เสาแห่งชัยชนะ เบอร์ลิน
Siegessäule | |
พิกัด | 52°30′52″N 13°21′0″E / 52.51444°N 13.35000°E |
---|---|
ที่ตั้ง | เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี |
เสาแห่งชัยชนะ (อังกฤษ: Victory Column) หรือ ซีกเกอซ็อยเลอ (เยอรมัน: , จาก Sieg ‘ชัยชนะ’ + Säule ‘เสา’) เป็นอนุสรณ์ในเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ผลงานออกแบบโดยไฮน์ริช สตาร์ค หลังปี 1864 เพื่อระลึกถึงชัยชนะของปรัสเซียในสงครามชเลสวิชครั้งที่สอง ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อนุสรณ์เมื่อวันที่ 2 กันยายน 1873 แต่ในเวลานั้น ปรัสเซียสามารถเอาชนะออสเตรียและบรรดาพันธมิตรเยอรมันในสงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย (1866) และ ฝรั่งเศสในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย (1870–71) ทำให้อนุสรณ์นี้มีเป้าหมายเพิ่มเติมอีก ชัยชนะเพิ่มเติมในสงครามรวมชาติเยอรมนีได้นำไปสู่การเพิ่มเติมประติมากรรมทองสัมฤทธิ์ของเทพีวิกตอเรีย เทพีแห่งชัยชนะของโรมัน ขึ้นบนยอดของเสาจากแปลนเดิม ประติมากรรมนี้มีความสูง 8.3 เมตร (27 ฟุต) และออกแบบโดย ฟรีดริช ดราเกอ[1][2]
เมื่อแรกสร้างเสร็จ เสาแห่งชัยชนะตั้งอยู่ในเคอนิกสพลัทซ์ (Königsplatz หรือปัจจุบันคือ พลัทซ์แดร์รีปูบลิก; Platz der Republik) ในปี 1938/1939 พวกนาซีได้ย้ายอนุสรณ์ออกมายังที่ตั้งปัจจุบัน กรอแบร์สเติร์น เพื่อเตรียมการก่อสร้างแผนแม่บทในการแปลงโฉมเบอร์ลินเป็นนครเวลเทาปท์สตัดท์ "แยร์มานิอา" และยังมีการปรับความสูงเพิ่มให้เสาอีก 6.5 เมตร ทำให้ความสูงของเสาเพิ่มเป็น 66.89 จนปัจจุบัน อนุสรณ์รอดพ้นจากสงครามโลกครั้งที่สองโดยไม่ได้รับความเสียหายมากนัก ที่ตั้งของเสาอยู่ตรงกลางวงเวียนถนน สำหรับคนเดินเท้าสามารถเข้าถึงได้ผ่านทางอุโมงค์คนเดิน ตามแปลนการออกแบบของอัลแบร์ท สเปร์ ภายในมีบันไดวนที่ไต่ขึ้นไปบนยอดได้[1]: 99–107 ปัจจุบันเสาแห่งชัยชนะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเบอร์ลิน นักท่องเที่ยวสามารถซื้อตั๋วเข้าชมบนยอดของเสาซึ่งมีทิวทัศน์ของนครเบอร์ลินที่สวยงาม
ชื่อเล่นของอนุสรณ์สำหรับชาวเบอร์ลินคือ "กอลเดลเซอ" (Goldelse) แปลได้ประมาณว่า "ลิซซีทอง"[3] ในระหว่างยุทธการณ์ที่เบอร์ลินเมื่อปี 1945 ทหารโซเวียตตั้งชื่อเล่นให้อนุสาวรีย์ว่า "สาวสูง"[4] ในระหว่างการเดินขบวนฉลองชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในปี 1945 ธงสามสีฝรั่งเศสได้ถูกชักขึ้นเหนือยอดของประติมากรรมบนเสาโดยทหารฝรั่งเศส[5] และเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2008 บารัก โอบามา ได้กล่าวสุนทรพจน์ในเบอร์ลินในฐานะผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐที่อนุสรณ์นี้ ขณะเดินทางเยือนเยอรมนี[6][7]
นิตยสารเบอร์ลินรายเดือนของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ Siegessäule ตั้งชื่อตามอนุสรณ์นี้ นิตยสารเริ่มต้นตีพิมพ์ในปี 1984 ในฐานะสื่อตีพิมพ์ของกลุ่มเกย์[8][9] เบอร์ลินพรายด์ (พาเรด CSD) มักมีเสานี้เป็นสถานที่เดินขบวนผ่านในฐานะสัญลักษณ์ของกลุ่มเช่นกัน[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Alings, Reinhard (2000). Die Berliner Siegessaule: Vom Geschichtsbild zum Bils der Geschichte. Berlin: Parthas Verlag GmbH. pp. 35–51. ISBN 9783932529719.
- ↑ Braun, Matthias (2000). Die Siegessaule. Berlin: Berlin Edition. p. 11. ISBN 3814800265.
- ↑ Berlin Tourist Information – Tiergarten เก็บถาวร 22 มิถุนายน 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Beevor, A (2003), Berlin: The Downfall 1945, Penguin Books, p. 395
- ↑ ECPAD - Troupes françaises défilant à Berlin
- ↑ Whitesides, John (2008-07-25). "Obama's foreign trip: Mission accomplished". Reuters (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Borcholte, Andreas (20 July 2008), "Sieg der Säule", Spiegel
- ↑ "Die "Siegessäule" wird 30". Der Tagesspiegel Online. 15 November 2014.
- ↑ TBS-Monatsinfo (Treff Berliner Schwulengruppen) (10 February 1984). "Gemeinsames". Record of TBS: Top 12 – via Archiv Gay Museum Berlin.
- ↑ "Demo | Route 2019".