ตะวันออกใกล้โบราณ
ตะวันออกใกล้โบราณ (อังกฤษ: ancient Near East) เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมมากมาย ซึ่งได้แก่ เมโสโปเตเมีย[1] อียิปต์ อิหร่าน (หรือเปอร์เซีย) อานาโตเลีย และที่สูงอาร์มีเนีย[2] ลิแวนต์ และคาบสมุทรอาหรับ ดังนั้นสาขาการศึกษาตะวันออกใกล้โบราณและโบราณคดีตะวันออกใกล้ จึงเป็นหนึ่งในสาขาที่มีความโดดเด่นที่สุดในด้านการวิจัยในอาณาจักรประวัติศาสตร์โบราณ ในประวัติศาสตร์ ตะวันออกใกล้ หมายถึงพื้นที่ที่ครอบคลุมราวกึ่งกลางของเอเชียตะวันตก โดยมุ่งเน้นที่ดินแดนระหว่างกรีซโบราณและอียิปต์ทางตะวันตก และอิหร่านทางตะวันออก ดังนั้นจึงสอดคล้องเป็นอย่างยิ่งกับแนวคิดภูมิรัฐศาสตร์ตะวันออกกลางในปัจจุบัน
ประวัติศาสตร์ของตะวันออกใกล้โบราณ เริ่มต้นขึ้นด้วยการขึ้นสู่อำนาจของซูเมอร์ในสหัสวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล แม้ว่าวันที่ประวัติศาสตร์สิ้นสุดลงจะเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการก็ตาม โดยคำศัพท์ดังกล่าวครอบคลุมถึงพัฒนาการต่าง ๆ ของภูมิภาคในยุคสำริดและยุคเหล็ก และถือกันว่าสิ้นสุดลงด้วยการสถาปนาจักรวรรดิอะคีเมนิด ในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล การสถาปนาราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ในศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล หรือจุดเริ่มต้นของการพิชิตดินแดนโดยมุสลิม ในศตวรรษที่ 7 หลังคริสตกาล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Nemet-Nejat, Karen Rhea (1998). Daily Life In Ancient Mesopotamia. Greenwood Press. ISBN 9780313294976. สืบค้นเมื่อ 28 February 2015.
- ↑ "Armenian Highland". Encyclopædia Britannica. August 28, 2017.