบคงที่ (70 ตัน) เป็นเวลาอย่างน้อย 100,000 ปีที่ผ่านมา กระทั่งการเริ่มการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์เหนือพื้นดินในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1950 เป็นข้อเท็จจริงสำคัญที่ใช้ในการหาอายุคาร์บอนรังสีในโบราณคดี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Sharma (2008). Atomic And Nuclear Physics. Pearson Education India. p. 478. ISBN 978-81-317-1924-4.
- ↑ Ackermann, M.; Ajello, M.; Allafort, A.; Baldini, L.; Ballet, J.; Barbiellini, G.; Baring, M. G.; Bastieri, D.; Bechtol, K.; Bellazzini, R.; Blandford, R. D.; Bloom, E. D.; Bonamente, E.; Borgland, A. W.; Bottacini, E.; Brandt, T. J.; Bregeon, J.; Brigida, M.; Bruel, P.; Buehler, R.; Busetto, G.; Buson, S.; Caliandro, G. A.; Cameron, R. A.; Caraveo, P. A.; Casandjian, J. M.; Cecchi, C.; Celik, O.; Charles, E.; และคณะ (2013-02-15). "Detection of the Characteristic Pion-Decay Signature in Supernova Remnants". Science. American Association for the Advancement of Science. 339 (6424): 807–811. arXiv:1302.3307. Bibcode:2013Sci...339..807A. doi:10.1126/science.1231160. สืบค้นเมื่อ 2013-02-14.
- ↑ Ginger Pinholster (2013-02-13). "Evidence Shows that Cosmic Rays Come from Exploding Stars".
- ↑ Dr. Eric Christian. "Are Cosmic Rays Electromagnetic radiation?". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-12. สืบค้นเมื่อ 2012-12-11.
- ↑ Nerlich, Steve (12 June 2011). "Astronomy Without A Telescope – Oh-My-God Particles". Universe Today. Universe Today. สืบค้นเมื่อ 17 February 2013.
- ↑ "Facts and figures". The LHC. European Organization for Nuclear Research. 2008. สืบค้นเมื่อ 17 February 2013.
- ↑ Gaensler, Brian (November 2011). "Extreme speed". COSMOS (41). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-07. สืบค้นเมื่อ 2014-08-28.
- ↑
L. Anchordoqui, T. Paul, S. Reucroft, J. Swain; Paul; Reucroft; Swain (2003). "Ultrahigh Energy Cosmic Rays: The state of the art before the Auger Observatory". International Journal of Modern Physics A. 18 (13): 2229. arXiv:hep-ph/0206072. Bibcode:2003IJMPA..18.2229A. doi:10.1142/S0217751X03013879.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Nave, Carl R. "Cosmic rays". HyperPhysics Concepts. Georgia State University. สืบค้นเมื่อ 17 February 2013.
- ↑ "What are cosmic rays?". NASA, Goddard Space Flight Center. สืบค้นเมื่อ 31 October 2012.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ประวัติของรังสีคอสมิก เก็บถาวร 2010-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ภาพรวมของรังสีคอสมิก เก็บถาวร 2009-09-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน