ข้ามไปเนื้อหา

การลอบสังหารอิเนจิโร อาซานูมะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Assassination of Inejirō Asanuma)
การลอบสังหารอิเนจิโร อาซานูมะ
เป็นส่วนหนึ่งของ ความรุนแรงจากฝ่ายขวาในญี่ปุ่นทศวรรษ 1960
ภาพถ่ายรางวัลพูลิตเซอร์ของยาชูชิ นางาโอะ ที่จับภาพขณะนามางูจิกำลังจะแทงอาซานูมะเป็นครั้งที่สอง
สถานที่หอประชุมสาธารณะฮิบิยะ เขตชิโยดะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
วันที่12 ตุลาคม 1960; 64 ปีก่อน (1960-10-12)
15:05 (UTC+09:00)
เป้าหมายอิเนจิโร อาซานูมะ
ประเภทการลอบสังหารโดยของมีคมแทง
อาวุธวากิซาชิ[1]
ผู้เสียหายอิเนจิโร อาซานูมะ
ผู้ก่อเหตุโอโตยะ ยามางูจิ

ในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1960 อิเนจิโร อาซานูมะ (ญี่ปุ่น: 浅沼 稲次郎โรมาจิAsanuma Inejirō) ประธานพรรคสังคมนิยมญี่ปุ่นถูกลอบสังหารที่หอประชุมสาธารณะฮิบิยะในเขตชิโยดะ โตเกียว ขณะการโต้วาทีถ่ายทอดออกอากาศ ชายคลั่งชาติวัย 17 ปี โอโตยะ ยามางูจิ วิ่งขึ้นบนเวทีโต้วาทีและใช้ดาบสั้นวากิซาชิแทงอาซานูมะจนถึงแก่ชีวิต[1]

การสังหารหมู่ครั้งนี้ส่งผลให้พรรคสังคมนิยมญี่ปุ่นอ่อนแลลงอยากหนัก, ทำให้เกิดอาชญากรรมเลียนแบบตามมามากมาย และหลังยามางูจิกฆ่าตัวตายในเรือนจำได้กลายเป็นผู้พลีกายของกลุ่มขวาจัดญี่ปุ่นในเวลาต่อมา

ภูมิหลัง

[แก้]

อาซานูมะเป็นบุคคลที่มีคารมคมคายในวงการฝ่ายซ้ายของญี่ปุ่น ในปี 1959 เขาสร้างความโกรธแค้นไปทั่วญี่ปุ่นโดยการเดินทางไปยังจีนซึ่งเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ และประกาศว่าสหรัฐอเมริกาเป็น "ศัตรูร่วมของจีนและญี่ปุ่น" ขณะปราศรัยที่ปักกิ่ง

หลังเดินทางกลับญี่ปุ่น อาซานูมะกลายมาเป็นผู้นำและบุคคลสาธารณะคนสำคัญของการประท้วงอัมโปะเพื่อต่อต้านสนธิสัญญาความปลอดภัยญี่ปุ่น-สหรัฐ นำขบวนการประท้วงครั้งใหญ่ไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กลุ่มขวาจัด เช่น บิง อากาโอะ และ พรรคไดนิปปงไอโกกุ (ญี่ปุ่น: 大日本愛国党โรมาจิDai Nippon Aikoku Tō) เชื่อว่าการประท้วงของฝ่ายซ้ายในครั้งนี้เป็นสัญญาณว่าญี่ปุ่นกำลังเข้าใกล้การปฏิวัติคอมมิวนิสต์ และเริ่มก่อการเพื่อพยายามป้องกันการปฏิวัติ[2]

ผลสืบเนื่อง

[แก้]

การฆ่าตัวตายของผู้ก่อเหตุ

[แก้]

หลังการลอบสังหาร ยามางูจิถูกจับกุมและคุมขังขณะรอการตัดสิน ตลอดการถูกคุมขัง เขาคงความสงบและสารภาพทุกอย่างต่อตำรวจ ยามางูจิยังย้ำตลอดว่าเขาลงมือทำด้วยตัวคนเดียว และไม่มีการชี้นำจากใครอื่น ในวันที่ 2 พฤศจิกายน เขาได้ใช้ยาสีฟันเขียนบนผนังของห้องขังว่า "ขอสมเด็จพระจักรพรรดิทรงพระเจริญ" และ "เพียงแค่กระผมมีชีวิตเจ็ดชีวิตที่จะมอบให้แก่ประเทศ (七生報国, shichisei hōkoku; มาจากคำพูดสุดท้ายก่อนเสียชีวิตของคูซูโนกิ มาซาชิเงะ ซามูไรจากศตวรรษที่ 14) และใช้ผ้าปูเตียงมัดกันแขวนคอตนเองเสียชีวิตในห้องขัง[3]

การเสื่อมถอยของพรรคสังคมนิยมญี่ปุ่น

[แก้]

พรรคสังคมนิยมญี่ปุ่นประกอบด้วยสมาชิกที่ไม่ค่อยลงรอยกัน ทั้งนักสังคมนิยมซ้ายจัด, นักสังคมนิยมฝ่ายกลาง และนักสังคมนิยมฝ่ายขวา แต่ต้องมารวมตัวกันเพื่อต้านความแข็งแกร่งของบรรดาพรรคอนุรักษนิยมที่รสมตัวกันเป็นพรรคประชาธิปไตยเสรีนิยม (Liberal Democratic Party) ในปี 1955 อาซานูมะเป็นบุคคลที่มีคารมคมคาย และสามารถยึดโยงกลุ่มที่มีความต่างนี้เข้าด้วยกันได้โดยใช้บุคลิกภาพของเขา[4] ในสมัยการนำของอานาซูมะ พรรคสังคมนิยมญี่ปุ่นชนะการเลือกตั้งเพิ่มขึ้นหลายที่นั่งในสภานิติบัญญัติแห่งชาติในทุก ๆ การเลือกตั้งนับตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของทศวรรษ 1950 และมีท่าทีกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ การเสียชีวิตของอาซานูมะทำให้พรรคสูญเสียผู้นำที่ชำนาญ และได้ซาบูโร เอดะ ขึ้นมานำพรรคแทน[4] เอดะขยับพรรคไปทางฝ่ายกลางขึ้นทันที ซึ่งเป็นการปรับที่เร็วเกินกว่ากลุ่มสังคมนิยมฝ่ายซ้ายจะรับได้[4] และนำไปสู่การต่อสู้ภายในพรรค อันนำไปสู่การส่งสารแก่สาธารณะที่ไม่มีความเป็นน้ำหนึ่งเดียวกัน ในช่วงที่เหลือของทศวรรษ 1960 เป็นต้นมา จำนวนที่นั่งของบรรดานักสังคมนิยมในสภานิติบัญญัติลดลงเรื่อยมาจนพรรคสูญที่นั่งทั้งหมดในปี 1996[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 沢木, 耕太郎 (1982). 『テロルの決算』文藝春秋. 文春文庫. pp. 10, 238. ISBN 978-4167209049.
  2. Kapur, Nick (2018). Japan at the Crossroads: Conflict and Compromise after Anpo. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press. pp. 252–53. ISBN 9780674988484.
  3. Kapur, Nick (2018). Japan at the Crossroads: Conflict and Compromise after Anpo. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press. p. 254. ISBN 9780674988484.
  4. 4.0 4.1 4.2 Kapur, Nick (2018). Japan at the Crossroads: Conflict and Compromise after Anpo. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press. p. 127. ISBN 9780674988484.
  5. Kapur, Nick (2018). Japan at the Crossroads: Conflict and Compromise after Anpo. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press. pp. 125–26. ISBN 9780674988484.