ข้ามไปเนื้อหา

นกกระติ๊ดแดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Amandava amandava)

นกกระติ๊ดแดง
A. amandava ในรัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย

ด้านซ้าย - เพศผู้♂, ด้านขวา - เพศเมีย♀

สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์ปีก
อันดับ: นกเกาะคอน
วงศ์: วงศ์นกกระติ๊ด
สกุล: Amandava

(Linnaeus, 1758)
สปีชีส์: Amandava amandava
ชื่อทวินาม
Amandava amandava
(Linnaeus, 1758)
ชื่อพ้อง
  • Fringilla amandava (Linnaeus, 1758)
  • Estrilda amandava (Linnaeus, 1758)
  • Sporaeginthus amandava (Linnaeus, 1758)
นกกระติ๊ดแดง (Amandava amandava) - เสียง

นกกระติ๊ดแดง (อังกฤษ: red avadavat, red munia, strawberry finch; ชื่อวิทยาศาสตร์: Amandava amandava) เป็นนกขนาดเล็กในวงศ์นกกระติ๊ด นกชนิดนี้พบได้ตามทุ่งโล่งและทุ่งหญ้าในเขตร้อนของทวีปเอเชีย และนิยมนำมาเลี้ยง เนื่องจากมีขนที่มีสีสันสวยงามของตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์ ขยายพันธุ์ในอนุทวีปอินเดียในช่วงฤดูมรสุม ชื่อสายพันธุ์ของ Amandava และชื่อสามัญของ Avadavat ตั้งตามเมืองอะห์มดาบาด รัฐคุชราต ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นเมืองที่ส่งออกนกเหล่านี้ไปเป็นสัตว์เลี้ยงในสมัยก่อน[2][3]

อนุกรมวิธาน

[แก้]

นกกระติ๊ดแดงได้รับการจำแนกอย่างเป็นทางการโดยนักธรรมชาติวิทยาชาวสวีเดน คอล ลินเนีย ในปี ค.ศ. 1758 ในฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ของ Systema Naturae ภายใต้ชื่อทวินามว่า Frigilla amandava[4] ลินเนียได้บรรยายไว้ตามคำอธิบายใน "The Amaduvads Cock and Hen" ซึ่งได้รับการบรรยายและวาดภาพประกอบในปี ค.ศ. 1738 โดยนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษชื่อ เอเลอาซาร์ อัลบิน[5] ลินเนียได้ระบุตัวอย่างที่ตั้งชนิดดังกล่าวว่าเป็นอินเดียตะวันออก แต่ถูกจำกัดไว้เฉพาะที่โกลกาตา (แคลคัตตา) โดย อี. ซี. สจวร์ต เบเกอร์ ในปี ค.ศ. 1921[6][7] ปัจจุบันสายพันธุ์นี้ถูกจัดอยู่ในสกุล Amandava ซึ่งตั้งขึ้นมาในปี ค.ศ. 1836 โดยนักสัตววิทยาชาวอังกฤษ เอ็ดเวิร์ด บลิธ[8][9]

ก่อนหน้านี้นกกระติ๊ดแดงถูกจัดอยู่ในสกุล Estrilda โดย Jean Delacour แต่การศึกษาทางด้านสัณฐานวิทยา[10] พฤติกรรม ชีวเคมี[11] และดีเอ็นเอ สนับสนุนการแยกเป็นสกุลใหม่ โดยใช้ชื่อว่า Amandava[12][13][14]

มี 3 ชนิดย่อยที่ได้รับการยอมรับ ได้แก่[9]

  • A. a. amandava (ลินเนีย, 1758) – พบในประเทศปากีสถาน, อินเดีย, เนปาล และบังกลาเทศ
  • A. a. flavidiventris (วอลเลซ, 1864) – พบในประเทศเมียนมาร์, ทางใต้ของจีน, ทางตะวันตกเฉียงเหนือและภาคกลางของไทย และหมู่เกาะซุนดาน้อย
  • A. a. punicea (ฮอร์สฟิลด์, 1821) – พบทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย, ประเทศกัมพูชา, ทางใต้ของเวียดนาม, เกาะชวา และเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย

คำอธิบาย

[แก้]

นกขนาดเล็กนี้สามารถระบุได้ง่ายจากหางโค้งมนสีดำและจะงอยปากที่เป็นสีแดงตามธรรมชาติ ก้นเป็นสีแดง และตัวผู้ในช่วงฤดูผสมพันธุ์จะมีสีแดงเกือบทั้งส่วนบน ยกเว้นแถบสีดำบริเวณตา ท้องส่วนล่าง และปีก มีจุดสีขาวบนลำตัวและขนปีกสีแดง ตัวผู้ที่ยังไม่ผสมพันธุ์จะมีสีคล้ำกว่าแต่มีก้นสีแดง ในขณะที่ตัวเมียจะมีสีคล้ำกว่าและมีจุดสีขาวบนขนน้อยกว่า[15][16]

การกระจายพันธุ์และถิ่นที่อยู่อาศัย

[แก้]

นกกระติ๊ดแดงถูกพบส่วนใหญ่ในพื้นที่ราบ ในพื้นที่ที่มีหญ้าสูงหรือพื้นที่เกษตรกรรม และมักอยู่ใกล้แหล่งน้ำ[15] นกชนิดนี้มีชนิดย่อยที่ได้รับการตั้งชื่อไว้ 4 ชนิด ชนิดย่อยที่ได้รับชื่อเรียกว่า amandava พบได้ในประเทศบังกลาเทศ, ประเทศอินเดีย, ประเทศเนปาล และประเทศปากีสถาน และชนิดย่อย flavidiventris พบได้ในบางส่วนของประเทศจีน, ประเทศอินโดนีเซีย, ประเทศไทย และประเทศเวียดนาม ด้วย[6] และกลุ่มประชากรทางตะวันออกในเกาะชวาเรียกว่า punicea และในประเทศกัมพูชาเรียกว่า decouxi[17][18][7][19]

มีประชากรของนกกระติ๊บแดงที่นำเข้ามาอยู่ในหลายสถานที่ทั่วโลก ได้แก่ ตอนใต้ของประเทศสเปน,[20] ประเทศบรูไน, ประเทศฟีจี,[21] ประเทศอียิปต์,[22] ประเทศมาเลเซีย, ประเทศสหรัฐ, ประเทศบาห์เรน, จังหวัดกัวเดอลุป, ประเทศอิหร่าน, ประเทศอิตาลี, จังหวัดเรอูว์นียง, ประเทศมาเลเซีย, ประเทศเม็กซิโก, ประเทศสาธารณรัฐโดมินิกัน, จังหวัดมาร์ตินีก, ประเทศโปรตุเกส, ประเทศญี่ปุ่น, เครือรัฐปวยร์โตรีโก, ประเทศสิงคโปร์ และรัฐฮาวาย[23][24][25]

พฤติกรรมและนิเวศวิทยา

[แก้]

โดยทั่วไปมักพบเห็นนกชนิดนี้รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ[26] บินด้วยปีกที่กระพืออย่างรวดเร็วและลงไปยังกอหญ้าซึ่งสังเกตได้ยาก นกหนึ่งคู่จะอยู่ด้วยกันตลอดทั้งฤดูผสมพันธุ์[27] นกพวกนี้ส่งเสียงร้องเป็นทำนอง พริบ พริบ ที่มีลักษณะเฉพาะเป็นโน้ตต่ำเพียงตัวเดียว ซึ่งมักได้ยินขณะบิน เสียงร้องนี้เป็นเสียงร้องที่มีโน้ตต่ำ ๆ[28] นกในฝูงจะไซ้ขนกันเองโดยกระดิกขนหัวเพื่อเชื้อเชิญ[29] นกชนิดนี้กินเมล็ดหญ้าเป็นหลัก แต่ยังกินแมลง เช่น ปลวก เมื่อมีโอกาสด้วย[30]

พวกมันสร้างรังเป็นรูปทรงกลมจากใบหญ้า โดยปกติแล้วจะมีไข่สีขาวประมาณ 5 หรือ 6 ฟองต่อหนึ่งครอก[31]

จะงอยปากจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดงในเดือนพฤษภาคมและเปลี่ยนเป็นสีเข้มในช่วงเดือนพฤศจิกายนและเดือนธันวาคม จากนั้นจะงอยปากจะเปลี่ยนเป็นสีดำอย่างรวดเร็วในเดือนเมษายนและวงจรก็ดำเนินต่อไป[32] วัฏจักรตามฤดูกาลเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงความยาวของวันตามฤดูกาล[33]

มีการระบุเหาในนกที่เป็นปรสิตภายนอกอยู่ 2 สปีชีส์ (ในอันดับย่อย Ischnocera, Brueelia amandavae และในเคลด Amblycera, Myrsidea amandava)[34] และได้มีการแยกไวรัสพารามิกโซ (Paramyxoviridae) ออกจากนกที่เลี้ยงไว้ในญี่ปุ่น[35][36]

สถานะการอนุรักษ์

[แก้]

แม้ว่าสถานะการอนุรักษ์ปัจจุบันของนกกระติ๊ดแดงจะอยู่ในระดับที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ (LC) แต่ก็พบว่าพบเห็นได้น้อยลงอย่างน้อยในบางพื้นที่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยมีการกล่าวถึงสัตว์เหล่านี้ว่าเป็นสัตว์ประจำถิ่นที่หาได้ยาก[37] ในประเทศกัมพูชานกกระติ๊ดแดงถูก "ส่งออกเป็นจำนวนนับพันตัว" ไปยังประเทศเวียดนามตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1920 โดยในช่วงต้นปี ค.ศ. 1960 นกกระติ๊ดแดงถูกมองว่าเป็น "สัตว์ที่หายากและไม่ปกติ" และปัจจุบันประชากรของนกกระติ๊ดแดงถือว่ามีจำนวนน้อยลงและน่าเป็นห่วง แต่ในปี ค.ศ. 2012 นกกระติ๊ดแดงก็ยังคงมีจำนวนที่สำคัญในธุรกิจปล่อยสัตว์สู่ธรรมชาติ[38]

แกลเลอรี่

[แก้]

เชิงอรรถและรายการอ้างอิง

[แก้]
  1. BirdLife International (2016). "Amandava amandava". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T22719614A94635498. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-3.RLTS.T22719614A94635498.en. สืบค้นเมื่อ 11 November 2021.
  2. Pittie A (2004). "A dictionary of scientific bird names originating from the Indian region". Buceros. 9 (2).
  3. Yule H (1886). Hobson-Jobson:A glossary of Anglo-Indian colloquial words and phrases. John Murray. p. 30.
  4. Linnaeus, Carl (1758). Systema Naturae per regna tria naturae, secundum classes, ordines, genera, species, cum characteribus, differentiis, synonymis, locis (ภาษาLatin). Vol. 1 (10th ed.). Holmiae (Stockholm): Laurentii Salvii. p. 180.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  5. Albin, Eleazar; Derham, William (1738). A Natural History of Birds : Illustrated with a Hundred and One Copper Plates, Curiously Engraven from the Life. Vol. 3. London: Printed for the author and sold by William Innys. p. 72, Plate 77.
  6. 6.0 6.1 Baker, E.C. Stuart (1921). "Hand-list of the "Birds of India" Part III". Journal of the Bombay Natural History Society. 27: 692–744 [725].
  7. 7.0 7.1 Paynter, Raymond A. Jr, บ.ก. (1968). Check-List of Birds of the World. Vol. 14. Cambridge, Massachusetts: Museum of Comparative Zoology. p. 348.
  8. White, Gilbert (1836). Blyth, Edward (บ.ก.). The Natural History of Selborne, with its Antiquites; Naturalist's Calendar, &c. London: Orr and Smith. p. 44, Footnote.
  9. 9.0 9.1 Gill, Frank; Donsker, David; Rasmussen, Pamela, บ.ก. (July 2021). "Waxbills, parrotfinches, munias, whydahs, Olive Warbler, accentors, pipits". IOC World Bird List Version 11.2. International Ornithologists' Union. สืบค้นเมื่อ 14 July 2021.
  10. Harrison, C.J.O. (1962). "The affinities of the Red Avadavat, Amandava amandava (Linn.)". Bulletin of the British Ornithologists' Club. 82: 126–132.
  11. Christidis, L (1987). "Biochemical systematics within Palaeotropic finches (Aves: Estrildidae)" (PDF). The Auk. 104 (3): 380–392. doi:10.2307/4087534. JSTOR 4087534.
  12. Harrison, CJO (1962). "An ethological comparison of some waxbills (Estrildini), and its relevance to their taxonomy". Proceedings of the Zoological Society of London. 139 (2): 261–282. doi:10.1111/j.1469-7998.1962.tb01830.x.
  13. Delacour, Jean (1943). "A revision of the subfamily Estrildinae of the family Ploceidae". Zoologica. 28: 69–86.
  14. Webster, J.D. (2007). "Skeletal characters and the systematics of Estrildid finches (Aves:Estrildidae)". Proceedings of the Indiana Academy of Science. 116 (1): 90–107. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-24.
  15. 15.0 15.1 Rasmussen, Pamela C.; Anderton, John C. (2012). Birds of South Asia. The Ripley Guide. Vol. 2: Attributes and Status (2nd ed.). Washington D.C. and Barcelona: Smithsonian National Museum of Natural History and Lynx Edicions. p. 572. ISBN 978-84-96553-87-3.
  16. Whistler, Hugh (1949). Popular Handbook of Indian Birds. Gurney and Jackson. pp. 216–217.
  17. Oates, EW (1890). Fauna of British India. Birds. Volume 2. Taylor and Francis, London. pp. 192–193.
  18. Deignan, H.G. (1963). "Checklist of the birds of Thailand". United States National Museum Bulletin. 226: 216.
  19. Baker ECS (1926). Fauna of British India. Birds. Volume 3 (2nd ed.). Taylor and Francis. pp. 95–97.
  20. De Lope F.; Guerrero J.; De La Cruz C. (1984). "Une nouvelle espèce à classer parmi les oiseaux de la Péninsule Ibérique: Estrilda (Amandava) amandava L. (Ploceidae, Passeriformes)" [A new species for the Iberian Peninsula: Estrilda (Amandava) amandava L. (Ploceidae, Passeriformes)]. Alauda. 52 (4).
  21. Langham, N.P.E. (1987). "The annual cycle of the Avadavat Amandava amandava in Fiji". Emu. 87 (4): 232–243. doi:10.1071/MU9870232.
  22. Nicoll, MJ (1919). Handlist of the birds of Egypt. Government Press, Cairo. p. 30.
  23. Barre N.; Benito-Espinal E. (1985). "Oiseaux granivores exotiques implantés en Guadeloupe, à Marie-Galante et en Martinique (Antilles françaises)" [Seed eating exotic birds established in Guadeloupe, Marie Galante and in Martinique (French West Indies)]. L'Oiseau et la Revue française d'Ornithologie. 55 (3): 235–241.
  24. Ticehurst, C.B. (1930). "The Amandavat (Aamandava amandava) in Mesopotamia". Journal of the Bombay Natural History Society. 34 (2): 576.
  25. "IUCN Red List of Threatened Species: Amandava amandava". IUCN Red List of Threatened Species. October 2016.
  26. Evans, SM (1970). "Some factors affecting the flock behaviour of red avadavats (Amandava amandava) with particular reference to clumping". Animal Behaviour. 18 (4): 762–767. doi:10.1016/0003-3472(70)90025-4.
  27. Sparks, J.H. (1964). "Flock structure of the Red Avadavat with particular references to clumping and allopreening". J. Anim. Behaviour. 12: 125–126. doi:10.1016/0003-3472(64)90113-7.
  28. Ali S; SD Ripley (1999). Handbook of the birds of India and Pakistan. Vol. 10 (2nd ed.). Oxford University Press. pp. 106–108.
  29. Sparks, John H. (1965). "On the role of allopreening invitation behaviour in reducing aggression among red avadavats, with comments on its evolution in the Spermestidae". Journal of Zoology. 145 (3): 387–403. doi:10.1111/j.1469-7998.1965.tb02024.x.
  30. Inglis, CM (1910). "Note on the Spotted Munia (Uroloncha punctulata) and the Indian Red Munia (Sporaeginthus amandava)". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 20 (2): 517–518.
  31. Hume, AO (1890). The Nests and Eggs of Indian Birds. Vol. 2. London: R.H. Porter. pp. 147–149.
  32. Thapliyal, JP; BBP Gupta (1984). "Thyroid and annual gonad development, body weight, plumage pigmentation, and bill color cycles of Lal Munia, Estrilda amandava". Gen. Comp. Endocrinology. 55 (1): 20–28. doi:10.1016/0016-6480(84)90124-2. PMID 6745630.
  33. Subramanian, P; R Subbaraj (1989). "Seasonal changes in the timing of hopping and feeding activities of a tropical bird (Estrilda amandava) under natural photoperiod". Proc. Indian Acad. Sci. (Anim. Sci.). 98 (2): 89–93. doi:10.1007/BF03179631.
  34. Gupta, N.; Kumar, S.; Saxena, A.K. (2007). "Prevalence and population structure of lice (Phthiraptera) on the Indian Red Avadavat". Zoological Science. 24 (4): 381–383. doi:10.2108/zsj.24.000. PMID 17867828.
  35. Matsuoka, Y; H Kida; R Yanagawa (1980). "A new paramyxovirus isolated from an Amaduvade Finch (Estrilda amandava)". Jpn. J. Vet. Sci. 42 (2): 161–167. doi:10.1292/jvms1939.42.161. PMID 7382234.
  36. Rékási, J.; Saxena, A. K. (2005). "A new Phthiraptera species (Philopteridae) from the Red Avadavat (Amandava amandava)" (PDF). Aquila. 112: 87–93. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-29. สืบค้นเมื่อ 2024-10-21.
  37. Round, Philip & Gardner, Dana.
  38. Gilbert, Martin; Sokha, Chea; Joyner, Priscilla H.; Thomson, Robert L.; Poole, Colin (September 2012). "Characterizing the trade of wild birds for merit release in Phnom Penh, Cambodia and associated risks to health and ecology". Biological Conservation (ภาษาอังกฤษ). 153: 10–16. doi:10.1016/j.biocon.2012.04.024.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]