ข้ามไปเนื้อหา

กระรอกหลากสี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Callosciurus finlaysonii)
กระรอกหลากสี
ชนิด C. f. floweri พบในกรุงเทพมหานคร พฤษภาคม พ.ศ. 2561
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Rodentia
วงศ์: Sciuridae
สกุล: Callosciurus
สปีชีส์: C.  finlaysonii
ชื่อทวินาม
Callosciurus finlaysonii
(Horsfield, 1823)
ชนิดย่อย
  • C. f. finlaysonii
  • C. f. albivexilli
  • C. f. folletti
  • C. f. frandseni
  • C. f. germaini
  • C. f. harmandi
  • C. f. trotteri
  • C. f. annellatus
  • C. f. bocourti
  • C. f. boonsongi
  • C. f. cinnamomeus
  • C. f. ferrugineus
  • C. f. menamicus
  • C. f. nox
  • C. f. sinistralis
  • C. f. williamsoni
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

กระรอกหลากสี (อังกฤษ: Finlayson's squirrel, Variable squirrel; ชื่อวิทยาศาสตร์: Callosciurus finlaysonii) สัตว์ฟันแทะชนิดหนึ่ง เป็นกระรอกชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้ทั่วไปในภูมิภาคอินโดจีนจนถึงสิงคโปร์ สามารถพบได้ทั่วไปทั้งในตัวเมืองและในป่าเขาต่าง ๆ มีความหลากหลายทางสีสันเป็นอย่างยิ่ง โดยมากจะเป็นสีขาวครีมปนเหลืองอ่อน จนถึงสีแดงหรือสีดำทั้งตัว หรือบางตัวอาจมีหลายสีในตัวเดียวกัน

จัดเป็นกระรอกขนาดกลาง มีขนาดความยาวตั้งแต่หัวจรดโคนหาง 21–22 เซนติเมตร ความยาวหาง 22.5–24 เซนติเมตร ออกหากินในเวลาเช้าตรู่และพลบค่ำ นอนหลับพักผ่อนตามพุ่มใบไม้ ทำรังคล้ายรังนกด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ รูปทรงยาวอยู่ตามปลายกิ่งไม้ ตัวเมียมีเต้านม 2 คู่ ออกลูกครั้งละ 2 ตัว

ด้วยความหลากหลายทางสีสันและความกว้างขวางในพื้นที่กระจายพันธุ์ ทำให้มีชนิดย่อยถึง 16 ชนิด เช่น C. f. floweri ที่สามารถพบได้ในพื้นที่กรุงเทพมหานครตามสวนหรือสวนสาธารณะ, C. f. bocourti ที่มีสีขาวตลอดทั้งตัว พบมากในป่าสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา และ C. f. boonsongi พบมากตามป่าแถบภาคอีสาน ซึ่งตั้งชื่อชนิดย่อยเพื่อเป็นเกียรติแด่ นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล

สถานะการอนุรักษ์ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่ก็มีการนิยมซื้อขายและเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงด้วยเช่นกัน

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Callosciurus finlaysonii ที่วิกิสปีชีส์