เซซิล โรดส์
เซซิล โรดส์ | |
---|---|
โรดส์ ป.ค.ศ. 1900 | |
นายกรัฐมนตรีอาณานิคมแหลม คนที่ 7 | |
ดำรงตำแหน่ง 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1890 – 12 มกราคม ค.ศ. 1896 | |
กษัตริย์ | สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย |
ผู้ว่าการ | เซอร์ เฮนรี ลอช เซอร์ วิลเลียม กอร์ดอน คาเมรอน เซอร์ เฮอร์คิวลีส โรบินสัน |
ก่อนหน้า | จอห์น กอร์ดอน สปริก |
ถัดไป | จอห์น กอร์ดอน สปริก |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | เซซิล จอห์น โรดส์ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1853 บิชอปส์สตอร์ตฟอร์ด ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ ประเทศอังกฤษ |
เสียชีวิต | 26 มีนาคม ค.ศ. 1902 มิวเซนเบิร์ก อาณานิคมแหลม | (48 ปี)
ที่ไว้ศพ | มาลินดีจีมู อุทยานแห่งชาติมาโตโบ ประเทศซิมบับเว |
เชื้อชาติ | บริติช |
พรรคการเมือง | เสรีนิยม[1] |
ความสัมพันธ์ | แฟรงก์ โรดส์ (พี่ชาย) |
ศิษย์เก่า | วิทยาลัยโอเรียล |
อาชีพ |
|
ลายมือชื่อ | |
เซซิล จอห์น โรดส์ (อังกฤษ: Cecil John Rhodes; 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1853 – 26 มีนาคม ค.ศ. 1902)[2] เป็นนักการเมืองชาวอังกฤษและผู้ทรงอิทธิพลด้านการทำเหมืองแร่ในภูมิภาคแอฟริกาใต้ เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอาณานิคมแหลมตั้งแต่ ค.ศ. 1890 ถึง ค.ศ. 1896 โรดส์เป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของลัทธิจักรวรรดินิยมอังกฤษในทวีปแอฟริกา เขาและบริษัทแอฟริกาใต้ของบริเตนมีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งดินแดนโรดีเชีย (ปัจจุบันคือประเทศแซมเบียและซิมบับเว) ซึ่งภูมิภาคนี้ได้รับการตั้งชื่อตามเขาใน ค.ศ. 1895[3] โรดส์ยังมีวิสัยทัศน์ในการสร้างทางรถไฟจากแหลมถึงไคโรที่เชื่อมอาณานิคมของอังกฤษ และจัดตั้งทุนโรดส์ (Rodes Scholarship) เพื่อสนับสนุนการศึกษาด้วยทรัพย์มรดกของเขา
โรดส์เกิดที่ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ในครอบครัวของวิการ์ (vicar) ด้วยสุขภาพที่อ่อนแอตั้งแต่วัยเยาว์ ครอบครัวจึงส่งตัวเขาไปยังแอฟริกาใต้เมื่ออายุ 17 ปี โดยเชื่อว่าสภาพอากาศอบอุ่นจะช่วยฟื้นฟูสุขภาพของเขาได้ ต่อมาเมื่ออายุ 18 ปี เขาเข้าสู่วงการค้าเพชรที่เมืองคิมเบอร์ลีย์ และเริ่มสร้างเครือข่ายธุรกิจด้วยการซื้อและควบรวมกิจการเหมืองเพชรอย่างเป็นระบบ โดยได้รับเงินสนับสนุนจากรอธส์ไชลด์แอนด์คอมปานี (Rothschild & Co) ภายในเวลา 20 ปี เขาได้ผูกขาดตลาดค้าเพชรเกือบทั้งหมดในโลก และได้ก่อตั้งบริษัทเดอเบียร์สใน ค.ศ. 1888 ซึ่งยังคงเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเพชรในศตวรรษที่ 21
โรดส์เข้าสู่รัฐสภาอาณานิคมแหลมเมื่ออายุ 27 ปี[4] และได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีใน ค.ศ. 1890 ในช่วงดำรงตำแหน่ง เขาใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อผลักดันกฎหมายที่จำกัดสิทธิของชาวแอฟริกันผิวดำ เช่น พระราชบัญญัติเกลนเกรย์ที่ริบที่ดินจากชาวพื้นเมือง และพระราชบัญญัติสิทธิลงคะแนนเสียงที่เพิ่มเกณฑ์ทรัพย์สินสำหรับการลงคะแนนเสียง เพื่อกีดกันชาวแอฟริกันผิวดำจากการเลือกตั้ง[5][6] โรดส์ลาออกจากตำแหน่งใน ค.ศ. 1896 หลังการตีโฉบฉวยเจมสันที่ล้มเหลวในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ (หรือทรานส์วาล) ในช่วงหลังสุขภาพของเขาทรุดโทรมลง และถึงแก่แสัญกรรมใน ค.ศ. 1902 อัฐิของเขาถูกฝังในประเทศซิมบับเว และหลุมศพของเขากลายเป็นประเด็นถกเถียงในเวลาต่อมา
แม้โรดส์จะมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ แต่สิ่งสืบเนื่องจากผลงานและแนวคิดของเขายังคงเป็นที่ถกเถียงจนถึงปัจจุบัน[7] โดยเฉพาะการยึดครองที่ดินของชาวพื้นเมืองผิวดำและการสนับสนุนลัทธิจักรวรรดินิยม ตัวอย่างเช่น การอ้างเท็จว่าแหล่งโบราณคดีสำคัญในแอฟริกาตอนใต้อย่างเกรตซิมบับเวถูกสร้างขึ้นโดยอารยธรรมยุโรป[8][9][10] การกระทำเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์และรณรงค์ต่อต้านในยุคปัจจุบัน เช่น ขบวนการโรดส์มัสต์ฟอลล์ (Rhodes Must Fall) ซึ่งมุ่งท้าทายผลกระทบทางประวัติศาสตร์และสังคมจากมรดกของเขาในแอฟริกาใต้และภูมิภาคอื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม ในความปรารถนาสุดท้าย โรดส์ได้ก่อตั้งทุนการศึกษาโรดส์ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ซึ่งถือเป็นทุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยมอบทุนให้แก่ผู้รับจำนวน 102 ทุนในแต่ละปี ทุนนี้มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนบุคคลผู้มีศักยภาพทั่วโลก ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงนายกรัฐมนตรีของมอลตา ออสเตรเลีย และแคนาดา ตลอดจนบิล คลินตัน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ
บรรพบุรุษ
[แก้]โรดส์เกิดเมื่อ ค.ศ. 1853 ในเมืองบิชอปส์สตอร์ตฟอร์ด มณฑลฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ ประเทศอังกฤษ เป็นบุตรชายคนที่ห้าของบาทหลวงฟรานซิส วิลเลียม โรดส์ (ค.ศ. 1807–1878) และลุยซา พีค็อก ผู้เป็นภรรยา[11] ฟรานซิสเป็นเคลอจีในคริสตจักรแห่งอังกฤษ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งคูเรตถาวร (perpetual curate) ประจำที่เบรนท์วูด มณฑลเอสเซกซ์ (ค.ศ. 1834–1843) และต่อมาเป็นวิการ์ (vicar) ในบิชอปส์สตอร์ตฟอร์ด (ค.ศ. 1849–1876) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าไม่เคยเทศนาเกินสิบนาที[12]
ฟรานซิสเป็นบุตรชายคนโตของวิลเลียม โรดส์ (ค.ศ. 1774–1855) ผู้ประกอบการผลิตอิฐจากแฮคนีย์เซ็นทรัล มณฑลมิดเดิลเซกซ์ ครอบครัวนี้เป็นเจ้าของที่ดินที่สำคัญในแฮคนีย์และดัลสตัน กรุงลอนดอน ซึ่งเซซิลจะได้รับมรดกในเวลาต่อมา[13]
บรรพบุรุษที่สืบสายตรงที่สุดของเซซิล โรดส์ คือ เจมส์ โรดส์ (มีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ. 1660) จากหมู่บ้านวิทมอร์ มณฑลสแตฟฟอร์ดเชอร์[14] เซซิลมีพี่น้อง คือ แฟรงก์ โรดส์ ซึ่งเป็นนายทหารกองทัพสหราชอาณาจักร
มุมมองทางการเมือง
[แก้]
โรดส์ต้องการขยายจักรวรรดิบริติช เพราะเขาเชื่อว่าเชื้อชาติแองโกล-แซกซันถูกลิขิตมาให้สูงส่ง[11] ใน ค.ศ. 1877 ขณะที่เขายังเป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด เขาได้เขียนถึงแนวคิดนี้ไว้ในเอกสารที่เขาเรียกว่า "ร่างแนวคิดบางส่วนของข้าพเจ้า" โดยระบุว่า "ข้าพเจ้ายืนยันว่าเราคือเชื้อชาติอันดับหนึ่งของโลก และยิ่งเราได้ครอบครองโลกมากเท่าไร มันก็ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ ข้าพเจ้ายืนยันว่าทุกเอเคอร์ที่เพิ่มเข้ามาในอาณาเขตของเรา หมายถึงการเกิดของเชื้อชาติอังกฤษที่เพิ่มขึ้น ซึ่งหากไม่มีพื้นที่เหล่านั้น ผู้คนเหล่านี้อาจไม่ได้ถือกำเนิดขึ้นเลย"[15] โรดส์ยังแสดงความเสียใจที่ไม่มีดินแดนให้พิชิตเหลืออยู่มากนัก และกล่าวว่า "การได้เห็นดวงดาวในยามค่ำคืน โลกอันกว้างใหญ่ที่เราไม่สามารถไปถึงได้ ข้าพเจ้าอยากยึดครองดาวเคราะห์ต่าง ๆ หากข้าพเจ้าทำได้ ข้าพเจ้ามักจะคิดถึงเรื่องนี้ มันทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกโศกเศร้าที่ได้เห็นมันอย่างชัดเจน แต่ก็ยังอยู่ไกลเกินเอื้อม"[16]
นอกจากนี้ โรดส์มองว่าจักรวรรดินิยมเป็นวิธีแก้ปัญหาสังคมภายในประเทศ เขากล่าวว่า "เพื่อช่วยชีวิตประชากร 40 ล้านคนในสหราชอาณาจักรจากสงครามกลางเมืองอันนองเลือด เราผู้เป็นรัฐบุรุษอาณานิคมจึงต้องเข้ายึดดินแดนใหม่เพื่อให้ประชากรส่วนเกินสามารถตั้งรกรากได้ และเพื่อเปิดตลาดใหม่สำหรับสินค้าที่ผลิตในโรงงานและเหมืองแร่ วลี "จักรวรรดิ" อย่างที่ข้าพเจ้ากล่าวตลอด เป็นเรื่องของปากท้อง หากท่านต้องการหลีกเลี่ยงสงครามกลางเมือง ท่านต้องเป็นนักจักรวรรดินิยม"[17]
โรดส์ต้องการพัฒนาเครือจักรภพ โดยทุกประเทศที่อยู่ภายใต้จักรวรรดิบริติชจะมีตัวแทนในรัฐสภาบริเตน[18] เขายังระบุไว้ชัดเจนในพินัยกรรมของเขาว่าทุกเชื้อชาติควรมีสิทธิได้รับทุนการศึกษา[19] มีการกล่าวว่าเขาต้องการสร้างชนชั้นนำชาวอเมริกันที่เป็นราชาปราชญ์ ซึ่งจะทำให้สหรัฐกลับมารวมอยู่ในจักรวรรดิอีกครั้ง นอกจากนี้ เนื่องจากโรดส์เคารพและชื่นชมชาวเยอรมันและจักรพรรดิ เขาจึงอนุญาตให้นักศึกษาเยอรมันมีสิทธิได้รับทุนการศึกษาโรดส์ด้วย เขาเชื่อว่าท้ายที่สุดสหราชอาณาจักร (รวมถึงไอร์แลนด์) สหรัฐ และเยอรมนีจะร่วมกันครอบครองโลกและรักษาสันติภาพชั่วนิรันดร์[20][ต้องการเลขหน้า]
มุมมองของโรดส์เกี่ยวกับเรื่องเชื้อชาติเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกัน บ้างระบุว่าเขาสนับสนุนสิทธิของชาวแอฟริกันพื้นเมืองในการออกเสียง[21] แต่ก็มีผู้วิจารณ์ที่เรียกเขาว่าเป็น "สถาปนิกของการถือผิว"[22] และเป็น "พวกที่เชื่อว่าคนผิวขาวนั้นสูงส่ง" โดยเฉพาะตั้งแต่ ค.ศ. 2015 เป็นต้นมา[23][24][25] มากูบาเนกล่าวว่าโรดส์ไม่พอใจที่ในหลายเขตเลือกตั้งของอาณานิคมแหลม เขากังวลว่าชาวแอฟริกันอาจมีบทบาทสำคัญ หากมีผู้ใช้สิทธิลงคะแนนมากขึ้นตามกฎหมายในขณะนั้น [หมายถึงพระราชบัญญัติสิทธิลงคะแนนเสียงที่ได้รับการรับรอง] เขาเสนอว่า "ชาวพื้นเมืองควรถูกปฏิบัติเหมือนเด็กและถูกปฏิเสธสิทธิเลือกตั้ง เราจำเป็นต้องนำระบบเผด็จการแบบอินเดียมาใช้ในการสร้างความสัมพันธ์ของเรากับชนป่าเถื่อนในแอฟริกาใต้"[26] โรดส์สนับสนุนการปกครองชาวแอฟริกันพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในอาณานิคมแหลมภายใต้ "สถานะของชนป่าเถื่อนและการครอบครองร่วมกัน" ในฐานะ "ชนชาติที่อยู่ภายใต้การปกครอง" โดยเขากล่าวว่า "ข้าพเจ้าไม่ได้เห็นด้วยกับสมาชิกจากวิกตอเรียเวสต์ที่ไม่ต้องการให้คนผิวดำมีสิทธิออกเสียง ... หากคนผิวขาวรักษาสถานะของตนในฐานะชนชาติสูงสุดไว้ได้ วันหนึ่งเราอาจรู้สึกขอบคุณที่เรายังมีชาวพื้นเมืองอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมของพวกเขา"[21]
เขาเคยกล่าวว่า "ข้าพเจ้าชอบที่ดินมากกว่าคนผิวดำ" และเรียกเชื้อชาติ "แองโกล-แซกซัน" ว่าเป็น "ชนชาติที่ดีที่สุด มีมนุษยธรรมที่สุด และทรงเกียรติที่สุดในโลก"[27] เขาเชื่อว่าดินแดนที่ถูก "ตัวอย่างที่เลวร้ายที่สุดของมนุษย์" ครอบครอง ควรถูกแองโกล-แซกซันยึดครอง[28]
อย่างไรก็ตาม มุมมองเหล่านี้ถูกบางฝ่ายโต้แย้ง นักประวัติศาสตร์ เรย์มอนด์ ซี. เมนซิง กล่าวว่าโรดส์มีชื่อเสียงในฐานะตัวอย่างที่เด่นชัดของจิตวิญญาณจักรวรรดิบริติช และมักเชื่อว่าสถาบันของบริเตนดีที่สุด เมนซิงอ้างว่าโรดส์พัฒนาความคิดเกี่ยวกับสหพันธ์จักรวรรดิในแอฟริกาอย่างเงียบ ๆ และความคิดเห็นของเขาในช่วงหลังมีความสมดุลและสมเหตุสมผลมากขึ้น เมนซิงชี้ว่า "โรดส์ไม่ได้เป็นผู้เหยียดเชื้อชาติในเชิงชีววิทยา หากแต่เป็นผู้เหยียดเชื้อชาติในเชิงวัฒนธรรม"[29] ใน ค.ศ. 2016 ศาสตราจารย์ไนเจล บิกการ์ แห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด เขียนบทความในเดอะไทมส์ว่า ถึงแม้โรดส์จะเป็นนักจักรวรรดินิยม แต่ข้อกล่าวหาเรื่องการเหยียดเชื้อชาตินั้นไม่มีมูลความจริง[30] โดยบทความใน ค.ศ. 2021 บิกการ์ยังระบุเพิ่มเติมอีกว่า[31]
หากโรดส์เป็นผู้เหยียดเชื้อชาติ เขาคงไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชาวแอฟริกันรายบุคคลได้ และคงไม่เห็นว่าชาวแอฟริกันมีความสามารถในการพัฒนาอารยธรรม นอกจากนี้ เขาคงไม่สนับสนุนสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนของพวกเขา และคงไม่ระบุในพินัยกรรมสุดท้ายของเขาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1899 ว่าทุนการศึกษาที่มีชื่อของเขาไม่ควรคำนึงถึง 'เชื้อชาติ' แต่เขากลับทำสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด
ในด้านการเมืองภายในสหราชอาณาจักร โรดส์สนับสนุนพรรคเสรีนิยม[1] ผลกระทบหลักที่เขามีต่อการเมืองอังกฤษ คือ การสนับสนุนอย่างมหาศาลต่อพรรคชาตินิยมไอริชที่นำโดยชาลส์ สจวร์ต พาร์เนลล์ (ค.ศ. 1846–1891)[32]
โรดส์มีความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานร่วมกับชาวอาฟรีกาเนอร์ในอาณานิคมแหลม โดยเขาสนับสนุนการสอนภาษาดัตช์ควบคู่ไปกับภาษาอังกฤษในโรงเรียนรัฐบาล ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอาณานิคมแหลม เขาช่วยยกเลิกข้อจำกัดทางกฎหมายส่วนใหญ่ที่เคยมีต่อชาวอาฟรีกาเนอร์[20] โรดส์ยังเป็นเพื่อนกับยาน ฮอฟเมเยอร์ (Jan Hofmeyr) ผู้นำสหภาพอาฟรีกาเนอร์ (Afrikaner Bond) และเป็นเพราะการสนับสนุนจากชาวอาฟรีกาเนอร์ที่ทำให้เขาได้เป็นนายกรัฐมนตรี[33] นอกจากนี้ โรดส์ยังสนับสนุนการปกครองตนเองที่มากขึ้นสำหรับอาณานิคมแหลม ซึ่งสอดคล้องกับความชอบของเขาที่ต้องการให้จักรวรรดิอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ตั้งถิ่นฐานและนักการเมืองในท้องถิ่นมากกว่าการควบคุมจากลอนดอน
นักวิชาการและนักเขียนชาวซิมบับเว ปีเตอร์ ก็อดวิน (Peter Godwin) ซึ่งมีท่าทีวิจารณ์โรดส์ ระบุว่าควรมองโรดส์ผ่านมุมมองทางวัฒนธรรมและสังคมในยุคของเขา โดยก็อดวินชี้ว่า "โรดส์ไม่ใช่ฮิตเลอร์แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 เขาไม่ใช่ตัวประหลาดแต่เป็นคนในยุคสมัยของเขาเอง...โรดส์และผู้บุกเบิกผิวขาวในแอฟริกาใต้ประพฤติในลักษณะที่น่ารังเกียจตามมาตรฐานในปัจจุบัน แต่ไม่ได้แย่ไปกว่าผู้ตั้งถิ่นฐานผิวขาวในอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และออสเตรเลีย และในบางแง่มุมอาจจะดีกว่าด้วยซ้ำ เพราะการสังหารหมู่ชนพื้นเมืองในแอฟริกานั้นไม่สมบูรณ์เท่ากับในทวีปอื่น ๆ อดีตอาณานิคมแอฟริกาทั้งหมดในปัจจุบันปกครองโดยชนพื้นเมือง ซึ่งแตกต่างจากในอเมริกาและออสเตรเลียที่ชนพื้นเมืองส่วนใหญ่แทบถูกกำจัดหมดสิ้น"
ก็อดวินยังกล่าวเสริมว่า "โรดส์และกลุ่มพรรคพวกของเขาปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและยึดถือคุณธรรม (หรือขาดมัน) ของยุคสมัยได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งตามปรกติแล้ว ประวัติศาสตร์ก็มักดำเนินไปตามแรงดึงดูดของอำนาจที่เหนือกว่า"
สิ่งสืบเนื่อง
[แก้]โรดส์ตกเป็นเป้าของเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยนักประวัติศาสตร์บางคนมองว่าเขาเป็นนักจักรวรรดินิยมที่ไร้ความปรานีและเป็นพวกที่เชื่อว่าคนผิวขาวนั้นสูงส่ง (white supremacist)[34] ในประเทศซิมบับเว หลุมศพของเขาที่ตั้งอยู่ในเนินเขามาโตโบยังคงเป็นประเด็นถกเถียงอย่างต่อเนื่อง ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2010 เคน มาเธมา (Cain Mathema) ผู้ว่าราชการเมืองบูลาวาโย ได้ประณามหลุมศพของโรดส์ว่าเป็น "การดูหมิ่นบรรพบุรุษชาวแอฟริกัน" และเชื่อว่าการมีอยู่ของหลุมศพนี้นำมาซึ่งโชคร้ายและสภาพอากาศที่ย่ำแย่ในภูมิภาคดังกล่าว[35]
ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 กลุ่มผู้ภักดีต่อรอเบิร์ต มูกาบี และนักเคลื่อนไหวของแนวร่วมรักชาติของสหภาพแห่งชาติแอฟริกันซิมบับเว (ZANU-PF) เดินทางไปยังที่ไว้ศพของโรดส์เพื่อขออนุญาตจากผู้นำท้องถิ่นในการขุดย้ายอัฐิของเขาเพื่อนำกลับไปยังอังกฤษ หลายฝ่ายมองว่านี่เป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ทางการเมืองในช่วงก่อนการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม ผู้นำท้องถิ่นมาซูกู และกอดฟรีย์ มาฮาชี นักโบราณคดีผู้เชี่ยวชาญของประเทศ ได้คัดค้านแนวคิดการย้ายหลุมศพอย่างหนักแน่น โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของหลุมศพที่มีต่อประเทศซิมบับเว ในขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีมูกาบีก็แสดงการคัดค้านแนวคิดดังกล่าวเช่นกัน[36] ใน ค.ศ. 2004 โรดส์ได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับที่ 56 ในรายการโทรทัศน์เกรตเซาท์แอฟริกันส์ (Great South Africans) ของช่องเอสเอบีซี 3[37] นอกจากนี้ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งหนึ่งที่เมืองกเวรู ในภูมิภาคมิดแลนด์ของประเทศซิมบับเว ยังได้รับการตั้งชื่อตามเขา อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 ระหว่างช่วงที่การปฏิรูปที่ดินและความตึงเครียดทางเชื้อชาติกำลังรุนแรง นักการเมืองของแนวร่วมรักชาติได้เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนทั่วประเทศที่เกี่ยวข้องกับยุคอาณานิคม แต่ความพยายามดังกล่าวส่วนใหญ่ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าเรื่องนี้ไม่จำเป็น ทั้งยังมองว่าชื่อสถานที่ที่พวกเขาอาศัยอยู่สะท้อนถึงอัตลักษณ์และมรดกทางวัฒนธรรมอันหลากหลายของประเทศ ขณะเดียวกันก็เรียกร้องให้รัฐบาลยอมรับประวัติศาสตร์ของประเทศและเปิดโอกาสให้ตั้งชื่อใหม่สำหรับสถานที่ใหม่ ๆ ในเมืองที่กำลังขยายตัว
ในพินัยกรรมฉบับที่สองของเขา ซึ่งเขียนขึ้นในช่วงก่อนที่เขาจะมั่งคั่งใน ค.ศ. 1877 เขาได้แสดงความปรารถนาที่จะสร้างสมาคมลับซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้โลกทั้งใบอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ นักชีวประวัติของเขาอธิบายแนวคิดนี้ว่าเป็น "จินตนาการที่กว้างไกล"[38] โรดส์วาดฝันถึงสมาคมลับนี้เพื่อขยายอิทธิพลของอังกฤษไปทั่วโลก รวมถึงจีน ญี่ปุ่น แอฟริกา อเมริกาใต้ และแม้กระทั่งสหรัฐอเมริกา ดังที่ระบุไว้ว่า
เพื่อการก่อตั้ง ส่งเสริม และพัฒนาสมาคมลับ อันมีเป้าหมายแท้จริงในการขยายการปกครองของอังกฤษไปทั่วโลก เพื่อความสมบูรณ์แบบของระบบการย้ายถิ่นฐานจากสหราชอาณาจักร และของการตั้งถิ่นฐานโดยชาวอังกฤษในทุกหนแห่งที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความพากเพียร การทำงาน และความมุ่งมั่น เพื่อการปรับปรุงระบบการย้ายถิ่นฐานจากสหราชอาณาจักร และการตั้งถิ่นฐานโดยชาวอังกฤษในทุกดินแดนที่สามารถดำรงชีวิตด้วยความพากเพียร การทำงาน และความมุ่งมั่น โดยเฉพาะการตั้งถิ่นฐานของชาวอังกฤษในทวีปแอฟริกาทั้งหมด แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ หุบเขาแม่น้ำยูเฟรทีส เกาะไซปรัสและครีต ทวีปอเมริกาใต้ หมู่เกาะแปซิฟิกที่ยังไม่ได้อยู่ในการครอบครองของอังกฤษ หมู่เกาะมาเลย์ ชายฝั่งของจีนและญี่ปุ่น รวมถึงการฟื้นฟูสหรัฐอเมริกาให้กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอังกฤษอย่างสมบูรณ์ เพื่อการริเริ่มระบบตัวแทนอาณานิคมในรัฐสภาแห่งจักรวรรดิ ซึ่งอาจนำไปสู่การเชื่อมโยงอาณานิคมที่แตกแยกให้เป็นหนึ่งเดียว และท้ายที่สุด เพื่อสร้างมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่จนสามารถทำให้สงครามหมดสิ้น และส่งเสริมผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของมนุษยชาติ[39]
— เซซิล โรดส์
พินัยกรรมฉบับสุดท้ายของโรดส์ที่เขียนขึ้นในช่วงที่เขามั่งคั่งแล้วมีเป้าหมายที่เป็นจริงมากขึ้น โดยมุ่งเน้นไปที่การมอบทุนการศึกษา เขายังมอบที่ดินผืนใหญ่บนเชิงภูเขาโต๊ะให้แก่ประเทศแอฟริกาใต้ ส่วนหนึ่งของที่ดินนี้กลายเป็นวิทยาเขตส่วนบนของมหาวิทยาลัยเคปทาวน์ อีกส่วนหนึ่งกลายเป็นสวนพฤกษศาสตร์แห่งชาติเคิร์สเตนบอช และพื้นที่บางส่วนได้รับการอนุรักษ์ไว้จากการพัฒนา ซึ่งปัจจุบันเป็นเขตอนุรักษ์ที่สำคัญ[40] นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยโรดส์ในประเทศแอฟริกาใต้ก็ได้รับการตั้งชื่อตามเขาเช่นกัน
ทุนการศึกษาโรดส์
[แก้]ในพินัยกรรมฉบับสุดท้าย โรดส์ได้จัดตั้งทุนการศึกษาโรดส์ ซึ่งในช่วงครึ่งศตวรรษก่อนหน้านี้ ทางรัฐบาล มหาวิทยาลัย และบุคคลในอาณานิคมต่าง ๆ ได้เริ่มจัดตั้งทุนการศึกษาสำหรับการเดินทางในลักษณะนี้ ดังนั้นทุนของโรดส์จึงเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางที่มีอยู่แล้ว[41] ทุนนี้เปิดโอกาสให้นักศึกษาชายจากดินแดนภายใต้การปกครองของอังกฤษหรือที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ รวมถึงเยอรมนี ได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ซึ่งเป็นสถาบันที่โรดส์เคยศึกษา เป้าหมายของโรดส์คือการส่งเสริมภาวะผู้นำที่มีจิตสาธารณะและมีคุณธรรม รวมถึงการ "ทำให้สงครามเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้" โดยส่งเสริมมิตรภาพระหว่างมหาอำนาจ[42][43]
อนุสรณ์
[แก้]อนุสรณ์สถานโรดส์ ตั้งอยู่บนจุดที่โรดส์โปรดปรานบนยอดเดวิล เมืองเคปทาวน์ โดยหันหน้ามองไปทางทิศเหนือและตะวันออกสู่เส้นทางแหลมถึงไคโร ตั้งแต่ ค.ศ. 1910 ถึง ค.ศ. 1984 บ้านของโรดส์ในเคปทาวน์ที่ชื่อว่า Groote Schuur เคยเป็นที่พักอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีแอฟริกาใต้ และต่อมาใช้เป็นที่พำนักของประธานาธิบดี
บ้านเกิดของโรดส์ถูกจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ใน ค.ศ. 1938 ในชื่อ "พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์โรดส์" ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ พิพิธภัณฑ์บิชอปส์สตอร์ตฟอร์ด (Bishops Stortford Museum) ส่วนกระท่อมในมิวเซนเบิร์ก (Muizenberg) ที่เขาถึงแก่กรรมนั้นเป็นแหล่งมรดกประจำจังหวัดเวสเทิร์นเคป ปัจจุบันกระท่อมดังกล่าวเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ภายใต้การดูแลของสมาคมอนุรักษ์ประวัติศาสตร์มิวเซนเบิร์ก และเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ ภายในจัดแสดงสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับโรดส์มากมาย รวมถึงโต๊ะประชุมเดิมของบริษัทเดอเบียร์ส ซึ่งใช้ในการซื้อขายเพชรมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์[ต้องการอ้างอิง]
วิทยาลัยอุดมศึกษาโรดส์ หรือปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยโรดส์ ที่ตั้งอยู่ในเมืองเกรแฮมส์ทาวน์ ก่อตั้งขึ้นตามชื่อของเขาโดยผู้จัดการทรัพย์สิน และก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติรัฐสภาเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1904
พลเมืองคิมเบอร์ลีย์ จังหวัดนอร์เทิร์นเคป เลือกสร้างอนุสรณ์สถานเพื่อเชิดชูเกียรติของโรดส์ในเมืองของพวกเขา อนุสรณ์นี้เปิดตัวใน ค.ศ. 1907 โดยเป็นรูปปั้นทองสัมฤทธิ์น้ำหนัก 72 ตัน แสดงภาพโรดส์ขี่ม้า หันหน้าไปทางทิศเหนือ ถือแผนที่ในมือ และแต่งกายเหมือนเมื่อครั้งเขาพบกับชาวอึงเดเบเลหลังการกบฏ[44]
เซซิล จอห์น โรดส์ ผู้ก่อตั้งประเทศโรดีเชีย (ปัจจุบันคือประเทศซิมบับเว) ได้เยือนเมืองนยังกา (Nyanga) บริเวณที่สูงทางตะวันออกของประเทศครั้งแรกใน ค.ศ. 1897 เขาประทับใจกับความงดงามของพื้นที่ และซื้อที่ดินรวม 40,000 เฮกตาร์ จากนั้นได้นำเข้าปศุสัตว์จากโมซัมบิกและพัฒนาแปลงปลูกแอปเปิลและผลไม้อย่างกว้างขวาง เมื่อเขาถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1902 โรดส์ได้มอบที่ดินส่วนใหญ่ให้แก่ประเทศชาติ ที่ดินเหล่านี้ปัจจุบันกลายเป็นอุทยานแห่งชาตินยังกา (Nyanga National Park) บ้านไร่ดั้งเดิมของโรดส์ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดีเยี่ยมและปัจจุบันกลายเป็นโรงแรมโรดส์นยังกา (Rhodes Nyanga Hotel)
การต่อต้าน
[แก้]การสร้างอนุสรณ์แด่โรดส์ถูกต่อต้านตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1950 โดยมีนักศึกษาชาวแอฟริกันบางกลุ่มเรียกร้องให้ถอดรูปปั้นของโรดส์ออกจากมหาวิทยาลัยเคปทาวน์[45] ใน ค.ศ. 2015 ขบวนการที่เรียกว่า "โรดส์มัสต์ฟอลล์" (หรือ #RhodesMustFall ในโซเชียลมีเดีย) เริ่มต้นขึ้นจากการประท้วงของนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยเคปทาวน์ ซึ่งประสบความสำเร็จในการผลักดันให้ทางมหาวิทยาลัยถอดรูปปั้นโรดส์ออกจากบริเวณมหาวิทยาลัย[46] การประท้วงนี้ยังมีเป้าหมายที่กว้างขึ้นในการเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างด้านเชื้อชาติในสถาบันต่าง ๆ ของแอฟริกาใต้หลังยุคการถือผิว[47]
หลังจากการประท้วงและการทำลายรูปปั้นในมหาวิทยาลัยเคปทาวน์ การเคลื่อนไหวที่ต่อต้านอนุสรณ์สถานของโรดส์ก็ได้ขยายไปยังประเทศอื่น ๆ รวมถึงการรณรงค์เปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยโรดส์[48] และเรียกร้องให้ถอดรูปปั้นโรดส์ออกจากวิทยาลัยโอเรียล มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด[49] การเคลื่อนไหวดังกล่าวได้รับการกล่าวถึงในสารคดีของแชนแนลโฟร์ในชื่อ "The Battle for Britain’s Heroes"[50] ซึ่งจัดทำขึ้นหลังจากอาฟัว เฮิร์ช (Afua Hirsch) เขียนบทความเกี่ยวกับหัวข้อนี้ นอกจากนี้ อามิต ชัวธูรี (Amit Chaudhuri) ยังได้เขียนบทความในหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน โดยระบุว่าการวิจารณ์โรดส์เป็นสิ่งที่ "ไม่น่าแปลกใจและล่าช้ามานาน"[51] ขณะที่เคฮินเด แอนดรูว์ (Kehinde Andrews) นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาของคนผิวดำ ได้สนับสนุนการเคลื่อนไหว #RhodesMustFall อย่างแข็งขัน[52] อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 2016 วิทยาลัยโอเรียลเลือกที่จะเก็บรูปปั้นของโรดส์ไว้[53] โดยอ้างว่าการถอดรูปปั้นอาจทำให้สูญเสียเงินบริจาคกว่า 100 ล้านปอนด์[54] แต่ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2020 วิทยาลัยได้ลงมติสนับสนุนการจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวนอิสระ ท่ามกลางการสนับสนุนอย่างกว้างขวางสําหรับการถอดรูปปั้น[55] รูปปั้นของโรดส์ถูกสร้างขึ้นในเมืองบูลาวาโยใน ค.ศ. 1904 ในใจกลางเมือง โดยหลังจาก ค.ศ. 1981 หลังจากประเทศได้รับเอกราช รูปปั้นถูกย้ายไปยังสวนร้อยปีที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติซิมบับเว
สารานุกรมบริแทนนิกากล่าวถึงสิ่งสืบเนื่องของโรดส์ไว้ว่า "เขาเคยกล่าวว่านโยบายของเขาคือ 'สิทธิที่เท่าเทียมกันสำหรับคนผิวขาวทุกคนทางตอนใต้ของแม่น้ำแซมบีซี' และต่อมาแก้ไขเป็น 'คนที่มีอารยะ' ภายใต้แรงกดดันจากกลุ่มเสรีนิยม แต่สำหรับโรดส์ ความเป็นไปได้ที่ชาวแอฟริกันพื้นเมืองจะถูกมองว่า 'มีอารยะ' นั้นช่างห่างไกลจนคำสองคำนี้แทบจะมีความหมายเดียวกันในมุมมองของเขา"[56]
มรดกของโรดส์ส่วนหนึ่ง หลังจากที่เขาเสียชีวิต เขาได้ทิ้งเงินจำนวนมากเพื่อสนับสนุนนักศึกษาที่มีความสามารถ ("เชื้อชาติ" ไม่ใช่เกณฑ์ในการคัดเลือก) ให้ศึกษาในมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด โดยปัจจุบันมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดมีนักศึกษาจากแอฟริกาใต้และซิมบับเวที่ได้รับทุนจากมรดกนี้บางส่วนออกมาเรียกร้องให้ถอดรูปปั้นของโรดส์ในออกซฟอร์ด เมื่อถูกถามถึงความย้อนแย้งในเรื่องการรับทุนจากมูลนิธิของโรดส์และการได้รับประโยชน์จากโอกาสนั้น ขณะเดียวกันก็ตั้งคำถามต่อมรดกของเขา นักเคลื่อนไหวชาวแอฟริกาใต้คนหนึ่งชื่อ Ntokozo Qwabe ตอบว่า "ทุนการศึกษานี้ไม่ได้ซื้อความเงียบของเรา...ไม่มีความย้อนแย้งในการเป็นผู้รับทุนโรดส์และการวิจารณ์มรดกของเซซิล โรดส์ต่อสาธารณะ...ไม่มีข้อกำหนดใดที่บังคับให้เราต้องค้นหาด้าน 'ดี' ในตัวโรดส์ หรือทำให้วาระอาณานิคมและจักรวรรดิของเขาดูขาวสะอาด"[57]
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2020 ท่ามกลางบริบทที่กว้างขึ้นของการประท้วงแบล็กไลฟส์แมตเทอร์ ทางคณะผู้บริหารของวิทยาลัยโอเรียลจึงลงมติให้ถอดรูปปั้นของโรดส์ที่ตั้งอยู่บนด้านหน้าของวิทยาลัยซึ่งหันหน้าไปทางไฮสตรีทในออกซฟอร์ด[58] อย่างไรก็ตาม การถอดรูปปั้นจะยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะถึงช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 2021 เมื่อคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นโดยวิทยาลัยส่งรายงานเกี่ยวกับอนาคตของรูปปั้นดังกล่าว[59] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2021 คณะกรรมการรายงานว่า แม้ว่าสมาชิกส่วนใหญ่จะสนับสนุนการถอดรูปปั้น แต่ต้นทุนในการดำเนินการที่สูงเกินไปทำให้วิทยาลัยตัดสินใจที่จะไม่ดำเนินการต่อ[60]
เชิงอรรถ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Pinney 1995, p. 72.
- ↑ The Times & 27 March 1902.
- ↑ Sanger, Clyde William; Ingham, Kenneth (2024-11-29). "British, South Africa, Company". Encyclopedia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2024-12-01.
- ↑ Rotberg 1988, p. 128.
- ↑ Dowden, Richard (17 April 1994). "Apartheid: made in Britain: Richard Dowden explains how Churchill, Rhodes and Smuts caused black South Africans to lose their rights". The Independent. London. สืบค้นเมื่อ 15 January 2016.
- ↑ History of South Africa Timeline (1485–1975) เก็บถาวร 13 กันยายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Maylam, Paul (14 January 2016). "What Cecil John Rhodes said in his will about who should get scholarships". The Conversation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-13.
- ↑ "'Colonialism had never really ended': my life in the shadow of Cecil Rhodes". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2021-01-14. สืบค้นเมื่อ 2022-03-13.
- ↑ "Cecil Rhodes was a racist, but you can't readily expunge him from history | Will Hutton". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2015-12-20. สืบค้นเมื่อ 2022-03-13.
- ↑ Koutonin, Mawuna (2016-08-18). "Lost cities #9: racism and ruins – the plundering of Great Zimbabwe". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-13.
- ↑ 11.0 11.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อsahistory.org.za
- ↑ Davies, Andrew John (14 August 1995). "site unseen : Netteswell House, Bishop's Stortford". The Independent (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 26 February 2021.
- ↑ "The Rhodes Settled Estates". The National Archives.
- ↑ "Papers of the Rhodes Family (Hildersham Hall collection)". bodley.ox.ac.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-27. สืบค้นเมื่อ 4 August 2019.
- ↑ Rhodes 1902, p. 58.
- ↑ Bell 2022, p. 131.
- ↑ Parry 1983.
- ↑ Rotberg 1988, p. 150.
- ↑ Biggar 2016.
- ↑ 20.0 20.1 Flint 2009.
- ↑ 21.0 21.1 Magubane 1996, p. 109.
- ↑ Castle 2016.
- ↑ Mnyanda, Siya (25 March 2015). "'Cecil Rhodes' colonial legacy must fall – not his statue'". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 15 January 2016.
- ↑ Karen Attiah (25 November 2015). "Woodrow Wilson and Cecil Rhodes must fall". The Washington Post. Washington, D.C. สืบค้นเมื่อ 15 January 2016.
- ↑ Plaut, Martin (16 April 2015). "From Cecil Rhodes to Mahatma Gandhi: why is South Africa tearing its statues down?". New Statesman. London. สืบค้นเมื่อ 15 January 2016.
- ↑ Magubane 1996, p. 108.
- ↑ Phillip, Riley (2007). Language, Culture and Identity: An Ethnolinguistic Perspective. Bloomsbury Academic. p. 29.
- ↑ Robert I., Rotberg; Shore, Miles F. (1990). The Founder Cecil Rhodes and the Pursuit of Power. Oxford University Press. p. 100.
- ↑ Mensing 1986, pp. 99–106.
- ↑ Moyse, Ashley (2016). "The Controversial Legacy of Cecil Rhodes". McDonald Centre.
- ↑ Biggar, Nigel (12 August 2021). "Cecil Rhodes and the Abuse of History". History Reclaimed (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ McCracken 2003, pp. 22–24.
- ↑ Rotberg 1988, pp. 131–33.
- ↑ Maylam 2005, p. 6.
- ↑ Kenrick, David (2019). Decolonisation, Identity and Nation in Rhodesia, 1964–1979: a race against time. Springer. ISBN 978-3-030-32697-5.
- ↑ Laing 2012.
- ↑ Blair 2004.
- ↑ Rotberg 1988, p. 102.
- ↑ Michael Howard, The Lessons of History (1992) p. 66.
- ↑ Rotberg 1988, pp. 663–69.
- ↑ Pietsch 2011, pp. 723–39.
- ↑ Rhodes 1902, pp. 23–45.
- ↑ Philip Ziegler, Legacy: Cecil Rhodes, the Rhodes Trust and Rhodes Scholarships (Yale UP, 2008) online review
- ↑ Maylam 2005, p. 56.
- ↑ Masondo, Sipho (22 March 2015). "Rhodes: As divisive in death as in life". News24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2016. สืบค้นเมื่อ 20 January 2016.
- ↑ "Op-Ed: Rhodes statue removed from uct". The Rand Daily Mail. Johannesburg: Times Media Group. 9 April 2015. สืบค้นเมื่อ 10 April 2015.
- ↑ Grootes, Stephen (6 April 2015). "Op-Ed: Say it aloud – Rhodes must fall". Daily Maverick. สืบค้นเมื่อ 7 April 2015.
- ↑ Ispas, Mara. "Rhodes Uni Council approves plans for name change". SA Breaking News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2018. สืบค้นเมื่อ 1 June 2015.
- ↑ Hind, Hassan (12 July 2015). "Oxford Students Want 'Racist' Statue Removed". Sky News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2017. สืบค้นเมื่อ 13 July 2015.
- ↑ O'Grady, Sean (29 March 2019). "TV Review: The Battle for Britain's Heroes (Channel 4)". The Independent (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2 April 2019.
- ↑ Chaudhuri, Amit (16 March 2016). "The real meaning of Rhodes Must Fall". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2 April 2019.
- ↑ "The Real Cecil Rhodes". New Politic. 19 November 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2022. สืบค้นเมื่อ 20 February 2022.
- ↑ Scott, Peter (2 February 2016). "Oxford students' fight to topple Cecil Rhodes statue was the easy option". The Guardian.
- ↑ Rawlinson, Kevin (28 January 2016). "Cecil Rhodes statue to remain at Oxford after 'overwhelming support'". The Guardian.
- ↑ Mohdin, Aamna; Adams, Richard; Quinn, and Ben (17 June 2020). "Oxford college backs removal of Cecil Rhodes statue". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 17 June 2020.
- ↑ Encyclopaedia Britannica Effects Of The Jameson Raid On Rhodes’s Career
- ↑ "Cecil Rhodes statue row: Chris Patten tells students to embrace freedom of thought". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 13 January 2016. สืบค้นเมื่อ 17 June 2020.
- ↑ Shakib, Delara; Linda Givetash (18 June 2020). "Rhodes will fall: Oxford University to remove statue amid anti-racism calls". NBC News. สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
- ↑ Race, Michael (5 January 2021). "Decision over future of Oxford's Cecil Rhodes statue delayed". BBC News. สืบค้นเมื่อ 27 April 2021.
- ↑ Race, Michael (20 May 2021). "Removal of Oxford's Cecil Rhodes statue on hold over costs". BBC News. สืบค้นเมื่อ 20 May 2021.
แหล่งข้อมูล
[แก้]บทความ
[แก้]- Aldrich, Robert; Wotherspoon, Garry (2001). Who's who in Gay and Lesbian History: From Antiquity to World War II. Routledge. ISBN 978-0-415-15982-1.
- Alexander, Eleanor, บ.ก. (1914). "Chapter XIV: South Africa 1893". Primate Alexander, Archbishop of Armagh. A memoir. London: Edward Arnold. p. 259.
- Bell, Duncan (2022). Dreamworlds of Race: Empire and the Utopian Destiny of Anglo-America. Princeton University Press.
{{cite book}}
: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์) - Bigelow, Bill; Peterson, Bob (2002). Rethinking Globalization: Teaching for Justice in an Unjust World. Milwaukee: Rethinking Schools. ISBN 978-0-942961-28-7.
- Blake, Robert (1977). A History of Rhodesia. London: Methuen. ISBN 978-0413283504.
- Anon (2007). Boschendal: founded 1685. Boschendal Ltd. ISBN 978-0-620-38001-0.
- Britten, Sarah (2006). The Art of the South African Insult. 30° South Publishers. ISBN 978-1-920143-05-3.
- Colvin, Ian (1922). The Life of Jameson. London: E. Arnold and Co. ISBN 978-1-116-69524-3.
- Currey, John Blades; Simons, Phillida Brooke (1986). 1850 to 1900: fifty years in the Cape Colony. Brenthurst Press. ISBN 978-0-909079-31-4.
- Davidson, Apollon Borisovich (2003). Cecil Rhodes and his Time. Christopher English (trans.). Protea Book House. ISBN 978-1-919825-24-3.
- Epstein, Edward Jay (1982). The rise and fall of diamonds: the shattering of a brilliant illusion. Simon and Schuster. ISBN 978-0671412890.
- Ferguson, Niall (1999). The house of Rothschild: the world's banker, 1849–1999. Viking. ISBN 978-0-670-88794-1.
- Flint, John (2009). Cecil Rhodes. Little, Brown. ISBN 978-0-316-08670-7., a scholarly biography
- Galbraith, John S. Crown and Charter: the Early Years of the British South Africa Company (1974).
- Garrett, F. Edmund (1905). . The Empire and the century. London: John Murray. pp. 478–520.
- Johari, J. C. (1993). Voices Of Indian Freedom Movement. Anmol Publications Pvt. Limited. ISBN 978-81-7158-225-9.[ลิงก์เสีย]
- Judd, Denis, and Keith Surridge. The Boer War: A History (Bloomsbury Publishing, 2013).
- Knowles, Lilian Charlotte Anne; Knowles, Charles Matthew (2005). The Economic Development of the British Overseas Empire. Taylor & Francis. ISBN 978-0415350488.
- Le Sueur, Gordon (1913). Cecil Rhodes. The Man and His Work. London: London.
- Lockhart, John Gilbert; Woodhouse, Christopher Montague (1963). Cecil Rhodes: The Colossus of Southern Africa. Macmillan.
- McDonald, J.G. (1917). Rhodes – A Life. London: Chatto & Windus. p. 403.
- Magubane, Bernard M. (1996). The Making of a Racist State: British Imperialism and the Union of South Africa, 1875–1910. Trenton, New Jersey: Africa World Press. ISBN 978-0865432413.
- Martin, Meredith (2009). Diamonds, Gold, and War: The British, the Boers, and the Making of South Africa. CreateSpace. ISBN 978-1-4587-1877-8.
- Massie, Robert K. (1991). Dreadnought: Britain, Germany and the Coming of the Great War. London: Jonathan Cape. ISBN 978-1781856680.
- McCracken, Donal P. (2003). Forgotten Protest: Ireland and the Anglo-Boer War. Ulster Historical Foundation. pp. 22–24. ISBN 978-1903688182.
- Millin, Sarah Gertrude (1933). Rhodes. Harper & brothers.
- Oberholster, A. G.; Van Breda, Pieter (1987). Paarl Valley, 1687–1987. Human Sciences Research Council. ISBN 0-7969-0539-8.
- Pakenham, Thomas (1992). Boer War. HarperCollins. ISBN 978-0380720019.
- Parsons, Neil (1993). A New History of Southern Africa. London: Macmillan. ISBN 978-0-8419-5319-2.
- Phelan, T. (1913). The Siege of Kimberley. Dublin: M.H. Gill and Son. ISBN 978-0-554-24773-1.
- Picton-Seymour, Désirée (1989). Historical Buildings in South Africa. Struikhof Publishers. ISBN 978-0-947458-01-0.
- Pinney, Thomas (1995). The Letters of Rudyard Kipling: Volume 3: 1900–10. Palgrave Macmillan UK. p. 72. ISBN 978-1349137398.
- Plomer, William (1984). Cecil Rhodes. D. Philip. ISBN 978-0-08646018-9.
- Radziwill, Princess Catherine (1918). Cecil Rhodes: Man and Empire Maker. London, New York, Toronto and Melbourne: Cassell & Company, Ltd. ISBN 978-0-554-35300-5.
- Rhodes, Cecil (1902). Stead, William Thomas (บ.ก.). . London.
- Roberts, Brian (1969). Cecil Rhodes and the Princess. Lippincott.
- Roberts, Brian (1976). Kimberley: Turbulent City. D. Philip. ISBN 978-0-949968-62-3.
- Rönnbäck, Klas; Broberg, Oskar (2019). Capital and Colonialism: The Return on British Investments in Africa 1869–1969. Springer. ISBN 978-3-030-19711-7.
- Rosenthal, Eric (1965). South African Surnames. H. Timmins.
- Rotberg, Robert I. (1988). The Founder: Cecil Rhodes and the Pursuit of Power. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-987920-5.; 856pp; the standard scholarly biography says McFarlane, (2007)
- Simpson, William; Jones, Martin Desmond (2000). Europe, 1783–1914. Routledge. p. 237. ISBN 978-0-415-22660-8.
- Thomas, Antony (1997). Rhodes: Race for Africa. St. Martin's Press. ISBN 978-0-312-16982-4.
- Thompson, J. Lee (2007). Forgotten Patriot: A Life of Alfred, Viscount Milner of St. James's and Cape Town, 1854–1925. Fairleigh Dickinson Univ Press. ISBN 978-0-8386-4121-7.
- Twain, Mark (1898). A Journey around the World. Hartford, CT: The American Publishing Company.
- Williams, Basil (1921). Cecil Rhodes. Holt.
- Wilson, Scott (2016). Resting Places: The Burial Sites of More Than 14,000 Famous Persons, 3d ed. McFarland. ISBN 978-1-4766-2599-7.
สารานุกรม
[แก้]- Domville-Fife, C.W. (1900). The encyclopedia of the British Empire the first encyclopedic record of the greatest empire in the history of the world. Bristol: Rankin. p. 89.
- Farwell, Byron (2001). The Encyclopedia of Nineteenth-century Land Warfare: An Illustrated World View. W. W. Norton & Company. ISBN 978-0-393-04770-7.
- Panton, Kenneth J. (2015). Historical Dictionary of the British Empire. London: Rowman & Littlefield. ISBN 978-0810878013.
บทความวารสาร
[แก้]- Brown, Richard (November 1990). "The Colossus". The Journal of African History. Cambridge University Press. 31 (3): 499–502. doi:10.1017/S002185370003125X. S2CID 197414114.
- Gray, J.A. (1956). "A Country in Search of a Name". The Northern Rhodesia Journal. III (1): 75–78. สืบค้นเมื่อ 1 August 2014.
- Gray, J.A. (1954). "First Records-? 6. The Name Rhodesia". The Northern Rhodesia Journal. II (4): 101–02. สืบค้นเมื่อ 1 August 2014.
- Lowry, Donal (2004). "'The granite of the ancient North': race, nation and empire at Cecil Rhodes's mountain mausoleum and Rhodes House, Oxford". ใน Wrigley, Richard; Craske, Matthew (บ.ก.). Pantheons: Transformations of a Monumental Idea. Ashgate. ISBN 978-0-7546-0808-0.
- Mensing, Raymond C. (1986). "Cecil Rhodes's Ideas of Race and Empire". International Social Science Review. 61 (3): 99 – โดยทาง ProQuest.
- Parry, Richard (1983). ""In a Sense Citizens, but Not Altogether Citizens...": Rhodes, Race, and the Ideology of Segregation at the Cape in the Late Nineteenth Century". Canadian Journal of African Studies. 17 (3).
- Pietsch, Tamson (2011). "Many Rhodes: travelling scholarships and imperial citizenship in the British academic world, 1880–1940". History of Education. 40 (6): 723–39. doi:10.1080/0046760X.2011.594096. ISSN 0046-760X. S2CID 144672521.
- Plumb, J. H. "Cecil Rhodes" History Today (June 1953) 3#6 pp 431–38.
- Rotberg, Robert I. (2014). "Did Cecil Rhodes Really Try to Control the World?". The Journal of Imperial and Commonwealth History. 42 (3): 551–67. doi:10.1080/03086534.2014.934000. ISSN 0308-6534. S2CID 159787554.
บทความหนังสือพิมพ์
[แก้]- Blair, David (19 October 2004). "Racists on List of 'Great South Africans'". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2022. สืบค้นเมื่อ 18 July 2014.
- Briggs, Simon (31 May 2009). "England on Guard as World Takes Aim in Twenty20 Stakes". The Daily Telegraph. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2022. สืบค้นเมื่อ 13 June 2009.
- Castle, Stephen (29 January 2016). "Oxford University Will Keep Statue of Cecil Rhodes". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 15 February 2016.
- "Death of Mr. Rhodes". The Times. 27 March 1902. p. 7.
- Laing, Aislinn (22 February 2013). "Robert Mugabe blocks Cecil John Rhodes Exhumation". The Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ 1 April 2013.
- "The Lottery of Life". The Independent. 5 May 2001. สืบค้นเมื่อ 26 January 2010.
เว็บไซต์
[แก้]- PBS: Empires; Queen Victoria; The Changing Empire; Characters : Cecil Rhodes
- Godwin, Peter (11 January 1998). "Rhodes to Hell". Slate. สืบค้นเมื่อ 7 January 2007.
- Biggar, Nigel (23 February 2016). "Rhodes, Race, and the Abuse of History". Standpoint. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 August 2019. สืบค้นเมื่อ 9 June 2016.
แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ
[แก้]- Verschoyle, F. (1900). Cecil Rhodes: His Political Life and Speeches, 1881–1900. Chapman and Hall Limited.
ประวัติศาสตร์นิพนธ์และความทรงจำ
[แก้]- Galbraith, John S. (2008). "Cecil Rhodes and his 'cosmic dreams': A reassessment". The Journal of Imperial and Commonwealth History. 1 (2): 173–89. doi:10.1080/03086537308582371. ISSN 0308-6534.
- McFarlane, Richard A. (2007). "Historiography of Selected Works on Cecil John Rhodes (1853–1902)". History in Africa. 34: 437–46. doi:10.1353/hia.2007.0013. S2CID 163034852.
- Maylam, Paul (2005). The Cult of Rhodes: Remembering an Imperialist in Africa. New Africa Books. ISBN 978-0-86486-684-4.
- Phimister, I.R. (2007). "Rhodes, Rhodesia and the Rand". Journal of Southern African Studies. 1 (1): 74–90. doi:10.1080/03057077408707924. ISSN 0305-7070.
- Van Hartesveldt, Fred R. (2000). The Boer War: Historiography and Annotated Bibliography. Greenwood Publishing Group. pp. 6–. ISBN 978-0-313-30627-3.
- von Tunzelmann, Alex (17 February 2016). "Rhodes Must Fall? A Question of When Not If". historytoday.com. สืบค้นเมื่อ 21 August 2017.
- Ziegler, Philip (2008). Legacy: Cecil Rhodes, the Rhodes Trust and Rhodes Scholarship s. Yale University Press. ISBN 978-0-300-11835-3. online review
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บทความวิกิพีเดียที่ต้องการอ้างอิงหมายเลขหน้าตั้งแต่ธันวาคม 2559
- บทความที่ขาดแหล่งอ้างอิงเฉพาะส่วนตั้งแต่ตุลาคม 2010
- CS1 maint: ref duplicates default
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่August 2023
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2396
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2445
- ประเทศโรดีเชีย
- บทความเกี่ยวกับ แอฟริกา ที่ยังไม่สมบูรณ์
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์