ข้ามไปเนื้อหา

บริกส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก BRICS)
บริกส์
ก่อนหน้าบริก
ก่อตั้งที่UN HQ, NYC (UNGA 61st session)
Yekaterinburg (1st BRIC summit)
ประเภทองค์การระหว่างรัฐบาล
วัตถุประสงค์การเมือง และ เศรษฐกิจ
สาขาวิชาการเมืองระหว่างประเทศ
สมาชิก
การให้ทุนรัฐสมาชิก
เว็บไซต์https://brics2023.gov.za/
ชื่อในอดีต
บริก

บริกส์ (อังกฤษ: BRICS) เป็นอักษรย่อใช้เรียกกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วอันประกอบด้วย บราซิล (Brazil) รัสเซีย (Russia) อินเดีย (India) จีน (China) และแอฟริกาใต้ (South Africa)

ศัพท์คำนี้ถูกสร้างขึ้นมาโดยจิม โอนีลล์ ในบทวิจัยในปี 2544 ชื่อ "The World Needs Better Economic BRICs"[1][2][3] ชื่อบริกส์ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการย้ายอำนาจเศรษฐกิจโลกจากกลุ่มพัฒนาแล้วอย่างจี7 (G7) มาสู่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในปี 2548 กล่าวถึงประเทศเม็กซิโกและเกาหลีใต้ว่าเป็นประเทศที่เทียบเท่าได้กับบริกส์แต่ถูกตัดออกจากกลุ่มตั้งแต่ต้น เพราะถือว่าเป็นประเทศมีการพัฒนามากกว่า เนื่องจากเป็นสมาชิกของกลุ่มโออีซีดี (OECD) [4] โกลด์แมน แซคส์กล่าวว่ากลุ่มบริกส์พัฒนาอย่างรวดเร็วมากจนประมาณปี พ.ศ. 2593 เศรษฐกิจของกลุ่มบริกส์รวมกันจะสามารถบดบังกลุ่มประเทศที่ร่ำรวยในขณะนี้ได้ ปัจจุบัน ประเทศทั้งสี่รวมกันมีพื้นที่มากกว่าหนึ่งในสี่ของแผ่นดินโลก และมากกว่าร้อยละ 40 ของประชากรโลก[5][6]

โกลด์แมน แซคส์ ไม่ได้กล่าวว่ากลุ่มบริกส์จะรวมกลุ่มกันจัดตั้งกลุ่มเศรษฐกิจหรือสมาคมการค้าอย่างเป็นทางการเหมือนสหภาพยุโรป[7] แต่อย่างไรก็ตาม มีข้อบ่งชี้บางอย่างว่า “ประเทศกลุ่มบริกส์ทั้งสี่ได้พยายามที่จะสร้าง สมาคมหรือพันธมิตรทางการเมือง” และพยายามเปลี่ยน “อำนาจทางเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตให้เป็นอำนาจการเมืองทางภูมิภาค” [8][9] ในวันที่ 16 มิถุนายน 2552 ผู้นำกลุ่มประเทศบริกส์เข้าร่วมการประชุมสุดยอดครั้งแรกที่เมืองเยคาเตรินบุร์ก และประกาศเรียกร้องให้ระเบียบโลกใหม่มีหลายขั้วอำนาจ[10] ต่อมา เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2554 กลุ่มดังกล่าวได้รับเอาประเทศแอฟริกาใต้เข้าร่วมกลุ่มด้วย[11][12][13]

ประวัติ

[แก้]

โควิด-19

[แก้]

ธนาคารเพื่อการพัฒนาใหม่ (New Development Bank, NDB) ซึ่งตั้งอยู่ในจีน มีแผนจะมอบเงิน 15,000 ล้านดอลลาร์แก่ประเทศสมาชิกเพื่อช่วยแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ โดยประเทศสมาชิกต่างหวังว่าจะฟื้นตัวอย่างราบรื่นและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ในระดับเดียวกับก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 การประชุมสุดยอดครั้งที่ 12 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งเป็นการประชุมทางไกลผ่านวีดิทัศน์จากเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย หารือถึงวิธีจัดการกับภาวะการระบาดทั่วของโควิด และประเด็นการปรับปรุงความร่วมมือพหุภาคีโดยการปฏิรูปองค์กร[14] อัตราการรับวัคซีนโควิด-19 มีความแตกต่างกันภายในกลุ่มบริกส์โดย จีน อินเดีย และแอฟริกาใต้ เต็มใจรับวัคซีนมากที่สุด ขณะที่บราซิลและรัสเซียแสดงความกังวลมากกว่าอีก 3 ประเทศ[15] เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564 ในระหว่างการประชุมสุดยอดบริกส์ครั้งที่ 13 นเรนทระ โมที นายกรัฐมนตรีอินเดียเรียกร้องให้มีการสอบสวนอย่างโปร่งใสภายใต้องค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับต้นกำเนิดของโควิด-19 ด้วยความร่วมมืออย่างเต็มที่จาก "ทุกประเทศ" ต่อจากนั้นประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง ได้กล่าวเรียกร้องให้ทุกประเทศในกลุ่มต่อต้านกระบวนการ "ทำให้เป็นการเมือง"[16]

สมาชิก

[แก้]
  รัฐสมาชิก
  ผู้สมัคร
  ได้แสดงความสนใจที่จะเข้าร่วม

สมาชิกปัจจุบัน

[แก้]
สมาชิก หัวหน้ารัฐบาลทางการ ผู้นำรัฐบาล
 บราซิล ประธานาธิบดี ลูอิส อีนาซียู ลูลา ดา ซิลวา
 รัสเซีย ประธานาธิบดี วลาดีมีร์ ปูติน
 อินเดีย นายกรัฐมนตรี นเรนทระ โมที
 จีน ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง
 แอฟริกาใต้ ประธานาธิบดี ไซริล รามาโฟซา
 อียิปต์ ประธานาธิบดี อับดุลฟัตตาห์ อัสซีซี
 เอธิโอเปีย นายกรัฐมนตรี อาบีย์ อาห์เม็ด
 อิหร่าน ประธานาธิบดี มาซูด เปเซสเคียน
 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประธานาธิบดี โมฮัมเหม็ด บิน ซายิด อัลนะฮ์ยาน

ประเทศที่กลายเป็นหุ้นส่วน เริ่ม 1 มกราคม 2568

[แก้]

ประเทศที่สมัครสมาชิกแล้ว

[แก้]

รวมทั้งหมด 16 ประเทศ[21] ได้สมัครเข้าร่วมบริกส์อย่างเป็นทางการแล้ว โดยมีรายชื่อดังนี้:[22]

ประเทศที่เป็นสมาชิกอย่างไม่เป็นทางการ

[แก้]

ประเทศที่ถอดตัวจากการสมัครเป็นสมาชิก

[แก้]

ผู้นำประเทศในบริกส์

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Kowitt, Beth (2009-06-17). "For Mr. BRIC, nations meeting a milestone". CNNMoney.com. สืบค้นเมื่อ 2009-06-18.
  2. Global Economics Paper No. 99, Dreaming with BRICs เก็บถาวร 2008-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน and Global Economics Paper 134, How Solid Are the BRICs?
  3. Economist's Another BRIC in the wall 2008 article
  4. "How Solid are the BRICs?" (PDF). Global Economics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-17. สืบค้นเมื่อ 2010-09-21.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-08. สืบค้นเมื่อ 2010-10-07.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-27. สืบค้นเมื่อ 2010-10-07.
  7. "Brazil, Russia, India And China (BRIC)". Investopedia. สืบค้นเมื่อ 2008-05-11.
  8. "BRICs helped by Western finance crisis: Goldman". Reuters. 2008-06-08.
  9. Mortished, Carl (2008-05-16). "Russia shows its political clout by hosting Bric summit". The Times. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-19. สืบค้นเมื่อ 2010-04-26.
  10. Halpin, Tony (2009-06-17). "Brazil, Russia, India and China form bloc to challenge US dominance". The Times, 17 June 2009. Retrieved from http://www.timesonline.co.uk/tol/news/world/us_and_americas/article6514737.ece เก็บถาวร 2011-09-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  11. "S. Africa Joins; BRIC Now BRICS, April 13, 2011". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-24. สืบค้นเมื่อ 2011-04-18.
  12. BRICS Gain Global Influence as South Africa Joins, President of Russia Medvedev, April 13, 2011
  13. Emerging Bloc Adds South Africa, April 13, 2011
  14. "BRICS To Allocate $15 Billion For Rebuilding Economies Hit By COVID-19". NDTV.com. สืบค้นเมื่อ 20 October 2020.
  15. "What do people in BRICS countries think about a COVID-19 vaccine?". Devex. 20 October 2020. สืบค้นเมื่อ 25 October 2020.
  16. Suhasini Haidar; Ananth Krishnan (15 September 2021). "India, China avoided open clash over COVID-19 origins". The Hindu.
  17. "Belarus says it has applied to join BRICS club, RIA reports". Reuters. 25 July 2023 – โดยทาง www.reuters.com.
  18. Ramos, Daniel (31 July 2023). "Bolivia president to attend BRICS summit in bid for new investment". Reuters – โดยทาง www.reuters.com.
  19. Omirgazy, Dana (5 June 2023). "Kazakhstan Seeks to Join BRICS and Enhance Trade and Economic Cooperation". Astana Times.
  20. "Wang Yi Chairs Dialogue of Foreign Ministers between BRICS and Emerging Markets and Developing Countries". www.fmprc.gov.cn.
  21. "South Africa: 8 Arab countries request to join BRICS". Middle East Monitor. 15 August 2023.
  22. Prange, Astrid (27 Mar 2023). "A new world order? BRICS nations offer alternative to West – DW – 04/10/2023". dw.com. สืบค้นเมื่อ 24 Aug 2023.
  23. Mntambo, Nokukhanya (26 August 2023). "Algeria likely to be among second batch of countries to join BRICS - Godongwana". Eyewitness News (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 August 2023. สืบค้นเมื่อ 14 September 2023.
  24. "Five Arab states plus Iran among 19 nations ready to join BRICS". The Cradle. 30 April 2023.
  25. Devonshire-Ellis, Chris (20 June 2023). "Bangladesh Formally Applies To Join BRICS". Silk Road Briefing. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-21. สืบค้นเมื่อ 22 June 2023.
  26. "Wang Yi Chairs Dialogue of Foreign Ministers between BRICS and Emerging Markets and Developing Countries". June 2023.