แอนดรูว์ อึ่ง
แอนดรูว์ อึ่ง | |||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 吳恩達 | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 吴恩达 | ||||||||||
|
แอนดรูว์ อึ่ง (Andrew Ng), อึ่ง ยั้นตาด หรือ อู๋ เอินต๋า (จีนตัวย่อ: 吴恩达; จีนตัวเต็ม: 吳恩達; พินอิน: Wú Ēndá; ยฺหวิดเพ็ง: ng4 jan1 daat6) เป็นศาสตราจารย์รับเชิญในภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และ วิศวกรรมไฟฟ้า ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และเป็นอดีตผู้อำนวยการห้องทดลองปัญญาประดิษฐ์สแตนฟอร์ด งานของเขาเน้นไปที่สาขาการเรียนรู้ของเครื่อง และ ปัญญาประดิษฐ์[2]
เขาเป็นผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์มการศึกษาออนไลน์คอร์เซรา และ ดีปเลิร์นนิงดอตเอไอ (DeepLearning.AI)[3] เขายังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าของกูเกิลเบรน เป็นอดีตหัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์ประจำไป่ตู้ และเป็นผู้สร้างทีมพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ของไป่ตู้ซึ่งพัฒนามาเป็นทีมนักวิทยาศาสตร์หลักพันคน[4]
เขาเป็นผู้นำความพยายามหลายครั้งที่จะ "ทำให้การเรียนรู้เชิงลึกเป็นของทุกคน" โดยได้สอนนักเรียนมากกว่า 2.5 ล้านคนผ่านทางคอร์สเรียนออนไลน์ของเขาจำนวนมาก[5][2] เขาเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเสียงและทรงอิทธิพลที่สุด ได้รับการยกย่องโดยนิตยสาร ไทม์ ให้เป็นหนึ่งใน 100 บุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดของปี 2012 และผู้ทรงความคิดสร้างสรรค์ที่สุดในนิตยสารฟาสต์คอมพานี ในปี 2014
ในปี 2018 เขาได้เปิดตัวและนำกองทุนเอไอ (AI Fund) ซึ่งเป็นการลงทุนเพื่อสนับสนุนสตาร์ตอัปที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ และยังก่อตั้ง แลนดิงเอไอ (Landing AI) ซึ่งให้บริการผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์บริการที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ขับเคลื่อน[6]
ชีวประวัติ
[แก้]แอนดรูว์ อึ่ง เกิดที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปี 1976[1] พ่อของเขา โรนัลด์ พอล อึ่ง (Ronald Paul Ng) เป็นนักโลหิตวิทยา แม่ของเขา ทีซา ห่อ (Tisa Ho) เป็นนักศิลปะการแสดง[7][8][9] ทั้งคู่เป็นผู้อพยพจากฮ่องกง เมื่อโตขึ้น เขาใช้เวลาอยู่ใน ฮ่องกง และ สิงคโปร์[1] ก่อนที่จะสำเร็จการศึกษาจากสถาบันแรฟเฟิลส์ในสิงคโปร์ ในปี 1992[10]
ในปี 1997 เขาได้รับปริญญาจากวิทยาลัยในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สถิติศาสตร์ และ เศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน
ตั้งแต่ปี 1996 ถึง 1998 เขาได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบเสริมกำลัง การเลือกแบบจำลอง และ การเลือกค่าแทนลักษณะ ที่ AT&T Bell Labs[11][12]
ในปี 1998 เขาได้รับปริญญาโทจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ที่นั่นเขาได้สร้างเครื่องมือค้นหาเว็บที่มีการจัดทำดัชนีโดยอัตโนมัติสำหรับสาธารณะเป็นครั้งแรกสำหรับเอกสารการวิจัยบนเว็บ (เป็นรุ่นก่อนของ CiteSeer/ResearchIndex แต่มุ่งเน้นไปที่ การเรียนรู้ของเครื่อง)
ในปี 2002 เขาได้รับปริญญาเอกจาก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ บทความของเขามีชื่อว่า "Shaping and Policy Search in Reinforcement Learning" ซึ่งยังคงได้รับการอ้างถึงอยู่ในปัจจุบัน[12] หลังจากนั้นเขาจึงเริ่มทำงานเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดในปี 2002 และได้เป็นรองศาสตราจารย์ในปี 2009[13]
ปัจจุบันเขาอาศัยอยู่ที่ลอส แอลโทส ฮิลส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ในปี 2014 เขาแต่งงานกับแครอล อี. ไรลีย์ (Carol E. Reiley) ซึ่งเป็นนักวิจัยสาขาปัญญาประดิษฐ์เช่นกัน[14] และให้กำเนิดลูกคนแรกเป็นลูกสาวในเดือนกุมภาพันธ์ 2019[15] และคนที่ 2 เป็นลูกชายในปี 2021[16] MIT Technology Review ได้เรียกขานพวกเขาว่าเป็น "คู่รักพลัง AI"[17][18]
การงาน
[แก้]ในปี 2011 อึ่งได้ก่อตั้งโครงการกูเกิลเบรน ที่กูเกิล เพื่อพัฒนาโครงข่ายประสาทเทียม ขนาดใหญ่พิเศษผ่านคอมพิวเตอร์แบบกระจาย[19][20] เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2014 เขาร่วมงานกับไป่ตู้ และรับผิดชอบโครงการ "สมองไป่ตู้" (百度大脑)[21] และทำหน้าที่เป็นหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของไป่ตู้[22][23] เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2017 เขาได้ประกาศลาออกจากไป่ตู้[24] ในเดือนธันวาคม 2017 เขาได้ประกาศจัดตั้งบริษัทปัญญาประดิษฐ์ Landing.ai และดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท
ในเดือนเมษายน ปี 2024 เขาได้เข้าร่วมคณะกรรมการบริหารของแอมะซอน[25][26]
มุมมองต่อปัญญาประดิษฐ์
[แก้]อึ่งเชื่อว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จะช่วยพัฒนาชีวิตของผู้คน ไม่ใช่ทำให้เผ่าพันธุ์มนุษย์ "กลายเป็นทาส" ของมัน[27] เขาเชื่อว่าประโยชน์ที่เป็นไปได้มีมากกว่าภัยที่เกิดจากปัญญาประดิษฐ์ เขาเชื่อว่าแนวคิดเกี่ยวกับภัยร้ายจากปัญญาประดิษฐ์นั้นถูกกระพือให้เลวร้ายเกินจริง[28] เขาเคยระบุว่า "การกังวลเกี่ยวกับผู้ร้ายอภิมหาฉลาดที่เป็นปัญญาประดิษฐ์ในตอนนี้ก็เหมือนกับการกังวลเกี่ยวกับประชากรล้นบนดาวอังคาร - เรายังไม่ได้ลงจอดบนดาวอังคารด้วยซ้ำ!"[28] เขามองว่าปัญหาแท้จริงที่ควรอยู่ในการพูดคุยในระดับวิชาการ อุตสาหกรรม และรัฐบาลคือความท้าทายต่อแรงงานที่เกิดจากจักรกลเหล่านี้[29] เป้าหมายเฉพาะหนึ่งของเขาคือการทำให้การเรียนรู้ปัญญาประดิษฐ์เป็นของทุกคน (democratize) มุมมองต่อปัญญาประดิษฐ์ของอึ่งนี้ถือว่าเห็นตรงกันกับ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก แต่ขัดกันกับอีลอน มัสก์[29]
ในปี 2017 อึ่งระบุว่าเขาสนับสนุนให้มีรายได้พื้นฐานเพื่อช่วยให้คนไร้อาชีพสามารถศึกษาปัญญาประดิษฐ์เพื่อที่จะกลับเข้าสู่การจ้างงานอีกครั้งได้[30]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Seligman, Katherine (3 December 2006). "If Andrew Ng could just get his robot to assemble an Ikea bookshelf, we'd all buy one". SFGate. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-13. สืบค้นเมื่อ 12 February 2013.
- ↑ 2.0 2.1 Terdiman, Daniel (March 22, 2017). "Baidu's head of artificial intelligence is stepping down". Fast Company. สืบค้นเมื่อ April 17, 2019.
- ↑ "Andrew Ng – Stanford University". Coursera. สืบค้นเมื่อ August 29, 2017.
- ↑ Mozur, Paul (March 22, 2017). "A.I. Expert at Baidu, Andrew Ng, Resigns From Chinese Search Giant". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ April 17, 2019.
- ↑ Andrew Ng at Amazon re: MARS 2019 (ภาษาอังกฤษ), เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-20, สืบค้นเมื่อ 2019-11-20
- ↑ "Home". Landing AI. สืบค้นเมื่อ April 17, 2019.
- ↑ Ng, Terry (September 26, 2020). "After His Son Co-Founded Coursera, He Became Its Earliest Student and Completed 146 Courses". Rice Media.
- ↑ "Healer, teacher". The Straits Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-10. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
- ↑ Miquiabas, Bong (July 2015). "A.I. and the New Era of Business" (PDF). The Peak Magazine Hong Kong: 40–45.
- ↑ "A Conversation with Professor Andrew Ng". 22 มกราคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2024.
- ↑ Ng, Andrew. "Cirriculum Vitae: Andrew Y. Ng" (PDF).
- ↑ 12.0 12.1 Ng, Andrew (2003). Shaping and policy search in Reinforcement Learning (PDF). Robotic AI & Learning Lab (RAIL) (วิทยานิพนธ์). University of California, Berkeley.
- ↑ Ng, Andrew Y. (May 20, 2015). "Curriculum Vitæ: Andrew Y. Ng" (PDF). Stanford Artificial Intelligence Laboratory. สืบค้นเมื่อ October 9, 2020.
- ↑ "Inside The Mind That Built Google Brain: On Life, Creativity, And Failure". The Huffington Post. May 13, 2015. สืบค้นเมื่อ December 19, 2015.
- ↑ Ng, Andrew (February 20, 2019). "Announcing Nova Ng, our first daughter. Plus, some thoughts on the AI-powered world she will grow up in..." @AndrewYNg. สืบค้นเมื่อ March 7, 2019.
- ↑ Ng, Andrew (25 August 2021). "Dear friends". DeepLearning.ai: The Batch. No. 106.
- ↑ Technology Review, MIT [@techreview] (Dec 2, 2016). "Register today to hear power couple @AndrewYNg and @robot_MD speak at #EmTechDigital this March - http://trib.al/WHpHY91" (ทวีต). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ Jun 28, 2023. สืบค้นเมื่อ Jun 28, 2023 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ Ng, Andrew [@AndrewYNg] (Dec 2, 2016). "MIT Tech Review just called Carol @robot_MD and me a "power couple." :-)" (ทวีต). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ Jun 28, 2023. สืบค้นเมื่อ Jun 28, 2023 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ Claire Miller and Nick Bilton (3 November 2011). "Google's Lab of Wildest Dreams". New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-07. สืบค้นเมื่อ 2013-06-05.
- ↑ 陈粲然Ray (2013-05-10). "吴恩达:Google人工大脑背后的那个人". PingWest. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-17. สืบค้นเมื่อ 2014-05-16.
- ↑ Jenkin Xia (2014-05-15). "淡出Coursera,Andrew Ng的下一站是百度". PingWest. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-17. สืบค้นเมื่อ 2014-05-16.
- ↑ 雷建平 (2014-05-16). "Google Brain之父加盟百度任首席科学家职务". 腾讯科技. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-17. สืบค้นเมื่อ 2014-05-16.
- ↑ "A personal message from Co-founder Andrew Ng". Coursera blog. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-17. สืบค้นเมื่อ May 16, 2014.
- ↑ "pening a new chapter of my work in AI". 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-22. สืบค้นเมื่อ May 16, 2014.
- ↑ "亞馬遜(AMZN.US)發力人工智能 任命吳恩達爲董事會成員 作者 智通財經". Investing.com 香港 (ภาษาจีน). 2024-04-11. สืบค้นเมื่อ 2024-04-12.
- ↑ "Amazon adds AI expert Andrew Ng to board as GenAI race heats up". Reuters. 2024-04-11.
- ↑ Mozur, Paul (March 22, 2017). "A.I. Expert at Baidu, Andrew Ng, Resigns From Chinese Search Giant". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ April 17, 2019.
- ↑ 28.0 28.1 "Is AI an existential threat to humanity? – Quora". quora.com. สืบค้นเมื่อ 2019-04-17.
- ↑ 29.0 29.1 Thieme, Nick (2017-08-01). "Zuckerberg and Musk are arguing about the dangers of AI – they're both wrong". The Straits Times. สืบค้นเมื่อ 2020-12-26.
- ↑ "How will work and jobs change by 2035? – Quora". quora.com. สืบค้นเมื่อ April 17, 2019.