ข้ามไปเนื้อหา

ปลาจิ้มฟันจระเข้ลายด่าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Corythoichthys haematopterus)
ปลาจิ้มฟันจระเข้ลายด่าง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Syngnathiformes
วงศ์: Syngnathidae
วงศ์ย่อย: Syngnathinae
สกุล: Corythoichthys
สปีชีส์: C.  haematopterus
ชื่อทวินาม
Corythoichthys haematopterus
(Bleeker, 1851)

ปลาจิ้มฟันจระเข้ลายด่าง (อังกฤษ: Scribbled pipefish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Corythoichthys haematopterus) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำ (Syngnathidae)

เป็นปลาจิ้มฟันจระเข้ชนิดหนึ่ง มีลำตัวเรียวยาว จะงอยปากสั้น ตาโต ครีบหลังอยู่ตอนกลางลำตัว ครีบหางเล็กปลายมน ครีบอกเล็ก ตามลำตัวเป็นสันเล็ก ๆ เป็นปล้องตลอดลำตัวไปจนโคนหาง มีลำตัวสีเทาอมเขียวหรือสีฟ้า และมีลายเส้นเป็นสีคล้ำหรือดำ ครีบต่าง ๆ ใสโปร่งแสง ครีบหางสีแดงเรื่อ ๆ

มีความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร พบยาวเต็มที่ได้ถึง 19.8 เซนติเมตร[2] ในตัวผู้ อาศัยอยู่ตามกอสาหร่ายหรือกองหินใต้น้ำ หรือแนวปะการัง ในแถบอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่แอฟริกาตะวันออก จนถึงวานูอาตู ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน จัดเป็นปลาที่พบได้ไม่บ่อยนัก

เป็นปลาที่กินแพลงก์ตอนสัตว์เป็นอาหาร ตัวผู้จะเป็นฝ่ายฟักไข่โดยติดไว้ที่หน้าท้องเป็นแพ โดยทุก ๆ เช้า ตัวเมียที่มีไข่เต็มท้องจะออกมาจากที่อาศัยเพื่อว่ายคลอเคลียกับตัวผู้เพื่อทำความคุ้นเคย ทั้งคู่จะว่ายพันกันไปมา และตัวผู้จะใช้โอกาสนี้ย้ายไข่ของตัวเมียมาไว้ที่หน้าท้องของตัวเอง โดยไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัว 10 ตัว ซึ่งตัวเมียสามารถผลิตไข่ชุดใหม่ได้เลยภายใน 20 วัน ดังนั้นปีหนึ่ง ๆ ปลาจิ้มฟันจระเข้ลายด่างจึงสามารถผลิตลูกได้เยอะมาก[3][4]

ปลาจิ้มฟันจระเข้ลายด่างสามารถเรืองแสงชีวภาพ (biofluorescence) กล่าวคือเมื่อส่องด้วยแสงสีน้ำเงินหรืออัลตราไวโอเลต ปลาจะเปล่งแสงกลับออกมาเป็นสีเหลือง ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างจากการส่องด้วยแสงสีขาว การเรืองแสงชีวภาพอาจช่วยในการสื่อสารและการพรางตัว[5]

นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม[6][7]

ชื่อพ้อง

[แก้]
  • Corythoichthys hematopterus (Bleeker, 1851) (สะกดผิด)
  • Corythroichthys elerae Evermann & Seale, 1907
  • Corythroichthys isigakius Jordan & Snyder, 1901
  • Ichthyocampus papuensis Sauvage, 1880
  • Syngnathus crenulatus Weber, 1913
  • Syngnathus haematopterus Bleeker, 1851

อ้างอิง

[แก้]
  1. Gillespie, K.; Pollom, R. (2016). "Corythoichthys haematopterus". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T46102624A46665234. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-1.RLTS.T46102624A46665234.en.
  2. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2018). "Corythoichthys haematopterus" in FishBase. February 2018 version.
  3. "สารคดี BBC : อัศจรรย์โลกใต้น้ำ ตอนที่ 12 คลิป 1/2". ช่อง 7. 15 January 2015. สืบค้นเมื่อ 15 January 2015.
  4. "สารคดี BBC : อัศจรรย์โลกใต้น้ำ ตอนที่ 12 คลิป 2/2". ช่อง 7. 15 January 2015. สืบค้นเมื่อ 15 January 2015.
  5. Sparks, John S.; Schelly, Robert C.; Smith, W. Leo; Davis, Matthew P.; Tchernov, Dan; Pieribone, Vincent A.; Gruber, David F. (2014). "The Covert World of Fish Biofluorescence: A Phylogenetically Widespread and Phenotypically Variable Phenomenon". PLoS ONE. 9 (1): e83259. doi:10.1371/journal.pone.0083259. PMC 3885428. PMID 24421880.
  6. ชวลิต วิทยานนท์ (ตุลาคม 2551). คู่มือปลาทะเล, กรุงเทพฯ : สารคดี, หน้า 109. ISBN 978-974-484-261-9
  7. Corythoichthys haematopterus - landlord เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ภาษาอังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]