ข้ามไปเนื้อหา

กีร์กุสมักซิมุส

พิกัด: 41°53′09″N 12°29′09″E / 41.8859°N 12.4857°E / 41.8859; 12.4857
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Circus Maximus)
ภาพวาดในจินตนาการของกีร์กุสมักซิมุส
กีร์กุสมักซิมุสในปัจจุบัน

กีร์กุสมักซิมุส (ละติน: CIRCVS MAXIMVS, "วงกลมใหญ่สุด") เป็นสนามกีฬากลางแจ้งที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน เช่นเดียวกับโคลอสเซียม ปัจจุบันเป็นสวนสาธารณะแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในใจกลางกรุงโรม

กีร์กุสมักซิมุสเป็นสนามกีฬาที่ใช้สำหรับแข่งรถม้าโดยเฉพาะ แต่ก็มีการแข่งขันอย่างอื่นด้วย เช่น กลาดิอาตอร์ สนามมีสนามหญ้าที่ยาวกว่า 2,000 ฟุต 650 ฟุต บรรจุคนดูได้ 25,000 คน นับเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งมีคนตายมากเพราะในการแข่ง อันเนื่องจากไม่มีกติกาใด ๆ ในการแข่งขัน ขอเพียงให้รถเข้าสู่เส้นชัยได้เป็นพอ[1]

กีร์กุสมักซิมุสได้รับการสร้างขึ้นในสมัยจูเลียส ซีซาร์ และปรับปรุงบูรณะเรื่อยมาในสมัยจักรพรรดิเอากุสตุส และบูรณะอย่างสวยงามในสมัยจักรพรรดิแว็สปาซิอานุส จนเสร็จสมบูรณ์มีความยาว 2,037 ฟุต กว้าง 387 ฟุต และจุคนดูได้ 150,000 คน[2]

ด้านทิศเหนือของกีร์กุสมักซิมุส มีวิหารใต้ดินสร้างขึ้นเพื่อบูชาเทพีเวสตา ซึ่งเป็นเทพีแห่งเตาไฟด้วย และรอบ ๆ สนามก็มีสิ่งก่อสร้างที่เป็นตึกอาคารและสถานที่ใต้ดินต่าง ๆ อีกหลายแห่ง

โดยเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่นานถึง 6 วัน 6 คืนในโรม ในปี ค.ศ. 64 ในสมัยจักรพรรดิแนโร ไฟก็เริ่มไหม้มาจากด้านหนึ่งของสนามกีฬา

ปัจจุบัน กีร์กุสมักซิมุสเหลือเพียงสภาพที่เป็นสนามหญ้าขนาดใหญ่และเศษซากในกรุงโรม[3] 41°53′09″N 12°29′09″E / 41.8859°N 12.4857°E / 41.8859; 12.4857

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "coliseum โรงมหรสพ สนามกีฬา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-21. สืบค้นเมื่อ 2011-09-13.
  2. This is a modern recalculation of the seating capacity at the Circus, a substantial downward revision of Pliny the Elder's estimate of 250,000. For discussion see Humphrey, p. 216.
  3. รายการท่องโลกกว้าง ทางไทยพีบีเอส ชุด พิศวงเมืองใต้ดิน ตอน กำเนิดกรุงโรม: วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554