ข้ามไปเนื้อหา

เคมีแสง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เคมีแสง (อังกฤษ: Photochemistry) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง แสง และ สารเคมี

  • กฎข้อแรกของวิชาเคมีแสงคือกรอตตัสส์-แดรปเพอร์ ลอว์(Grotthuss-Draper law) ซึ่งกล่าวว่าแสงจะต้องถูกสารเคมีดูดซับจึงจะเกิดปฏิกิริยาเคมีแสงขึ้นได้ ถ้าไม่มีการดูดซับแสงก็จะไม่มีปฏิกิริยาเคมี ตัวอย่างเช่น หญ้า เขียวเป็นสีเขียวเพราะ คลอโรฟิลล์ ซึ่งเป็นสารประกอบออรแกโนเมทัลลิก (organometallic) จะดูดซับแสงสีอื่นหมดและจะสะท้อนแสงสีเขียว (460nm to 600nm) ออกมาเราจึงมองเห็นหญ้าเป็นสีเขียว ถ้าเราทดลองปลูกพืชในที่ที่มีแสงสีเขียวสีเดียวพืชจะสะท้อนแสงสีเขียวไปหมดและมันจะไม่สามารถสังเคราะห์แสง ได้คือจะไม่มีปฏิกิริยาเคมีแสง เกิดขึ้น
  • กฎข้อที่สองของวิชาเคมีแสงคือสตาร์ก-ไอน์สไตน์ ลอว์(Stark-Einstein law) กล่าวว่าแต่ละโฟตอนที่ถูกดูดซับโดยระบบเคมี จะมีเพียง 1 โมเลกุลเท่านั้นที่ถูกกระตุ้นเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีแสง กฎข้อนี้อาจเรียกอีกอย่างว่ากฎสมดุลแสง (photoequivalence law) ซึ่งมีสาระสำคัญว่าหนึ่งโมเลกุลเท่านั้นที่ถูกกระตุ้นต่อการดูดซับโฟตอนหนึ่งตัว กฎข้อนี้ถูกเสนอโดยอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในขณะที่เขากำลังพัฒนาทฤษฎีควอนตั้มของแสง