ส้มป่อย
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก Acacia concinna)
ส้มป่อย | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Fabales |
วงศ์: | Fabaceae |
สกุล: | Acacia |
สปีชีส์: | A. concinna |
ชื่อทวินาม | |
Acacia concinna (Willd.) DC.[1] | |
ชื่อพ้อง | |
|
ส้มป่อย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Acacia concinna) เป็นพืชชนิดหนึ่งในวงศ์ถั่ว ภาษากะเหรี่ยงเรียกเบ๊อะฉี่สะหรือพีจีสะ เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย มีหนามแข็ง ลำต้นและกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ปลายใบเป็นติ่งหนามแหลมอ่อนโค้ง ใบประกอบ มีหูใบ ใบย่อยไม่มีก้านใบ ดอกช่อแบบกระจุก ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็ก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงรูปถ้วยสีแดง กลีบดอกเป็นหลอดสีขาว เกสรตัวผู้จำนวนมากติดกับกลีบดอก มี 5 มัด ก้านชูสีขาว ผลเป็นฝักรูปขอบขนาน แบน หนา เมื่อแห้งผิวย่น ขรุขระมาก
ฝักอ่อนและใบอ่อนมีรสเปรี้ยว ชาวกะเหรี่ยงนำไปประกอบอาหาร ฝักแก่ตากให้แห้ง ต้มกับขมิ้นใช้สระผม ใบใช้เป็นส่วนประกอบในการย้อมผ้า[3] ในฝักมีสารกลุ่มซาโปนินหลายชนิด ทำให้เกิดฟองเมื่อนำฝักส้มป่อยตีกับน้ำ รากใช้เป็นยาแก้ไข้ ใช้เป็นยาขับเสมหะ แก้บิด[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Acacia concinna information from NPGS/GRIN". www.ars-grin.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05. สืบค้นเมื่อ 2008-03-13.
- ↑ "Acacia concinna - ILDIS LegumeWeb". www.ildis.org. สืบค้นเมื่อ 2008-03-13.
- ↑ ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ 2551 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่271 หน้า ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2021-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ชยันต์ พิเชียรสุนทร ศุภชัย ติยวรนันท์ และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 6 เภสัชกรรม. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2555. หน้า 133