ระฆัง
1. Bell yoke or headstock 2. canons, 3. crown, 4. shoulder, 5. waist, 6. sound bow, 7. lip, 8. mouth, 9. clapper, 10. bead line | |
เครื่องกระทบ | |
---|---|
ประเภท | เครื่องสั่นสะเทือนในตัว |
Hornbostel–Sachs classification | 111.242 (Bells: Percussion vessels with the vibration weakest near the vertex) |
ช่วงเสียง | |
สูงมากถึงต่ำมาก | |
เครื่องดนตรีที่เกี่ยวข้อง | |
Chimes, cowbell, handbell, ฆ้อง |
ระฆัง เป็นเครื่องดนตรีอย่างง่ายชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นท่อปลายเปิดหนึ่งด้าน มีตั้งแต่ขนาดเล็ก เช่นกระดิ่ง ไปจนถึงระฆังขนาดใหญ่ เช่นระฆังบิกเบน ที่แขวนในหอนาฬิกา ซึ่งตั้งอยู่ที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ระฆังสามารถทำจากวัสดุ ตั้งแต่แก้ว เซรามิค แต่ที่นิยมที่สุดคือโลหะ
ระฆัง มีลักษณะเป็นท่อปลายเปิดข้างเดียว แขวนด้านที่เปิดลงด้านล่าง อาจจะมีค้อนแขวนไว้ข้างในตัวระฆัง หรืออาจจะเอาไว้ด้านนอกก็ได้ แล้วแต่ว่าจะใช้วิธีแกว่งหรือตี เมื่อระฆังถูกตี พลังงานจากการชนของค้อนกับระฆังจะทำให้อากาศในระฆังเกิดการสั่นพ้องขึ้น ทำให้เกิดเสียงอันก้องกังวาน
ในโลกตะวันตก ระฆังมักมีค้อนแขวนไว้ภายใน และแขวนไว้กับแกนที่หมุนได้ แกนที่หมุนได้จะมีเชือกโยงลงไป เวลาจะลั่นก็จะกระตุกเชือก ทำให้ระฆังแกว่ง และกระทบกับค้อนเกิดเป็นเสียงขึ้น บางทีระฆังอาจจะแขวนไว้เป็นราวก็ได้
ส่วนในโลกตะวันออก ระฆังมักใช้วิธีการกระแทกด้วยค้อนหรือไม้ท่อน แทนที่จะแกว่ง เทคนิคหลังนี้เป็นที่นิยมสำหรับหอนาฬิกาและหอระฆังโดยทั่วไป เพราะการแกว่งอาจทำให้หอเสียหายได้
ระฆังมักทำมาจากโลหะผสมทองแดงและดีบุก (ทองเหลือง) ในอัตราส่วนที่เหมาะสม โดยมากมักเป็นทองแดง 3 ส่วน และ ดีบุก 1 ส่วน หลังจากที่หล่อเสร็จแล้ว ก็จะต้องถ่วงเสียง โดยการเพิ่มหรือลดเนื้อวัสดุภายในตัวระฆัง เทียบกับการเคาะส้อมเสียงเพื่อให้ได้เสียงที่ต้องการ
ดูเพิ่ม
[แก้]- หอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ (บิกเบน)
- ระฆังเรือ