คาร์บอนไดออกไซด์
มีข้อสงสัยว่าบทความนี้อาจละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ระบุไม่ได้ชัดเจนเพราะขาดแหล่งที่มา หรืออ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่ยังตรวจสอบไม่ได้ หากแสดงได้ว่าบทความนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แทนป้ายนี้ด้วย {{ละเมิดลิขสิทธิ์}} หากคุณมั่นใจว่าบทความนี้ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แสดงหลักฐานในหน้าอภิปราย โปรดอย่านำป้ายนี้ออกก่อนมีข้อสรุป |
| |||
ชื่อ | |||
---|---|---|---|
IUPAC name
Carbon dioxide
| |||
ชื่ออื่น
| |||
เลขทะเบียน | |||
3D model (JSmol)
|
|||
3DMet | |||
1900390 | |||
ChEBI | |||
ChEMBL | |||
เคมสไปเดอร์ | |||
ECHA InfoCard | 100.004.271 | ||
EC Number |
| ||
เลขอี | E290 (preservatives) | ||
989 | |||
KEGG | |||
MeSH | Carbon+dioxide | ||
ผับเคม CID
|
|||
RTECS number |
| ||
UNII | |||
UN number | 1013 (แก๊ส), 1845 (ของแข็ง) | ||
CompTox Dashboard (EPA)
|
|||
| |||
| |||
คุณสมบัติ | |||
CO2 | |||
มวลโมเลกุล | 44.009 g·mol−1 | ||
ลักษณะทางกายภาพ | แก๊สไร้สี | ||
กลิ่น |
| ||
ความหนาแน่น |
| ||
จุดวิกฤติ (T, P) | 304.128(15) K[2] (30.978(15) °C), 7.3773(30) MPa[2] (72.808(30) atm) | ||
194.6855(30) K (−78.4645(30) °C) ที่ 1 atm (0.101325 MPa) | |||
1.45 g/L at 25 °C (77 °F), 100 kPa (0.99 atm) | |||
ความดันไอ | 5.7292(30) MPa, 56.54(30) atm (20 °C (293.15 K)) | ||
pKa | 6.35, 10.33 | ||
−20.5·10−6 cm3/mol | |||
การนำความร้อน | 0.01662 W·m−1·K−1 (300 K (27 °C; 80 °F))[3] | ||
ดัชนีหักเหแสง (nD)
|
1.00045 | ||
ความหนืด |
| ||
0 D | |||
โครงสร้าง | |||
Trigonal | |||
เส้นตรง | |||
อุณหเคมี | |||
ความจุความร้อน (C)
|
37.135 J/(K·mol) | ||
Std molar
entropy (S⦵298) |
214 J·mol−1·K−1 | ||
Std enthalpy of
formation (ΔfH⦵298) |
−393.5 kJ·mol−1 | ||
เภสัชวิทยา | |||
V03AN02 (WHO) | |||
ความอันตราย | |||
NFPA 704 (fire diamond) | |||
ปริมาณหรือความเข้มข้น (LD, LC): | |||
LCLo (lowest published)
|
90,000 ppm (162,000 mg/m3)(human, 5 min)[6] | ||
NIOSH (US health exposure limits): | |||
PEL (Permissible)
|
TWA 5000 ppm (9000 mg/m3)[5] | ||
REL (Recommended)
|
TWA 5000 ppm (9000 mg/m3), ST 30,000 ppm (54,000 mg/m3)[5] | ||
IDLH (Immediate danger)
|
40,000 ppm (72,000 mg/m3)[5] | ||
เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (SDS) | Sigma-Aldrich | ||
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน | |||
แอนไอออนอื่น ๆ
|
|||
แคทไอออนอื่น ๆ
|
|||
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง
|
|||
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
|
คาร์บอนไดออกไซด์ (อังกฤษ: carbon dioxide) หรือ CO2 เป็นก๊าซไม่มีสี ซึ่งหากหายใจเอาก๊าซนี้เข้าไปในปริมาณมาก ๆ จะรู้สึกเปรี้ยวที่ปาก เกิดการระคายเคืองที่จมูกและคอ เนื่องจากอาจเกิดการละลายของแก๊สนี้ในเมือกในอวัยวะ ก่อให้เกิดกรดคาร์บอนิกอย่างอ่อน
คาร์บอนไดออกไซด์มีความหนาแน่น 1.98 kg/m3 ซึ่งเป็นประมาณ 1.5 เท่าของอากาศ โมเลกุลประกอบด้วยพันธะคู่ 2 พันธะ (O=C=O) หรือ CO2 น้ำหนักโมเลกุล 44.01 [9]ไม่ติดไฟและไม่ทำปฏิกิริยา
คาร์บอนไดออกไซด์ในสถานะของแข็ง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คาร์บอนไดออกไซด์แข็ง หรือ solid carbon dioxide เตรียมได้จากการนำแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มาผ่านกระบวนการอัดและทำให้เย็นลงภายใต้ความดันสูงกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์เหลว แล้วลดความดันลงอย่างรวดเร็วโดยการพ่นคาร์บอนไดออกไซด์เหลวสู่ความดันบรรยากาศ ผลที่ได้คือเกล็ดน้ำแข็งคล้ายเกล็ดหิมะแล้วจึงนำมาอัดเป็นรูป[10]
คาร์บอนไดออกไซด์จะกลายเป็นของแข็งที่มีสีขาวอุณหภูมิ -78 องศาเซลเซียส โดยไม่ผ่านการเป็นของเหลวก่อน หากต้องการทำให้คาร์บอนไดออกไซด์เป็นของเหลว ต้องใช้ความดันไม่น้อยกว่า 5.1 บรรยากาศ
คาร์บอนไดออกไซด์สามารถละลายน้ำได้ 1 เปอร์เซนต์ของสารละลายนั้นจะกลายเป็นกรดคาร์บอนิกซึ่งจะเปลี่ยนรูปเป็นไบคาร์บอเนตและคาร์บอเนตในภายหลัง
การทดสอบแก๊สคาร์บอนได้ออกไซด์ สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
- 1. นำธูปที่ติดไฟอยู่เข้าไปในหลอดทดลองที่มีคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ ไฟจะดับ เพราะคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ได้ช่วยในการติดไฟของสาร จึงนำมาใช้เป็นก๊าซดับเพลิงได้
- 2. ผ่านแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ไปในน้ำปูนใส (แคลเซียมไฮดรอกไซด์) น้ำปูนใสจะขุ่น เนื่องจากเกิดแคลเซียมคาบอเนตเกิดขึ้น
ประโยชน์ของน้ำแข็งแห้ง
[แก้]ด้านอุตสาหกรรม
- การบดเย็น (Cold Grinding) น้ำแข็งแห้งช่วยบดวัสดุสังเคราะห์ที่แตกยาก เช่น Plexiglas, PVC , Resin , Epoxy , ABS , Polypropylene , Vinyl และอื่น ๆ ด้วยการทำให้เย็นจัดบดแตกได้ง่าย
- การลดอุณหภูมิ (Low Temperature Refrigerant) ในอุตสาหกรรมเคมีและอิเล็กทรอนิกส์ น้ำแข็งแห้งเป็นตัวทำความเย็นต่ำที่หาได้ง่ายและใช้งานอย่างกว้างขวางในห้องปฏิบัติการ โรงงานนำร่อง ตู้ทดสอบอุณหภูมิต่ำทุกชนิด สายพานการผลิต และการประกอบชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกซ์
- การให้ความเย็นและก๊าซเฉื่อย (Inerting and Cooling) การใส่น้ำแข็งแห้งลงในถังผสมสารเคมี นอกจากจะช่วยให้เกิดความเย็นแล้วยังสามารถช่วยปกคลุมสารเคมี มิให้เกิดปฏิกิริยาในถัง
ด้านการขนส่ง
- บรรจุน้ำ แข็งแห้งน้ำหนักเบาไว้ในตู้คอนเทนเนอร์เพื่อป้องกันอาหารพวกเนื้อสัตว์ เนื้อไก่ ผัก ผลไม้ หรืออาหารทะเลมิให้เน่าเสียระหว่างการขนส่ง
และประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เช่น
- ในอุตสาหกรรมอาหารประเภทไอศกรีม นม เบเกอรี่ ไส้กรอก และเนื้อสัตว์ เพื่อถนอมอาหารในขั้นตอนการผลิตหรือในการขนส่งหรือเก็บอาหารสำหรับเสิร์ฟบนเครื่อง
บิน[11]
คาร์บอนไดออกไซด์ยังใช้สำหรับการผลิตน้ำอัดลมหรือโซดา และยังมีผสมในเบียร์ได้ตามธรรมชาติอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เบียร์บางยี่ห้อได้มีการใส่คาร์บอนไดออกไซด์โดยเจตนาด้วย
ข้อควรระวังจากการใช้น้ำแข็งแห้ง
[แก้]- หากจับต้องน้ำแข้งแห้งด้วยมือเปล่าหรือสัมผัสกับผิวหนังโดยตรงก็จะทำให้ผิวหนังไหม้ได้จากความเย็นจัด ( frost – bite ) ได้น้ำแข็งถือว่าเป็นวัตถุอันตรายชนิดหนึ่ง
- ซึ่งเกิดจากการบรรจุน้ำแข็งแห้งในภาชนะปิดสนิทไม่มีช่องระบายอาจทำให้เกิดการสะสมของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ระเหิดออกมา เมือถึงระดับหนึ่งจะเกิดแรงดันและระเบิดในที่สุด ดังนั้นในการขนส่งน้ำแข็งแห้งปริมาณมาก ๆ จะต้องเก็บในภาชนะบรรจุน้ำแข็งโดยเฉพาะที่มีช่องระบายอากาศ นอกจากจะเป็นการป้องกันการระเบิดแล้วยังช่วยลดอัตราการระเหิดของน้ำแข็งได้
- การเก็บน้ำแข็งแห้งปริมาณมาก ๆในห้องแคบ ๆ หรือห้องเพดานต่ำที่การระบายอากาศไม่ดีพอ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ระเหิดออกมาแทนที่ออกซิเจนที่ทำให้ขาดอากาศหายใจได้[12]
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นจากอันตรายของน้ำแข็งแห้ง
[แก้]- กรณีถูกน้ำแข็งแห้งกัดให้ล้างมือทันทีด้วยน้ำสะอาดในปริมาณมากและไปพบแพทย์
- การรักษาภาวะได้รับคาร์บอนไดออกไซด์เกิน (ร่วมกับภาวะขาดออกซิเจน) ต้องนำผู้ป่วยออกจากสภาวะขาดอากาศ หรือบริเวณที่มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สะสมอยู่มากออกมาให้เร็วที่สุดก่อน ตรวจดูทางเดินหายใจ ถ้าหมดสติและไม่หายใจแล้ว ต้องรีบทำการช่วยหายใจ หน่วยกู้ชีพอาจพิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อรักษาชีวิต และรีบให้ออกซิเจนเสริมด้วยความรวดเร็ว จากนั้นรีบนำส่งพบแพทย์[13]
เกร็ดความรู้เพิ่มเติม
[แก้]เป็นที่รู้กันดีว่าแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะหนักกว่าอากาศจึงมักจะลอยอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นหากจำเป็นต้องทำงานร่วมกับน้ำแข็งแห้ง ในพื้นที่แคบหรือพื้นที่กว้างที่ระบบถ่ายเทอากาศไม่สะดวก ควรมีการวางระบบระบายอากาศไว้บริเวณด้านล่างของพื้นที่ และถ้าในอากาศมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าร้อยละ 5 จะทำให้เกิดพิษได้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อAirProductsMSDS
- ↑ 2.0 2.1 Span R, Wagner W (1996-11-01). "A New Equation of State for Carbon Dioxide Covering the Fluid Region from the Triple‐Point Temperature to 1100 K at Pressures up to 800 MPa". Journal of Physical and Chemical Reference Data. 25 (6): 1519. Bibcode:1996JPCRD..25.1509S. doi:10.1063/1.555991.
- ↑ Touloukian YS, Liley PE, Saxena SC (1970). "Thermophysical properties of matter - the TPRC data series". Thermal Conductivity - Nonmetallic Liquids and Gases. Data book. 3.
- ↑ Schäfer M, Richter M, Span R (2015). "Measurements of the viscosity of carbon dioxide at temperatures from (253.15 to 473.15) K with pressures up to 1.2 MPa". The Journal of Chemical Thermodynamics. 89: 7–15. doi:10.1016/j.jct.2015.04.015.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards. "#0103". National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
- ↑ "Carbon dioxide". Immediately Dangerous to Life and Health Concentrations (IDLH). National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
- ↑ "Safety Data Sheet – Carbon Dioxide Gas – version 0.03 11/11" (PDF). AirGas.com. 12 February 2018. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 August 2018. สืบค้นเมื่อ 4 August 2018.
- ↑ "Carbon dioxide, refrigerated liquid" (PDF). Praxair. p. 9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 July 2018. สืบค้นเมื่อ 26 July 2018.
- ↑ จุฑารัตน์ ฉัตรวิริยาวงศ์และวิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์.2555. แหล่งที่มา:http://www.summacheeva.org/index_thaitox_carbon_dioxide.htm เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ จุฑารัตน์ ฉัตรวิริยาวงศ์และวิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์.2555. แหล่งที่มา:http://www.summacheeva.org/index_thaitox_carbon_dioxide.htm เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-24. สืบค้นเมื่อ 2021-09-08.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-24. สืบค้นเมื่อ 2021-09-08.
- ↑ http://www.vcharkarn.com/varticle/44006
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]แหล่งข้อมูลห้องสมุดเกี่ยวกับ คาร์บอนไดออกไซด์ |