ข้ามไปเนื้อหา

ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติฌอร์ฌ ปงปีดู

พิกัด: 48°51′38″N 2°21′09″E / 48.860653°N 2.352411°E / 48.860653; 2.352411
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Centre Pompidou)
ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติฌอร์ฌ ปงปีดู
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทพิพิธภัณฑ์
สถาปัตยกรรมคตินิยมหลังนวยุค/ไฮเทค
เมืองปารีส
ประเทศประเทศฝรั่งเศส
พิกัด48°51′38″N 2°21′09″E / 48.860653°N 2.352411°E / 48.860653; 2.352411
เริ่มสร้างค.ศ. 1971-1977
ผู้สร้างฌอร์ฌ ปงปีดู
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกเรนโซ เปียโน
ริชาร์ด รอเจอส์
จันฟรันโค ฟรันคีนี

ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติฌอร์ฌ ปงปีดู (ฝรั่งเศส: Centre national d'art et de culture Georges-Pompidou) หรือที่นิยมเรียกว่า ศูนย์ฌอร์ฌ ปงปีดู (Centre Georges-Pompidou), ศูนย์ปงปีดู (Centre Pompidou), ศูนย์โบบูร์ (Centre Beaubourg) และ โบบูร์ (Beaubourg) เป็นกลุ่มอาคารอเนกประสงค์ในย่านโบบูร์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส อาคารได้รับการออกแบบนวัตกรรมเชิงไฮเทค โดยเรนโซ เปียโน และริชาร์ด รอเจอส์ ซึ่งต่างเป็นสถาปนิกรางวัลพริตซ์เกอร์และหนึ่งในผู้บุกเบิกคตินิยมหลังนวยุค และรวมไปถึงจันฟรันโค ฟรันคีนี (Gianfranco Franchini) สถาปนิกชาวอิตาลี

อาคารประกอบด้วยหลายส่วน ได้แก่ ห้องสมุดสารสนเทศสาธารณะ (Bibliothèque publique d'information) ซึ่งเป็นห้องสมุดสาธารณะขนาดใหญ่, พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่แห่งชาติ (Musée National d'Art Moderne) เป็นพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และในส่วนสุดท้ายคือ สถาบันการวิจัยและความร่วมมือทางเสียง/ดนตรี (IRCAM) ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยด้านเสียงและด้านดนตรี พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เดิมเป็นที่รู้จักในชื่อ "โบบูร์" ด้วยสาเหตุมาจากที่ตั้งของสถานที่[1][2][3] ส่วนในชื่อปัจจุบันมาจากชื่อของฌอร์ฌ ปงปีดู ประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนที่ 2 (ระหว่างปี ค.ศ. 1969-1974) ผู้ริเริ่มให้สร้างอาคารแห่งนี้ขึ้น ซึ่งได้เปิดอย่างเป็นทางการครั้งแรกในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1977 โดยมีประธานาธิบดีวาเลรี ฌิสการ์ แด็สแต็ง เป็นประธานเปิด ข้อมูลในปี ค.ศ. 2006 พิพิธภัณฑ์ได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1977 มาแล้วมากกว่า 180 ล้านคน[4] และมากกว่า 5,209,678 คนในปี ค.ศ. 2013 เพียงปีเดียว[5]

พิพิธภัณฑ์เป็นที่รู้จักในเรื่องของการออกแบบที่นำเสนอโครงสร้างภายในล้วน ๆ ทั้งโครงเหล็ก คอนกรีตเสริมเหล็ก แม้กระทั่งพวกท่อต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นการออกแบบที่แตกต่างมากในขณะนั้น ที่โดยปกติแล้วจะปกปิดไม่ให้เห็นโครงสร้าง การออกแบบได้รับคำชื่มชมจากหลายส่วนทั้งจากสื่อมวลชนอย่างเนชั่นแนล จีโอกราฟิก, เดอะนิวยอร์กไทมส์[6] เป็นต้น

สำหรับประติมากรรม ฮอริซอนทัล (Horizontal) ซึ่งเป็นประติมากรรมจลดุลสูงกว่า 25 ฟุต (7.6 เมตร) สร้างสรรค์ขึ้นโดยอเล็กซานเดอร์ คาลเดอร์ ซึ่งได้นำมาตั้งไว้ในปี ค.ศ. 2012 หน้าพิพิธภัณฑ์

เป็นต้น

[แก้]
  1. Serge Lasvignes, un nouvel énarque à la tête de Beaubourg, la-croix.com, 4 March 15
  2. Pompidou : Serge Lasvignes s'explique, Fleur Pellerin assume, lefigaro.fr, 5 March 2015
  3. Roberto Rossellini, Beaubourg, centre d'art et de culture, 1977 au cinéma
  4. "La fréquentation du Centre Pompidou (Global attendance of Pompidou Center), 2006". Mediation. Centre Pompidou. สืบค้นเมื่อ 2014-12-05.
  5. Since 2006, the calculated attendance of the centre includes only those of the Musée National d'Art Moderne and of the public library but no more those of the panorama tickets or cinemas, festivals, lectures, bookshops, workshops, restaurants, etc: 929,431 visitors in 2004 or 928,380 in 2006, which should bring the actual total attendance of the centre to more than 6 million
  6. Pogrebin, Robin (2007-03-28). "British Architect Wins 2007 Pritzker Prize". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2011-05-03.