ข้ามไปเนื้อหา

ปลาฉลามหิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Chiloscyllium griseum)
ปลาฉลามหิน
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Chondrichthyes
ชั้นย่อย: Elasmobranchii
อันดับ: Orectolobiformes
วงศ์: Hemiscylliidae
สกุล: Chiloscyllium
สปีชีส์: C.  griseum
ชื่อทวินาม
Chiloscyllium griseum
J. P. Müller & Henle, 1838
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง

Chiloscyllium indicum var. obscurum* Ogilby, 1888
Chiloscyllium obscurum* Gray, 1851
Scyliorhinus unicolor* Blainville, 1816


* ชื่อพ้องคลุมเครือ

ปลาฉลามหิน หรือ ปลาฉลามกบ[2] (อังกฤษ: Grey bamboo shark, Bamboo cat shark, ชื่อวิทยาศาสตร์: Chiloscyllium griseum) เป็นปลาทะเลกระดูกอ่อนจำพวกปลาฉลาม

อยู่ในวงศ์ Hemiscylliidae มีลักษณะคล้ายกับปลาฉลามกบ (C. punctatum) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน

มีขนาดยาวเต็มที่ไม่เกิน 1 เมตร พบได้ทั่วไปในพื้นทะเลทุกสภาพ ไม่ว่าจะเป็นพื้นทราย, พื้นโคลน หรือทรายปนโคลน กระจายพันธุ์อย่างกว้างไกลตั้งแต่ทะเลอาหรับ, ปากีสถาน, อินเดีย, ศรีลังกา, ทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, ทะเลญี่ปุ่น, ทะเลตะวันออก, ทะเลฟิลิปปิน, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

เมื่อยังเป็นลูกปลาวัยอ่อน จะมีสีสันและลวดลายสวยงาม โดยจะมีสีขาวเป็นสีพื้น และมีสีดำสลับเป็นปล้อง ๆ จึงมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า "ปลาฉลามปล้องอ้อย" แต่เมื่อโตขึ้นแล้วลวดลายเหล่านี้จะหายไป เหลือเพียงแค่ลำตัวสีเขียวหรือเทาตลอดทั้งลำตัว และมีจุดกระสีดำเป็นจุด ๆ ทั้งลำตัวไปจรดปลายหาง

เป็นปลาฉลามที่ออกลูกเป็นไข่ โดยลักษณะไข่เป็นกระเปาะคล้ายแคปซูลรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเปลือกเหนียวและมีเส้นใยไว้ยึดติดกับวัสดุใต้น้ำ ลูกปลาจะใช้เวลาในการพัฒนาตัวในกระเปาะไข่ประมาณ 12 สัปดาห์ โดยกินอาหารจากถุงไข่แดง และเมื่อฟักออกมาแล้วจะสามารถหาอาหารกินได้เองเลย ซึ่งได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็กที่อาศัยอยู่หน้าดินพื้นทะเล

จัดเป็นปลาฉลามที่มีขนาดเล็ก และมีสีสันสวยงามโดยเฉพาะเมื่อยังเล็ก จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม ซึ่งสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในสถานที่เลี้ยง ซึ่งการขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงเมื่อแม่ปลาออกไข่มาแล้ว จะเก็บขึ้นมาอนุบาลในบ่อที่มีกระแสน้ำไหลเวียนและมีคุณภาพดี จนกว่าลูกปลาจะฟักออกมาเป็นตัว[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Lisney, T.J. and R.D. Cavanagh (2003). Chiloscyllium griseum. In: IUCN 2003. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on January 11, 2009.
  2. ฉลาม น.ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
  3. นันทวัฒน์ โชติสุวรรณ, ปลาทะเลสวยงาม ที่เพาะพันธุ์ได้ ในประเทศไทย คอลัมน์ Blue Planet หน้า 140 นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 2 ฉบับที่ 21: มีนาคม 2012

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]