ข้ามไปเนื้อหา

อัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน

พิกัด: 41°53′9″N 12°30′20″E / 41.88583°N 12.50556°E / 41.88583; 12.50556
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน
อัครมหาวิหารพระผู้ช่วยให้รอด
อุทิศนักบุญยอห์นผู้ทำพิธีล้าง
แลยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร ในลาเตรัน

Archibasilica Sanctissimi Salvatoris
ac Sancti Ioannis Baptistae
et Ioannis Evangelistae ad Lateranum
(ละติน)[1]
Ornate facade of the basilica at night with columns, main door, and statues of the twelve Apostles on the roofline, with a Latin inscription below them
เบื้องหน้าของอัครวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน
แผนที่
41°53′9″N 12°30′20″E / 41.88583°N 12.50556°E / 41.88583; 12.50556
ที่ตั้งโรม
ประเทศประเทศอิตาลี[2]
นิกายโรมันคาทอลิก
เว็บไซต์Archbasilica of St. John Lateran
ประวัติ
สถานะมหาวิหารเอกในสันตะปาปา
อุทิศแก่ยอห์นผู้ให้บัพติศมา และ
ยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร
เสกเมื่อค.ศ. 324
สถาปัตยกรรม
สถาปนิกAlessandro Galilei
ประเภทสถาปัตย์มหาวิหาร
รูปแบบสถาปัตย์บาโรก
งานฐานรากคริสต์ศตวรรษที่ 4
แล้วเสร็จค.ศ. 1735 (1735)
โครงสร้าง
อาคารยาว140 เมตร (460 ฟุต)
อาคารกว้าง140 เมตร (460 ฟุต)
เนฟกว้าง65 เมตร (213 ฟุต)
วัสดุหินอ่อน, แกรนิต และ ปูน
การปกครอง
มุขมณฑลมุขมณฑลโรม
นักบวช
มุขนายกสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส
หัวหน้าบาทหลวงอากอสตีโน วัลลีนี
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนHistoric Centre of Rome, the Properties of the Holy See in that City Enjoying Extraterritorial Rights and San Paolo Fuori le Mura
ประเภทมรดกโลกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์i, ii, iii, iv, vi
ขึ้นเมื่อค.ศ. 1980 (วาระที่ 4)
เลขอ้างอิง91
รัฐภาคีอิตาลีและสันตะสำนัก
ภูมิภาคยุโรปและอเมริกาเหนือ

อัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน ในพระสันตะปาปา (อิตาลี: Arcibasilica Papale di San Giovanni in Laterano) หรือรู้จักกันทั่วไปในชื่อ มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน[3][4] (อิตาลี: Basilica di San Giovanni in Laterano) หรือเรียกอย่างสั้นว่า มหาวิหารลาเตรัน เป็นมหาวิหารเอกในกรุงโรมและเป็นอาสนวิหารประจำตำแหน่งมุขนายกแห่งกรุงโรม นับเป็นมหาวิหารที่เก่าแก่ที่สุดและมีตำแหน่งสูงสุดในบรรดามหาวิหารเอกทั้งสี่แห่งในกรุงโรม และมีสถานะเป็นโบสถ์แม่ของโบสถ์ทั้งปวงในคริสตจักรโรมันคาทอลิก

อัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน เป็นมหาวิหารที่เก่าแก่มากที่สุดและมีความอาวุโสสูงสุดในบรรดามหาวิหารเอกทั้งสี่ในพระสันตะปาปาซึ่งทั้งหมดตั้งอยู่ในโรม มีลำดับศักดิ์อยู่เหนือแม้กระทั่งมหาวิหารนักบุญเปโตร และเป็นเพียงอาสนวิหารเพียงแห่งเดียวในโลกที่มีฐานะเป็น อัครมหาวิหาร และเนื่องจากเป็นอาสนวิหารที่เก่าแก่ที่สุด จึงได้รับการยกย่องให้เป็นอาสนวิหารแม่ของศาสนจักรโรมันคาทอลิก หัวหน้าพระคนบัจจุบันคือ พระคาร์ดินัลอากอสตีโน วัลลี ซึ่งเป็นคาร์ดินัลใหญ่แห่งมุขมณฑลโรม ในขณะที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสเป็นแคนันกิตติมศักดิ์ (honorary canon) ประจำมหาวิหารฯ โดยตำแหน่ง ซึ่งตำแหน่งแคนันกิตติมศักดิ์นี้เป็นตำแหน่งที่สืบทอดในหมู่ประมุขแห่งฝรั่งเศสมาตั้งแต่สมัยของพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส

ด้านหน้าบริเวณทางเข้า มีศิลาจารึกเป็นภาษาละตินขนาดใหญ่ว่า Clemens XII Pont Max Anno V Christo Salvatori In Hon SS Ioan Bapt et Evang ซึ่งแปลอย่างย่อได้ว่า "สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 12 ในปีที่ 5 แห่งสมณสมัย ได้ทรงอุทิศอาคารหลังนี้แก่พระคริสต์เจ้าผู้ช่วยให้รอด เพื่อเป็นเกียรติแก่นักบุญยอห์นผู้ทำพิธีล้างและนักบุญยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร" หรือมีความหมายก็คือ เดิมที มหาวิหารแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่พระเยซู และในหลายศตวรรษต่อมาก็ประกาศร่วมอุทิศให้แก่นักบุญยอห์นทั้งสอง คือยอห์นผู้ให้บัพติศมาและยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร

อัครมหาวิหารฯ ตั้งอยู่ในกรุงโรม แต่อยู่นอกเขตแดนของนครรัฐวาติกันประมาณ 4 กิโลเมตรไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ แม้จะไม่ได้อยู่ในวาติกัน แต่อัครมหาวิหารแห่งนี้มีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในฐานะสมบัติของสันตะสำนัก จากผลของสนธิสัญญาลาเตรัน ค.ศ. 1929 ระหว่างสันตะสำนักวาติกันกับรัฐบาลอิตาลี

ประติมากรรมเหล่าอัครทูต

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1702 เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 11 และพระคาร์ดินัลเบเนตโต แปมปีลี หัวหน้าบาทหลวงประจำอัครมหาวิหาร ประกาศจะสร้างประติมากรรมแกะสลักของอัครทูตจำนวน 12 องค์ในขนาดที่ใหญ่กว่าตัวจริง เนื่องจากเป็นแผนงานขนาดใหญ่ จึงเปิดให้ช่างแกะสลักชั้นนำส่วนใหญ่ในกรุงโรมสามารถเข้ามามีส่วนร่วม[5] เจ้าชายเลื่องพระนามหลายพระองค์เข้ามารับเป็นเจ้าภาพในงานรูปสลักแต่ละแห่ง แห่งละหนึ่งพระองค์ ส่วนองค์พระสันตะปาปาทรงอาสารับเป็นเจ้าภาพรูปสลักนักบุญเปโตร ในขณะที่พระคาร์ดินัลเบเนตโต แปมปีลี อาสารับเป็นเจ้าภาพรูปสลักนักบุญยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร

อ้างอิง

[แก้]
  1. Milioni, Albano (2007). L'Arcibasilica papale del Laterano nei secoli. Quasar. p. 142. Statuta Patriarchalis Archibasilicae Ss.mi Salvatoris ac SS. Ioannis Baptistae et Ioannis Evangelistae ad Lateranum Romanae Ecclesiae Cathedralis.
  2. The archbasilica is within Italian territory and not the territory of the Vatican City State. (Lateran Treaty of 1929, Article 15 (The Treaty of the Lateran by Benedict Williamson; London: Burns, Oates, and Washbourne Limited, 1929; pages 42–66) เก็บถาวร 2018-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) However, the Holy See fully owns the archbasilica, and Italy is legally obligated to recognize its full ownership thereof (Lateran Treaty of 1929, Article 13 (Ibidem เก็บถาวร 2018-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)) and to concede to it "the immunity granted by International Law to the headquarters of the diplomatic agents of foreign States" (Lateran Treaty of 1929, Article 15 (Ibidem เก็บถาวร 2018-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)).
  3. "มิสซา ณ มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-03. สืบค้นเมื่อ 2011-12-30.
  4. Sacred-destinations.com. San Giovanni in Laterano (Basilica of St. John Lateran), Rome. [www.sacred-destinations.com/italy/rome-st-john-lateran.htm]
  5. "The largest sculptural task in Rome during the early eighteenth century," per Rudolph Wittkower, Art and Architecture in Italy, 1600–1750, Revised Edition, 1965, p. 290, provides that "the distribution for commissions is, at the same time, a good yardstick for measuring the reputation of contemporary sculptors."

ข้อมูลเพิ่มเติม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]