อะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
อะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส (amyotrophic lateral sclerosis) | |
---|---|
This MRI (parasagittal FLAIR) demonstrates increased T2 signal within the posterior part of the internal capsule and can be tracked to the subcortical white matter of the motor cortex, outlining the corticospinal tract, consistent with the clinical diagnosis of ALS. However, typically MRI imaging is unremarkable in a patient with ALS. | |
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | G12.2 |
ICD-9 | 335.20 |
OMIM | 105400 |
DiseasesDB | 29148 |
MedlinePlus | 000688 |
eMedicine | neuro/14 emerg/24 pmr/10 |
MeSH | D000690 |
อะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส (อังกฤษ: amyotrophic lateral sclerosis (ALS) หรือ โรคของเซลล์ประสาทสั่งการ อังกฤษ: motor neuron disease (MND)), โรคชาร์โคต์ (อังกฤษ: Charcot disease) หรือ โรคลู เกห์ริก (อังกฤษ: Lou Gehrig's disease) เป็นโรคเสื่อมของระบบประสาทชนิดหนึ่งซึ่งมีสาเหตุได้หลายอย่าง มีลักษณะเฉพาะคือเกิดการฝ่อของกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดกล้ามเนื้อเกร็งและอ่อนแรงลงเรื่อยๆ มีอาการพูดลำบาก กลืนลำบาก หายใจลำบาก โดย ALS เป็นโรคของเซลล์ประสาทสั่งการที่พบบ่อยที่สุด จากโรคในกลุ่มนี้ 5 โรค
อะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ หรือความผิดปกติของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง จึงทำให้กล้ามเนื้อตามแขนและขาอ่อนแรงลง กลืนลำบาก พูดไม่ชัด โดยเซลล์เหล่านี้มีอยู่ในไขสันหลังและสมอง เมื่อเซลล์เสื่อมค่อย ๆ ตายไปในที่สุด ในทางการแพทย์มีอีกชื่อว่า "โรคของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง" (motor neuron disease; MND) หรือ "โรคเซลล์ประสาทนำคำสั่งเสื่อม" ในสหรัฐอเมริกาจะรู้จักกันดีในชื่อว่า "Lou Gehrig's Disease" (ลู-เก-ริก) ซึ่งตั้งชื่อโรคตามชื่อนักเบสบอลที่มีชื่อเสียงที่เป็นโรคนี้ในปี ค.ศ. 1930 ที่ผ่านมาจะพบนักกีฬาเป็นโรคนี้หลายคน แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ว่า นักกีฬามีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ได้มากกว่าอาชีพอื่น ๆ
สาเหตุ เกิดจากหลายเหตุปัจจัยก่อให้เกิดโรคร่วมกัน ได้แก่การมีปัจจัยบางอย่างทางพันธุกรรมซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดที่ทำให้มีเซลล์ประสาทนำคำสั่งมีโอกาสเสื่อมได้ง่ายกว่าบุคคลอื่น มีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื่อนของสารพิษ