ข้ามไปเนื้อหา

Retinal bipolar cell

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Bipolar cell of the retina)
Retinal bipolar cell
เรตินา เซลล์สองขั้วแสดงเป็นสีแดง
รายละเอียด
ระบบระบบการเห็น
ที่ตั้งเรตินา (ชั้นนิวเคลียสส่วนใน)
รูปร่างสองขั้ว
หน้าที่ส่งข้อมูลมีลักษณะเป็นเกรเดียนต์จากเซลล์รับแสงไปยัง retinal ganglion cell
สารส่งผ่านประสาทGlutamate
การเชื่อมก่อนจุดประสานประสาทเซลล์รูปแท่ง, เซลล์รูปกรวย และ Horizontal cell
การเชื่อมหลังจุดประสานประสาทRetinal ganglion cell กับ amacrine cell
ตัวระบุ
MeSHD051245
นิวโรเล็กซ์ IDnifext_31
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์

retinal bipolar cell[1][2][3] หรือเรียกเฉพาะว่า bipolar cell เป็นส่วนหนึ่งของ retina (จอตา, จอประสาทตา, เรติน่า)อยู่ระหว่างเซลล์รับแสง (คือเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวย) กับ retinal ganglion cell (หรือ ganglion cell ชื่อย่อว่า RGC) ทำหน้าที่ส่งสัญญานจากเซลล์รับแสงไปยัง ganglion cell ทั้งทางตรงและทางอ้อมดังที่เราได้กล่าวถึงในหน้าของเรติน่า

อธิบายคร่าว ๆ

[แก้]

Bipolar cell (แปลว่าเซลล์มีสองขั้ว) มีชื่อดังนี้ก็เพราะว่ามีส่วนยื่นออกจากเซลล์ทั้งสองข้างโดยมีตัวเซลล์อยู่ตรงกลาง เป็นเซลล์ที่รับข้อมูลผ่านไซแนปส์จากเซลล์รูปแท่งหรือเซลล์รูปกรวย (แต่ไม่เชื่อมกับทั้งสองพร้อม ๆ กัน) และรับข้อมูลจาก horizontal cell[4] อีกด้วย จากนั้น จึงส่งข้อมูลต่อไปยัง ganglion cell โดยตรง หรือโดยอ้อมผ่าน amacrine cell[5] โดยที่ไม่เหมือนเซลล์ประสาทโดยมาก bipolar cell ส่งสัญญาณเป็น graded potential แทนที่ศักยะงาน

ลักษณะต่าง ๆ

[แก้]

Bipolar cell รับข้อมูลผ่านไซแนปส์จากเซลล์รูปแท่งหรือเซลล์รูปกรวย แต่ไม่ใช่ทั้งสองพร้อม ๆ กัน ดังนั้น จึงมีชื่อว่า rod bipolar cell หรือว่า cone bipolar cell ตามลำดับ แต่มี cone bipolar cell ถึง 10 ประเภท และมี rod bipolar cell เพียงแค่ประเภทเดียว เพราะว่า เซลล์รูปแท่งเกิดขึ้นในประวัติวิวัฒนาการภายหลังเซลล์รูปกรวย

ในที่มืด เซลล์รับแสงจะปล่อยสารสื่อประสาทกลูตาเมต ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้ง (ทำให้เกิด hyperpolarization) ต่อ ON bipolar cell และมีฤทธิ์กระตุ้น (depolarization) ต่อ OFF bipolar cell แต่ในที่สว่าง แสงที่มากระทบกับเซลล์รับแสง จะมีผลเป็นการยับยั้งเซลล์รับแสง (เป็น hyperpolarization) เพราะปลุกฤทธิ์ของ opsin ซึ่งจะปลุกฤทธิ์ของ 11-trans-Retinal มีผลเป็นการให้พลังงานเพื่อกระตุ้นหน่วยรับความรู้สึก G-Protein coupled receptor ซึ่งปลุกฤทธิ์ของ phosphodiesterase (PDE) ที่แยก cGMP ออกเป็น GMP. ปกติแล้วในที่มืด เซลล์รับแสง จะมี cGMP เป็นจำนวนมาก มีผลเป็นการเปิดประตูโซเดียมที่เปิดปิดโดย cGMP (cGMP-gated Na Channel) และดังนั้น การปลุกฤทธิ์ของ PDE (ที่สืบเนื่องจากการมีแสงสว่าง) ก็จะลดจำนวนของ cGMP และลดจำนวนประตูโซเดียมที่เปิด มีผลเป็นภาวะ hyperpolarization ของเซลล์รับแสง ซึ่งนำไปสู่การลดการปล่อยสารสื่อประสาทกลูตาเมต กระบวนการนี้เป็นการระงับการยับยั้งของ ON bipolar cell ทำให้เซลล์เปลี่ยนสภาพเป็น depolarization คือเซลล์เริ่มส่งสัญญาณ ในขณะที่เป็นการระงับการเร้าของ OFF bipolar cell ทำให้เซลล์เปลี่ยนสภาพเป็น hyperpolarization คือเซลล์จะหยุดส่งสัญญาณ[6]

Rod bipolar cell ไม่ได้เชื่อมไซแนปส์โดยตรงกับ retinal ganglion cell แต่เชื่อมกับ amacrine cell[5] ประเภท A II ซึ่งทำการเร้า cone ON bipolar cell ผ่าน gap junction และทำการระงับ cone OFF bipolar cell ผ่านไซแนปส์แบบยับยั้งสื่อโดยไกลซีน และดังนั้นจึงเป็นการเข้ายึดวิถีประสาทของเซลล์รูปกรวย เพื่อใช้ส่งข้อมูลไปยัง ganglion cell ในที่สลัว[7]

OFF bipolar cell มีไซแนปส์ในส่วนนอกของชั้น inner plexiform layer ของจอประสาทตา และ ON bipolar cell มีไซแนปส์ในส่วนในของชั้น inner plexiform layer

หน้าที่

[แก้]

Bipolar cell ส่งข้อมูลจากเซลล์รูปแท่งเซลล์รูปกรวยไปยัง ganglion cell แต่ว่า horizontal cell[4]และ amacrine cell[5] ทำกระบวนการนี้ให้ซับซ้อนยิ่งขึ้น คือ horizontal cell มีฤทธิ์ยับยั้ง horizontal cell ด้วยกัน คือมีกระบวนการ lateral inhibition มีผลเป็นลานรับสัญญาณแบบ center-surround[8] เห็นได้ในลานรับสัญญาณของเรตินา แม้ amacrine cell ก็มีกระบวนการ lateral inhibition ด้วย แต่ว่าบทบาทของกระบวนการนี้ใน amacrine cell ยังไม่ชัดเจน

กลไกของข้อมูลกลางลานรับสัญญาณของ bipolar cell นั้นชัดเจนแล้ว คือมีการเชื่อมต่อทางประสาทโดยตรงจากเซลล์รับแสง ผ่านหน่วยรับความรู้สึก metabotropic (ON) หรือ ionotropic (OFF) แต่ว่า กลไกของข้อมูลมีสีเดียว (monochromatic) รอบ ๆ ลานรับสัญญาณ (surround) นั้นยังต้องทำการศึกษาต่อไป แม้ว่าจะรู้แล้วว่า เซลล์ที่มีความสำคัญต่อกลไกนี้รวมถึง horizontal cell[4] แต่ว่า ทั้งหน่วยรับความรู้สึกและทั้งสารปลุกฤทธิ์หน่วยรับความรู้สึกยังไม่ชัดเจน

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ศ.พญ. ผาสุก มหรรฆานุเคราะห์ (พ.ศ. 2556). ประสาทกายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน (ฺBasic neuroanatomy). กรุงเทพมหานคร: ศ.พญ. ผาสุก มหรรฆานุเคราะห์. pp. 248–251. ISBN 978-616-335-105-0. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  2. "SENSORY AND MOTOR MECHANISM" (ppt). p. 11. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. นพ. สมเกียรติ อธิคมกุลชัย (12 สิงหาคม 2549). "โรคอาร์พี - โรคทางพันธุกรรม ที่ทำให้ตาบอด". สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 horizontal cell เป็นนิวรอนที่มีการเชื่อมต่อกันและกันในชั้น Inner nuclear layer ของเรตินาในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีหน้าที่ประสานและควบคุมข้อมูลที่มาจากเซลล์รับแสงหลายตัว ช่วยให้ตาสามารถเห็นได้ทั้งในที่สว่างและที่สลัว
  5. 5.0 5.1 5.2 amacrine cell เป็น interneuron ในเรตินา retinal ganglion cell (ตัวย่อ RGC) รับข้อมูลถึง 70% จาก amacrine cell และ Bipolar cell ซึ่งส่งข้อมูล 30% ที่เหลือ มีการควบคุมโดย amacrine cell
  6. Kevin S. LaBar; Purves, Dale; Elizabeth M. Brannon; Cabeza, Roberto; Huettel, Scott A. (2007). Principles of Cognitive Neuroscience. Sunderland, Mass: Sinauer Associates Inc. p. 253. ISBN 0-87893-694-7.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. Stewart A. Bloomfield, Ramon F. Dacheux, Rod Vision: Pathways and Processing in the Mammalian Retina, Progress in Retinal and Eye Research, Volume 20, Issue 3, May 2001, Pages 351-384, ISSN 1350-9462, doi:10.1016/S1350-9462 (00) 00031-8. (http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1350946200000318)
  8. คือสำหรับ ON cell เมื่อแสงตกลงกลางลานรับสัญญาณแต่ไม่ตกลงที่รอบ ๆ เซลล์จะมีการเร้าระดับสูงสุด แต่เมื่อแสงตกลงที่รอบ ๆ และไม่ตกลงตรงกลาง เซลล์จะมีการเร้าในระดับที่ต่ำที่สุด ถ้าแสงตกลงที่ทั้งตรงกลางและรอบ ๆ เซลล์จะมีการเร้าแบบกลาง ๆ สำหรับ OFF cell ก็จจะมีนัยตรงกันข้ามเป็นต้นว่า เมื่อแสงตกลงกลางรับสัญญาณแต่ไม่ตกลงที่รอบ ๆ เซลล์จะมีการระงับระดับที่ต่ำสุด

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]