วงศ์แอกโซลอเติล
วงศ์แอกโซลอเติล | |
---|---|
แอกโซลอเติล (Ambystoma mexicanum) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Amphibia |
อันดับ: | Caudata |
อันดับย่อย: | Salamandroidea |
วงศ์: | Ambystomatidae |
สกุล: | Ambystoma Tschudi, 1838 |
ชนิด | |
| |
ชื่อพ้อง | |
|
วงศ์แอกโซลอเติล (อังกฤษ: Mole salamander; วงศ์: Ambystomatidae) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับซาลาแมนเดอร์ (Caudata) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ambystomatidae
เป็นซาลาแมนเดอร์ที่มีรูปร่างป้อมและใหญ่ ไม่มีเหงือกและไม่มีช่องเปิดเหงือก ไม่มีร่องในโพรงจมูก มีปอด ประสาทไขสันหลังมีลักษณะโครงสร้างคล้ายคลึงกับซาลาแมนเดอร์ในวงศ์ Plethodonidae แต่โครงสร้างหลายประการยังคงรูปแบบแบบโบราณอยู่ การคงรูปโครงสร้างของระยะวัยอ่อนของซาลาแมนเดอร์ในวงศ์นี้อาจเกิดขึ้นเป็นบางโอกาสหรือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต โดยบางชนิดได้ถูกนำมาศึกษาทางวิชาการ เช่น แอกโซลอเติล (Ambystoma mexicanum) โดยถูกนำมาศึกษาการเจริญเติบโตในระยะวัยอ่อนมาก และถูกเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงด้วย
โดยรวมแล้ว ซาลาแมนเดอร์วงศ์นี้มีความยาวลำตัวจรดหางประมาณ 10-30 เซนติเมตร ส่วนมากอาศัยอยู่บนพื้นดิน การปฏิสนธิเกิดขึ้นภายในตัว การผสมพันธุ์ส่วนใหญ่เกิดในกลางฤดูหนาวหรือต้นฤดูใบไม้ผลิ การเกี้ยวพาราสีเกิดขึ้นในน้ำ โดยตัวผู้ไปถึงแหล่งน้ำก่อนและรอตัวเมีย ตัวผู้จะแสดงพฤติกรรมต่อหน้าตัวเมียหลายตัวและสัมผัสกับตัวเมียบางตัว ต่อจากนั้นจึงถ่ายสเปอร์มาโทฟอร์ให้ตัวเมียใช้ทวารร่วมหนีบไป ตัวเมียจะวางไข่ในอีกหลายวันต่อมา จากนั้นทั้งคู่จะแยกย้ายกันไป ก่อนจะมาผสมพันธุ์กันอีกในปีถัดมา แต่ในบางชนิดจะมีช่วงผสมพันธุ์ระหว่างฤดูใบไม้ร่วง การเกี้ยวพาราสีอยู่บนพื้นดินและวางไข่บนพื้นดิน ซึ่งรังที่ใช้วางไข่ถูกน้ำท่วมโดยฝนกลางฤดูหนาวหรือต้นฤดูใบไม้ผลิหรือจากน้ำที่เกิดขึ้นจากการละลายของหิมะ วัยอ่อนเมื่ออกจากไข่จะอาศัยอยู่ในน้ำ
มีทั้งหมดประมาณ 33 ชนิด มีเพียงสกุลเดียว คือ Ambystoma พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือ ตั้งแต่ใต้สุดของแคนาดาไปจนถึงใต้สุดของที่ราบสูงเม็กซิโก[1]
การจำแนก
[แก้]- Ambystoma altamirani Dugès, 1895
- Ambystoma amblycephalum Taylor, 1940
- Ambystoma andersoni Krebs and Brandon, 1984
- Ambystoma annulatum Cope, 1886
- Ambystoma barbouri Kraus and Petranka, 1989
- Ambystoma bishopi Goin, 1950
- Ambystoma bombypellum Taylor, 1940
- Ambystoma californiense Gray, 1853
- Ambystoma cingulatum Cope, 1868
- Ambystoma dumerilii (Dugès, 1870)
- Ambystoma flavipiperatum Dixon, 1963
- Ambystoma gracile (Baird, 1859)
- Ambystoma granulosum Taylor, 1944
- Ambystoma jeffersonianum (Green, 1827)
- Ambystoma laterale Hallowell, 1856
- Ambystoma leorae (Taylor, 1943)
- Ambystoma lermaense (Taylor, 1940)
- Ambystoma mabeei Bishop, 1928
- Ambystoma macrodactylum Baird, 1850
- Ambystoma maculatum (Shaw, 1802)
- Ambystoma mavortium Baird, 1850
- Ambystoma mexicanum (Shaw and Nodder, 1798)
- Ambystoma opacum (Gravenhorst, 1807)
- Ambystoma ordinarium Taylor, 1940
- Ambystoma rivulare (Taylor, 1940)
- Ambystoma rosaceum Taylor, 1941
- Ambystoma silvense Webb, 2004
- Ambystoma subsalsum Taylor, 1943
- Ambystoma talpoideum (Holbrook, 1838)
- Ambystoma taylori Brandon, Maruska and Rumph, 1982
- Ambystoma texanum (Matthes, 1855)
- Ambystoma tigrinum (Green, 1825)
- Ambystoma velasci (Dugès, 1888) [2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ หน้า 313, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก โดย วีรยุทธ์ เลาหะจินดา (พ.ศ. 2552) ISBN 978-616-556-016-0
- ↑ จาก itis.gov (อังกฤษ)