ข้ามไปเนื้อหา

เอไอเอ็ม-120 แอมแรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก AMRAAM)
เอไอเอ็ม-120 แอมแรม
ชนิดอาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศนำวิถีด้วยเรดาร์พิสัยกลาง
แหล่งกำเนิด สหรัฐอเมริกา
บทบาท
ประจำการกันยายน พ.ศ. 2534
ประวัติการผลิต
บริษัทผู้ผลิตฮิวจ์ส/เรย์เธียน
แบบอื่นเอไอเอ็ม-120เอ เอไอเอ็ม-120บี เอไอเอ็ม-120ซี เอไอเอ็ม-120ซี-4/5/6/7 เอไอเอ็ม-120ดี
ข้อมูลจำเพาะ
มวล152 กิโลกรัม
ความยาว3.66 เมตร
เส้นผ่าศูนย์กลาง7 นิ้ว
ความยาวระหว่างปลายปีก20.7 นิ้ว (เอไอเอ็ม-120เอ/บี)
หัวรบสะเก็ดระเบิดแรงสูง
ระเบิดสะเก็ดดับบลิวดียู-33/บี 25 กิโลกรัม (เอไอเอ็ม-120เอ/บี)
ระเบิดสะเก็ด ดับบลิวดียู-41/บี 18 กิโลกรัม (เอไอเอ็ม-120ซี)
กลไกการจุดชนวน
อุปกรณ์ตรวจจับเป้าหมายปฏิบัติ
อุปกรณ์ตรวจจับเป้าในพื้นที่ 1/4 ของวงกลม สำหรับเอไอเอ็ม-120ซี-6[1]

เครื่องยนต์เครื่องยนต์จรวดพลังสูง
พิสัยปฏิบัติการ
48 กิโลเมตร (เอไอเอ็ม-120เอ/บี)

105 กิโลเมตร(เอไอเอ็ม-120ซี)

160+ กิโลเมตร(เอไอเอ็ม-120ดี) [2]
ความเร็วสูงสุด4 มัก
ระบบนำวิถี
เรดาร์ปฏิบัติ
ฐานยิง
อากาศยาน:

เครื่องยิงภาคพื้นดิน:

จรวดนำวิถีเอไอเอ็ม-120 หรือ แอมแรม ([AIM-120 Advanced Medium-Range Air-to-Air Missile, AMRAAM] ข้อผิดพลาด: {{Langx}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) เป็นอาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศเกินระยะตามองเห็น (BVR) รุ่นใหม่ที่สามารถใช้ได้ทั้งตอนกลางวันและกลางคืน มันยังรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่าสแลมเมอร์ในกองทัพอากาสสหรัฐ นาโต้ใช้รหัสเรียกมันว่าฟ็อกซ์ ทรี (Fox Three)

การพัฒนา

[แก้]

แอมแรม ได้ถูกพัฒนาขึ้นจากข้อตกลงสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ ในเนโทในการพัฒนาจรวดนำวิถีและการแบ่งปันข้อมูลและเทคโนโลยี ภายใต้ข้อตกลง สหรัฐจะพัฒนาจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลางรุ่นใหม่ และยุโรปจะพัฒนาจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ ถึงแม้ว่ายุโรปจะใช้ AMRAAM อยู่แต่ก็มีความพยายามที่จะพัฒนา Meteor ซึ่งเป็นคู่แข่งกับ AMRAAM เรื่มต้นโดยสหราชอาณาจักร ในที่สุดสหราชอาณาจักรก็พัฒนา ASRAAM แต่เพียงผู้เดียว หลังจากยืดเยื้อในการพัฒนาอยู่นาน การนำ AMRAAM (AIM-120A) เข้าประจำการก็ได้เรื่มต้นในกันยายน ปี พ.ศ. 2534 และเครื่องบินกองทัพอากาศสหรัฐลำแรกที่ได้รับการติดตั้งก็คือ F-15 Eagle ต่อมากองทัพเรือก็ได้นำมาประจำการใน F/A-18 Hornet ในปี พ.ศ. 2536

ลักษณะการใช้งาน

[แก้]

แอมแรม มีความสามารถในการปฏิบัติการในทุกสภาพอากาศ และยังมีความสามารถในการทำ Beyond-visual-range (BVR) มันช่วยเพื่มความสามารถในการรบทางอากาศของกองทัพสหรัฐ และชาติพันธมิตร แอมแรม ได้ถูกนำเข้าประจำการในปี พ.ศ. 2534 มันเข้ามาแทนที่ เอไอเอ็ม-7สแปร์โรว์เพราะแอมแรมนั้นเร็วกว่า เล็กกว่า เบากว่า และมีความสามารถในการจัดการข้าศึกที่ระดับความสูงต่ำและมันสามารถยังใช้ ดาต้าลิงก์ ในการนำวิถีขีปนาวุธไปยังเป้าหมาย

ระบบนำวิถี

[แก้]

ระยะไกล

[แก้]

จรวดนำวิถี เอไอเอ็ม-120 ติดตั้งระบบนำวิถี 2 ช่วง (two-stage guidance system) เมื่อจะทำการใช้อาวุธต่ออากาศยานเป้าหมายระยะไกล โดยเครื่องขับไล่ที่ติดตั้งอาวุธจะส่งข้อมูลเป้าหมายให้กับจรวดนำวิถีก่อนทำการยิงจากข้อมูลที่ได้จากเรดาร์ควบคุมการยิงของเครื่องบินขับไล่ที่ตรวจพบอากาศยานเป้าหมายประกอบด้วย ตำแหน่ง ความเร็ว และทิศทางเพื่อให้จรวดนำวิถีเคลื่อนที่ไปในทิศทางตามข้อมูลที่ได้รับโดยการใช้ระบบนำร่อง Inertial Navigation System (INS) นอกจากนี้ เอไอเอ็ม-120 แอมแรม ยังสามารถรับข้อมูลเป้าหมายจากระบบอินฟราเรดค้นหาและติดตามเป้าหมาย (Infrared- Search and Track System;IRST) หรือผ่านเครือข่าย ดาต้าลิงก์ จากเครื่องบินลำอื่นๆ และเมื่อขณะอยู่ในเส้นทางการบินไปยังเป้าหมายจรวดนำวิถีจะได้รับข้อมูลเป็นระยะๆ จากเครื่องบินขับไล่ท่ทำการปล่อยอาวุธโดยการควบคุมการบินและปรับเปลื่ยนทิศทางให้ตรงกับตำแหน่งเป้าหมายจะทำกระทำผ่านครีบทั้ง 4 แห่ง โดยติดตั้งอยู่ที่หางจนกระทั่งเข้าสู่ระยะอุปกรณ์เรดาร์ติดตามเป้าหมาย (Active Seeker Radar) ติดตั้งกับจรวดนำวิถีจะเปิดระบบเพื่อนำวิถีให้จรวดพุ่งชนโดยการจุดระเบิดหัวรบด้วยหัวรบแบบเฉียดกระทบให้ระเบิดขนาด 40 ปอนด์ระเบิดทำลายอากาศยานเป้าหมาย[3]

ระยะใกล้

[แก้]

สำหรับการใช้อาวุธเข้าโจมตีเป้าหมายระยะใกล้ (Close Range) จรวดนำวิถี แอมแรม จะใช้เฉพาะระบบเรดาร์นำวิถีตัวเองนำจรวดนำวิถีพุ่งกระทบเป้าหมาย ดังนัน จึงทำให้เครื่องบินขับไล่ที่ยิงอาวุธออกมาแล้วมีอิสระที่ทำการสู้รบกับเป้าหมายอื่นๆต่อไปซึ่งมีขีดความสามารถดังกล่าวจึงถูกเรียกว่าเป็นอาวุธประเภท"ยิงแล้วลืม"(Fire and Forget)[3]

ประวัติการใช้งาน

[แก้]

ในปี 1991 กองทัพอากาศสหรัฐ เป็นกองทัพแรกที่ได้รับจรวดนำวิถี เอไอเอ็ม-120เอ เข้าประจำการ ในปี 1992 ได้ถูกนำมาใช้งานครั้งแรกในสงครามอ่าวเปอร์เซีย (Operation Desert Strom)โดยติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ครองอากาศ แบบ เอฟ-15 ซี เป็นแบบแรกแต่ไม่เคยใช้ในการสู้รบ กองทัพอากาศสหรัฐประสบความสำเร็จในการรบทางอากาศกับจรวดนำวิถี แอมแรม ครั้งกับเครื่องบินขับไล่ เอฟ-16 ดี รุ่น สองที่นั่ง นักบินใช้จรวดนำวิถี เอไอเอ็ม-120 เอ ยิงเครื่องบินขับไล่ แบบ มิก-25 ของกองทัพอากาศอิรัคซึ่งละเมิดเขตห้ามบิน (No-Fly Zone) ตกเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 1992 ความสำเร็จครั้งที่สองเกิดขึ้นในอีกเดือนต่อมา เป็นเครื่องบินขับไล่ เอฟ-16 เช่นเดิม แต่เป็นรุ่น เอฟ-16 ซี ที่นั่งเดี่ยว ยิงเครื่องบินขับไล่ มิก-23 ตกเมื่อเดือนมกราคม 1993ในอีก 1 ปีต่อมาในสงครามบอสเนียนักบินเครื่องบินขับไล่ เอฟ-16 ซี ของกองทัพอากาศสหรัฐ ใช้จรวดนำวิถีเอไอเอ็ม-120 เอ ยิงเครื่องบินฝึกไอพ่น แบบ เจ-21 ของทัพอากาศบอสเนียตกเนื่องจากบินละเมิดเขตห้ามบินซึ่งสหประชาชาติกำหนดขึ้น หลังจากความสำเร็จยิงเครื่องบินตก 3 เครื่อง จรวดนำวิถี เอไอเอ็ม-120 ได้ถูกขนามนามว่า"สแลมเมอร์" (Slammer) ในระหว่าง Operation Allied Force การรบทางอากาศเหนือน่านฟ้ากรุงคอซอวอนักบินเครื่องบินขับไล่กองทัพอากาศสหรัฐฯและชาติพันธมิตรที่กำลังส่งกำลังทางอากาศเข้าร่วมปฏิบัติการใช้จรวดนำวิถี เอไอเอ็ม-120 เอ ยิงเครื่องบินขับไล่ มิก-29 ของกองทัพอากาศเซอร์เบียตกรวม 6 เครื่อง โดยเป็นผลงานของนักบินเครื่องบินขับไล่ เอฟ-15 ซี จำนวน 4 เครื่อง นักบินเครื่องบินขับไล่เอฟ-16ซี และ เอฟ-16 เอเอ็ม ของกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์คนละ 1 เครื่องมีข้อมูลแย้งว่าผลงานของ เอฟ-16 ซี อาจจะเป็นผลงานของพลยิงจรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยาน แบบ เอสเอ-7 ของทัพเซอร์เบียยิงเครื่องบินฝ่ายเดียวกัน

ในปี 1994 กองทัพอากาศมีความผิดพลาดในการใช้อาวุธเกิดขึ้นเช่นกัน เมื่อนักบินขับไล่ เอฟ-15 ซี กองทัพอากาศสหรัฐ ใช้จรวดนำวิถี แอมแรม ยิงเฮลิคอปเตอร์ แบบ ยูเอซ-60 เอ แบลคฮอว์คตกใน Northern no-Fly zone ทางตอนเหนือของอิรัค

ประเทศผู้ใช้งาน

[แก้]
 ออสเตรเลีย
  • กองทัพอากาศออสเตรเลีย
 เบลเยียม
  • กองทัพอากาศเบลเยียม
 บาห์เรน
  • กองอากาศบาห์เรน
 แคนาดา
  • กองทัพอากาศแคนาดา
 ชิลี
สีฟ้าแสดงถึงประเทศที่มี AIM-120 แอมแรมประจำการอยู่
  • กองทัพอากาศชิลี[4]

 เช็กเกีย

  • กองทัพอากาศเช็ก[5]
 เดนมาร์ก
  • กองทัพอากาศเดนมาร์ก
 ฟินแลนด์
  • กองทัพอากาศฟินแลนด์
 เยอรมนี
  • กองทัพอากาศเยอรมนี
 กรีซ
 ฮังการี
  • กองทัพอากาศฮังการี
 อิสราเอล
  • กองทัพอากาศอิสราเอล
 อิตาลี
  • กองทัพอากาศอิตาลี
  • กองทัพเรืออิตาลี
 อินโดนีเซีย
  • กองทัพอากาศอินโดนีเซีย (อยู่ระหว่างการสั่ง)
 ญี่ปุ่น
 จอร์แดน
  • กองทัพอากาศจอร์แดน
 คูเวต
  • กองทัพอากาศคูเวต
 โมร็อกโก
  • กองทัพอากาศโมร็อกโก
 มาเลเซีย
 เนเธอร์แลนด์
 นอร์เวย์
 โอมาน
  • กองทัพอากาศโอมาน
 ปากีสถาน
  • กองทัพอากาศปากีสถาน
 โปแลนด์
  • กองทัพอากาศโปแลนด์
 โปรตุเกส
  • กองทัพอากาศโปรตุเกส
 ซาอุดีอาระเบีย
  • กองทัพอากาศซาอุดีอาระเบีย
 สิงคโปร์
  • กองทัพอากาศสิงคโปร์
 เกาหลีใต้
  • กองทัพอากาศเกาหลีใต้
 สวิตเซอร์แลนด์
  • กองทัพอากาศสวิตเซอร์แลนด์
 สเปน
  • กองทัพอากาศสเปน
  • กองทัพบกสเปน
  • กองทัพเรือสเปน
 สวีเดน
  • กองทัพอากาศสวีเดน
 ไต้หวัน
  • กองทัพอากาศไต้หวัน
 ไทย
 ตุรกี
 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
 สหราชอาณาจักร
  • กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร
 สหรัฐอเมริกา

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "2003-2004 updated Weapons File" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-19. สืบค้นเมื่อ 2010-02-24.
  2. "F-16.net: AIM-120 AMRAAM Advanced Medium Range Air-to-Air Missile". F-16.net. สืบค้นเมื่อ 2 February 2010.
  3. 3.0 3.1 หนังสือแทงโก้หน้า 81-85 เรื่อง ระบบอาวุธอากาศยาน โดย ศรีโพธิ์ II
  4. Gurney, Kyra (15 August 2014). "Infiltration of Chile Air Force Emails Highlights LatAm Cyber Threats". InSightCrime.
  5. "Czech Air force has bought 24 AMRAAMs". Radio.cz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 30, 2012. สืบค้นเมื่อ เมษายน 12, 2012.