อารีรัง
อารีรัง คีตกานท์พื้นบ้านในสาธารณรัฐเกาหลี * | |
---|---|
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโก | |
ซง โซ-ฮี ขับร้องเพลง "อารีรัง" | |
ประเทศ | เกาหลีใต้ |
ภูมิภาค ** | เอเชียและแปซิฟิก |
สาขา | ธรรมเนียมและการแสดงออกทางมุขปาฐะ, ศิลปะการแสดง |
เกณฑ์พิจารณา | R.1, R.2, R.3, R.4, R.5 |
อ้างอิง | 00445 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2012/2555 (คณะกรรมการสมัยที่ 7) |
รายการ | ตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
เพลงพื้นบ้านอารีรังในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี * | |
---|---|
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโก | |
หญิงคนหนึ่งกำลังบอกลาชายคนหนึ่งที่กำลังจะออกเดินทางผ่านช่องเขา เป็นฉากหนึ่งจากเทศกาลอารีรัง ในเกาหลีเหนือ | |
ประเทศ | เกาหลีเหนือ |
ภูมิภาค ** | เอเชียและแปซิฟิก |
สาขา | ธรรมเนียมและการแสดงออกทางมุขปาฐะ, ศิลปะการแสดง, แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล |
เกณฑ์พิจารณา | R.1, R.2, R.3, R.4, R.5 |
อ้างอิง | 00914 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2014/2557 (คณะกรรมการสมัยที่ 9) |
รายการ | ตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
อารีรัง | |
ฮันกึล | 아리랑 |
---|---|
อาร์อาร์ | Arirang |
เอ็มอาร์ | Arirang |
IPA | a.ɾi.ɾaŋ |
อารีรัง (เกาหลี: 아리랑)[1] เป็นเพลงพื้นบ้านของชาวเกาหลี[2] โดยเนื้อหาของเพลงนั้น จะเกี่ยวกับการเดินทางผ่านช่องเขา และมักจะเกี่ยวกับการจากลาจากคนรัก หรือสงคราม หากจะเทียบอารีรังกับร้อยแก้วแบบไทยแล้ว อาจเทียบได้กับนิราศ มีการประมาณว่าเพลงนี้มีอายุไม่ต่ำกว่า 600 ปี[3]
อารีรังถูกรวมอยู่ในรายชื่อมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโกสองครั้ง เกาหลีใต้ประสบความสำเร็จในการเสนอเพลงเพื่อรวมอยู่ในรายชื่อของยูเนสโกใน ค.ศ. 2012[3][4] นอกจากนี้เกาหลีเหนือยังประสบความสำเร็จในการเสนอเพลงเพื่อเข้าร่วมใน ค.ศ. 2014[2][5] และใน ค.ศ. 2015 คณะบริหารมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติของเกาหลีใต้ ได้เพิ่มเพลงนี้ลงในรายการสมบัติทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ที่สำคัญ[6]
ในปัจจุบันเพลงนี้มีการร้องทั้งในเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ โดยเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคีของประเทศที่แบ่งแยกกันตั้งแต่สงครามเกาหลี
ประวัติ
[แก้]ต้นกำเนิดและศัพทมูลวิทยา
[แก้]เชื่อกันว่า "อารีรัง" มีต้นกำเนิดที่ช็องซ็อน จังหวัดคังว็อน ศัพท์ "อารีรัง" ในปัจจุบันมีความหมายกำกวม แต่นักภาษาศาสตร์บางส่วนตั้งสันนิษฐานว่า "อารี" (아리) หมายถึง "สวยงาม" และ "รัง" (랑) สื่อถึง "ผู้เป็นที่รัก" หรือ "เจ้าบ่าว" ในภาษาเกาหลีโบราณ เมื่อนำสองคำมารวมกัน คำว่าอารีรังจึงมีความหมายว่า "ผู้เป็นที่รักของฉัน"[7] ทฤษฎีนี้สนับสนุนตำนานของเพลง โดยได้รับเสียงสนับสนุนจากนักวิชาการอย่าง Shin Yong-ha[8] ตามตำนานระบุง่า ชื่อเพลงมาจากเรื่องราวของชายโสดกับหญิงสาวที่ตกหลุมรักขณะเก็บดอก Camellia ใกล้ท่าเรือที่ Auraji (아우라지) ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่ได้ชื่อมาจากศัพท์ภาษาเกาหลีว่า "eoureojida" (어우러지다) ที่ความหมายใกล้เคียงสุดคือ "กลมเกลียว" หรือ "พบปะ" เช่น จุดที่แหล่งน้ำเชื่อมน้ำจากอำเภอพย็องชังกับSamcheokในแม่น้ำฮันมีชื่อเรียกว่า Auraji[9] เนื้อเรื่องมีสองรูปแบบ:
- ในรูปแบบแรก ชายโสดไม่สามารถข้าม Auraji เพื่อพบกับหญิงสาวได้เนื่องจากน้ำสูงเกิน จึงร่วมร้องเพลงแสดงความเศร้าโศก
- ในรูปแบบที่สอง ชายโสดพยายามข้าม Auraji และจมน้ำ โดยร้องเพลงโศกเศร้าหลังสิ้นใจ[10]
ศาสตราจารย์ Keith Howard รายงานว่า อารีรังมีต้นกำเนิดจากภูมิภาคภูเขาของช็องซ็อน จังหวัดคังว็อน และมีการกล่าวถึงเพลงนี้ครั้งแรกพบในเอกสารตัวเขียนใน ค.ศ. 1756[11] Academy of Korean Studies ก็มีมุมมองเดียวกันว่าเดิมทีอารีรังเป็นเพลงพื้นบ้านของช็องซ็อน ชาวเมืองช็องซ็อนบางส่วนสืบต้นตอเพลงพื้นบ้านของตนย้อนกลับไปในยุคโคกูรยอ[12]
Yang Ju-dong (1903-1977) นักวิชาการวรรณกรรมชาวเกาหลีใต้ ตั้งสันนิษฐานว่า ศัพท์ "อารีรัง" มาจากการประสมระหว่างคำว่า "Ari" (아리) ในศัพท์เกาหลีเก่าดั้งเดิมที่มีอีกความหมายว่า "ยาว" กับ "ryeong" (領) อักษรฮันจาที่หมายถึง "เนินเขา"[13]
ข้อมูล
[แก้]เพลงอารีรังหลาย ๆ เวอร์ชันนั้น เริ่มต้นด้วยการพรรณนาการเดินทาง โดยเนื้อหาของเพลงนั้นเกี่ยวกับตอนที่เดินทางผ่านช่องเขา อารีรังนั้นเป็นชื่อของช่องเขาแห่งหนึ่ง จึงถูกใช้เป็นชื่อเพลงด้วย อารีรังบางเวอร์ชันได้กล่าวถึงช่องเขามุนกย็องแซแจ ซึ่งเป็นช่องเขาหลักที่สำคัญสมัยราชวงศ์โชซ็อน อยู่ระหว่างถนนจากโซลไปยังจังหวัดคย็องซังทางตะวันออกเฉียงใต้
ช่องเขาหลายแห่งในเกาหลีนั้นมีชื่อว่าช่องเขาอารีรัง ช่องเขาอารีรังแห่งหนึ่งตั้งอยู่บริเวณเนินเขาทางภาคกลางของเกาหลี ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของโซล เดิมมีชื่อว่าช่องเขาจช็องนึง และถูกเปลี่ยนชื่อในปี 1926 เพื่อเป็นที่ระลึกถึงการฉายภาพยนตร์อารีรัง ซึ่งเป็นภาพยนตร์เงียบที่ดีที่สุดของเกาหลี แต่เพลงอารีรังหลาย ๆ เวอร์ชันนั้นมีอายุเก่าแก่กว่าภาพยนตร์เรื่องนี้อีก
โน้ตเพลง
[แก้]เนื้อเพลง
[แก้]"อารีรัง" ทุกแบบจะมีสร้อยคล้ายกับ "อารีรัง, อารีรัง, อารารีโย (아리랑, 아리랑, 아라리요)"[4] คำว่า "อารีรัง" เป็นแค่ทำนองและไม่มีความหมายที่ชัดเจนในภาษาเกาหลี[14] แม้ว่าในรูปแบบต่าง ๆ จะมีเนื้อเพลงต่างกัน เนื้อเพลงส่วนใหญ่มีรูปแบบของความเศร้าโศก การพลัดพราก การพบกันใหม่ และความรัก[5][15]
ตารางข้างล่างแสดงเนื้อเพลง "อารีรังมาตรฐาน" จากโซล สองแถวแรกคือสร้อย หลังจากนั้นจึงตามด้วยเนื้อร้องสามกลุ่ม ในตัวอักษรฮันกึล ถอดเป็นอักษรโรมันกับอักษรไทย และคำแปลทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย
ฮันกึล/โชซ็อนกึล | ฮันจา | ถอดเป็นอักษรโรมัน | แปลอังกฤษ[15][16] |
---|---|---|---|
아리랑, 아리랑, 아라리요... |
아리랑, 아리랑, 아라리요... |
Arirang, arirang, arariyo... |
Arirang, arirang, arariyo... |
나를 버리고 가시는 님은 |
나를 버리고 가시는 님은 |
Nareul beorigo gasineun nimeun |
My love, if you abandon me |
청천하늘엔 잔별도 많고, |
晴天하늘엔 잔별도 많고, |
Cheongcheonhaneuren janbyeoldo manko, |
Just as there are many stars in the clear sky, |
저기 저 산이 백두산이라지, |
저기 저 山이 白頭山이라지, |
Jeogi jeo sani baekdusaniraji, |
There, over there, that mountain is Baekdu Mountain, |
ถอดเป็นอักษรไทย | แปลไทย |
---|---|
อารีรัง อารีรัง อารารีโย... |
อารีรัง อารีรัง อารารีโย... |
นารึล พอรีโก คาชีนึน นีมึน |
เขาคนนั้น ที่ทิ้งฉันไว้(ที่นี่) |
ช็องช็องฮานือเรน พย็อลโด มันโค |
เช่นเดียวกับดาวมากมายในท้องฟ้า |
ชอกี ชอ ซานี แพ็กตูซานีราจี |
ภูเขาลูกนั้นคือภูเขาแพ็กดู |
รูปแบบต่าง ๆ
[แก้]มี"อารีรัง"รูปแบบต่าง ๆ ประมาณ 3,600 แบบใน 60 ฉบับ[4] ชื่อ"อารีรัง"ในรูปแบบที่ต่างกันส่วนใหญ่มักนำหน้าด้วยสถานที่กำเนิด[17]
ในขณะที่ "ช็องซ็อนอารีรัง" โดยทั่วไปถือเป็นต้นฉบับของเพลงนี้ "บนโจอารีรัง" (แปลว่า อารีรังมาตรฐาน) จากโซลเป็นหนึ่งในฉบับยอดนิยมสุด โดยฉบับนี้มีชื่อเสียงจากการที่นำไปใช้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์อารีรังใน ค.ศ. 1926[17]
อารีรังฉบับที่มีชื่อเสียงอันอื่น ๆ ได้แก่ "ชินโดอารีรัง" จากจังหวัดช็อลลาใต้ ภูมิภาคที่รู้จักกันในฐานะที่กำเนิดดนตรีพื้นเมืองเกาหลีอย่างpansoriกับsinawi และ "มีรยังอารีรัง" จากจังหวัดคย็องซังใต้[18][19]
สถานะเป็นทางการ
[แก้]จีน
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ยูเนสโก
[แก้]อารีรังบรรจุในรายชื่อมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโก ซึ่งได้รับการเสนอจากทั้งเกาหลีใต้ใน ค.ศ. 2012[3][4] และเกาหลีเหนือในปี ค.ศ. 2014[2][5]
เกาหลีใต้
[แก้]คณะบริหารมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติของเกาหลีใต้ได้เพิ่มอารีรัง ลงในรายการทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ที่สำคัญในปี ค.ศ. 2015[6]
กองทัพสหรัฐ
[แก้]กองทหารราบที่ 7 ของกองทัพสหรัฐนำเพลงอารีรัง มาใช้เป็นเพลงมาร์ชอย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1956 หลังจากได้รับอนุญาตจากอี ซึง-มัน ประธานาธิบดีคนแรกของเกาหลีใต้ กองกำลังนี้ได้ประจำการในเกาหลีตั้งแต่ ค.ศ. 1950 ถึง 1953 ในระหว่างช่วงสงครามเกาหลี[20]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "아리랑". 한국민족문화대백과 [Encyclopedia of Korean National Culture] (ภาษาเกาหลี). aks.ac.kr. สืบค้นเมื่อ 2020-03-26.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "N. Korea's Arirang wins UNESCO intangible heritage status" (ภาษาอังกฤษ). Yonhap News Agency. 2014-11-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-06. สืบค้นเมื่อ 2017-12-05.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Chung, Ah-young (2012-12-12). "'Arirang' makes it to UNESCO heritage". The Korea Times. สืบค้นเมื่อ 2017-12-05.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 "Arirang, lyrical folk song in the Republic of Korea". Intangible Cultural Heritage. UNESCO. สืบค้นเมื่อ 2017-12-05.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "Arirang folk song in the Democratic People's Republic of Korea". Intangible Cultural Heritage. UNESCO. สืบค้นเมื่อ 2017-12-05.
- ↑ 6.0 6.1 "'Arirang' Listed as National Intangible Asset". The Chosun Ilbo (ภาษาอังกฤษ). 2015-07-15. สืบค้นเมื่อ 2017-12-05.
- ↑ "Singing". Korean Folk Song, Arirang. สืบค้นเมื่อ 2021-03-09.
- ↑ "[신용하의 새로 쓰는 한국문화]아리랑(下)". Segye Ilbo (ภาษาเกาหลี). Segye Ilbo. 2003-01-15. สืบค้นเมื่อ 2021-12-19.
- ↑ "Auraji Lake (아우라지) - Sightseeing - Korea travel and tourism information". www.koreatriptips.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-09.
- ↑ The National Folk Museum of Korea (2014). Encyclopedia of Korean Folk Literature. Vol. Encyclopedia of Korean Folklore and Traditional Culture Vol. III. 길잡이미디어. pp. 95–96. ISBN 978-8928900848.
- ↑ Howard, Keith (15 May 2017). Perspectives on Korean Music: Preserving Korean Music: Intangible Cultural Properties as Icons of Identity. Vol. I. Taylor & Francis. ISBN 978-1-351-91168-9.
- ↑ "아리랑". Academy of Korean Studies. สืบค้นเมื่อ 2021-12-19.
- ↑ "아리령 설". Korea Creative Content Agency. สืบค้นเมื่อ 2021-12-19.
- ↑ "Arirang (아리랑)". Sejong Cultural Society. 2015. สืบค้นเมื่อ 2017-12-06.
- ↑ 15.0 15.1 Kim Yoon, Keumsil; Williams, Bruce (2015). Two Lenses on the Korean Ethos: Key Cultural Concepts and Their Appearance in Cinema. McFarland. p. 39. ISBN 978-0786496822.
- ↑ Damodaran, Ramu (Winter 2017). "UNAI Impacts Scholarship, Research for Greater Good". SangSaeng. APCEIU. 49: 23.
- ↑ 17.0 17.1 "From lyrical folk song to cheering song: variations of 'Arirang' in Korean history". The Korea Times (ภาษาอังกฤษ). Yonhap News Agency. 2012-12-06. สืบค้นเมื่อ 2017-12-06.
- ↑ "Jindo Arirang". Sejong Cultural Society. 2015. สืบค้นเมื่อ 2017-12-06.
- ↑ "Milyang Arirang". Sejong Cultural Society. 2015. สืบค้นเมื่อ 2017-12-06.
- ↑ "Chronological History 7th Infantry Division". 7th Infantry Division Association. 2012-05-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-03. สืบค้นเมื่อ 2017-12-07.