20 ถนนเฟนเชิร์ช
20 ถนนเฟนเชิร์ช | |
---|---|
![]() 20 ถนนเฟนเชิร์ช ถ่ายเมื่อปี 2015 จากซิทีฮอลล์ | |
ข้อมูลทั่วไป | |
สถานะ | เสร็จสมบูรณ์ |
สถาปัตยกรรม | นีโอ-ฟิวเจอริสม์ |
ที่ตั้ง | ลอนดอน, EC3 |
พิกัด | 51°30′41″N 0°05′01″W / 51.51139°N 0.08361°W |
เริ่มสร้าง | มกราคม 2009 |
แล้วเสร็จ | เมษายน 2014[1] |
เจ้าของ | ลี คุม คี |
ความสูง | |
หลังคา | 160 m (525 ft) |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
จำนวนชั้น | 37 (+ 3 ชั้น "สวนลอยฟ้า") |
พื้นที่แต่ละชั้น | สำนักงาน: 668,926 ตารางฟุต (62,100 ตารางเมตร)[2] |
การออกแบบและการก่อสร้าง | |
สถาปนิก | ราฟาเอล วิโญลี |
ผู้พัฒนาโครงการ | แลนด์ซีคีวริที และ คานารีวาร์ฟ |
วิศวกรโครงสร้าง | ฮอลโครวส์ |
ผู้รับเหมาก่อสร้าง | คานารีวาร์ฟคอนแทร็กเตอร์ |
รางวัล | คาร์บันเคิลคัพ |
20 ถนนเฟนเชิร์ช (อังกฤษ: 20 Fenchurch Street) เป็นตึกระฟ้าเชิงพาณิชย์ในลอนดอน ตั้งอยู่บนถนนเฟนเชิร์ชในย่านการค้าซิทีออฟลอนดอน ตึกนี้เป็นที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า "เดอะวอล์คกีทอล์คที" (อังกฤษ: The Walkie-Talkie; แปลว่า วิทยุสื่อสาร) ซึ่งได้มาจากรูปร่างของอาคาร[3] การก่อสร้างอาคารเสร็จในปี 2014[4] มีความสูง 38 ชั้นที่ 160 เมตร นับตั้งแต่กรกฎาคม 2017 อาคารนี้เป็นของเครือลีคุมคี
สถาปนิกผู้ออกแบบอาคารคือ ราฟาเอล วิโญลี ด้วยมูลค่าก่อสร้าง £200 ล้าน ชั้นทางเข้าและชั้น 34 เป็นที่ตั้งของจุดชมวิว ส่วนบาร์และภัตตาคารอยู่ที่ชั้น 35 ถึง 37[5]
แปลนแรกของอาคารต้องการให้มีความสูงที่ 200 เมตร แต่ถูกลดขนาดลงมาด้วยความกังวลปัญหาทางทัศนียภาพต่ออาสนวิหารเซนต์พอลกับหอคอยลอนดอนซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลกัน และได้รับการอนุมัติก่อสร้างในปี 2006 ที่ความสูงเท่าที่ก่อสร้างในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ความกังวลต่อการบดบังทัศนียภาพของเมืองยังคงดำรงอยู่ และเลขาธิการคณะกรรมการเพื่อการปกครองส่วนท้องถิ่น รูธ เคลลี ได้ให้โครงการจัดการรับฟังเสียงสาธารณะอีกครั้ง[6] กระทั่งในปี 2007 ซึ่งแปลนก่อสร้างสามารถดำเนินต่อไปและได้รับการอนุมัติโดยเจ้าหน้าที่อย่างเต็มที่[7] ในปี 2015 อาคารได้รับรางวัลคาร์บันเคิลคัพสำหรับอาคารใหม่ที่ออกแบบได้ห่วยแตกที่สุดในสหราชอาณาจักรในรอบ 12 เดือน[8][9]
คำวิจารณ์
[แก้]รางวัลคาร์บันเคิล
[แก้]อาคารได้รับรางวัลคาร์บันเคิลคัพในปี 2015 โดยนิตยสาร บิลดิงดีไซน์ สำหรับอาคารใหม่ที่ออกแบบห่วยแตกที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา[8][9][10] ในขณะที่นักผังเมืองประจำสถาบันผังเมืองหลวงซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับอาคารเรียกขานอาคารนี้ว่าเป็น "เครื่องเตือนใจรายวัน[ทุกครั้งที่เดินผ่าน]ว่าโปรดอย่าปล่อยให้เกิดภัยพิบัติการวางแผนเช่นนี้ขึ้นอีก"[9]
ปัญหารังสีอาทิตย์
[แก้]นับตั้งแต่ขณะอาคารอยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีผู้พบว่าเป็นเวลามากถึง 2 ชั่วโมงต่อวันที่ดวงอาทิตย์ส่องแสงปะทะกับอาคารโดยจัง ส่วนอาคารซึ่งมีรูปร่างดังกล่าวก็ทำหน้าที่เป็นเหมือนกระจกเว้าทำให้แสงเกิดการรวมและส่องโฟกัสลงไปบนท้องถนนทางใต้[11] ที่ซึ่งส่งผลให้อุณหภูมิบนถนนสูงถึง 91 องศาเซลเซียส (196 องศาฟาเรนไฮต์)[12] และ 117 องศาเซลเซียส (243 องศาฟาเรนไฮต์) เท่าที่มีการบันทึกไว้[13] ในช่วงฤดูร้อนปี 2013 มีการคำนวณระบุว่าแสงอาทิตย์ที่สะท้อนออกจากอาคารลงบนถนนมีความเข้มแสงสูงกว่าแสงจากดวงอาทิตย์โดยตรงถึง 6 เท่า และทำลายรถยนต์ที่จอดอยู่บนถนนด้านล่าง[14] ในจำนวนนี้รถคันหนึ่งซึ่งจอดบนถนนอีสชีพปรากฏส่วนบอดีของรถยนต์หลอมละลาย เจ้าของรถฟ้องร้องค่าเสียหายได้จำนวน £946 จากเจ้าของอาคาร นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวของซิทีเอเอ็ม จิม วอเทอร์ซัน ยังเคยสาธิตความร้อนบนถนนจากการรวมแสงนี้โดยการทอดไข่ในกะทะที่วางบนพื้นถนนออกโทรทัศน์[15] ร้านค้าที่อยู่บนถนนด้านล่างรายงานว่าพรมทางเข้าประตูของร้านค้าถูกเผาไหม้ จนอาคารได้รับฉายาจากสื่อว่า "วอล์กคี-สกอร์ชี" (Walkie-Scorchie, จากชื่อเล่น Walkie-Talkie; วิทยุสื่อสาร, ผสมคำว่า Scorch; ทำให้ไหม้เกรียม)[16][17][18] และ "ฟรายสเครเปอร์" (Fryscraper, จากคำว่า Skyscraper; ตึกระฟ้า, ผสมคำว่า Fry; ทอด)[11][19][20]
ในปี 2014 ได้มีการติดตั้งนั่งร้านถาวรบนชั้นสูง ๆ ของอาคารฝั่งใต้เพื่อแก้ปัญหานี้[21]
สถาปนิกผู้ออกแบบอาคาร ราฟาเอล วิโญลี ยังคงเป็นผู้ออกแบบโรงแรมวาดาราในลาสเวกัสซึ่งประสบปัญหาการสะท้อนแสงอาทิตย์ที่รุนแรงเหมือนอาคารนี้ จนโรงแรมนั้นได้รับขนานนามว่าเป็น "รังสีมรณะวาดารา" (Vdara death ray)[22] ที่ซึ่งต่อมาแก้ปัญหาโดยการติดฟิล์มกันสะท้อน[23]
สวนลอยฟ้า
[แก้]
สวนลอยฟ้า (Sky Garden) ที่ซึ่งเริ่มแรกระบุส่าจะเป็นจุดชมวิวจากยอดอาคาร มีพื้นที่กว้างสีเขียว และเปิดแก่วาธารณะโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เป็นเหตุผลที่ให้นักผังเมืองยินยอมให้สร้างอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ขึ้นบนชายขอบของพื้นที่อนุรักษ์ใจกลางลอนดอนเช่นนี้ ภาพเรนเดอร์จากคอมพิวเตอร์แสดงสวนประกอบไปด้วยต้นไม้เขียวสูงใหญ่ อย่างไรก็ตามสวนกลับออกมาเป็นเนินที่มีเฟิร์นกับพืชอวบน้ำแทน[24]
ปัจจุบันสวนลอยฟ้าเปิดให้เข้าชมต่อสาธารณะเป็นรอบ รอบละ 90 นาทีถึงเวลา 18:00 ซึ่งจะปิดต่อสาธารณะและเปิดให้บริการสำหรับลูกค้าของภัตตาคารและบาร์ด้านบนเท่านั้น[24]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Beioley, Kate (13 January 2014). "DWF to move into Walkie Talkie building". The Lawyer. สืบค้นเมื่อ 13 January 2014.
- ↑ "Schedule of areas". 20 Fenchurch Street. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2014. สืบค้นเมื่อ 7 January 2014.
- ↑ Heathcote, Edwin (4 November 2011). "Points on views". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 3 September 2013.
- ↑ "20 Fenchurch Street Opens". Skyscrapernews.com. 8 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-04. สืบค้นเมื่อ 4 February 2015.
- ↑ https://skygarden.london/sky-garden
- ↑ "20 Fenchurch Street Called In". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-23. สืบค้นเมื่อ 2021-05-24.
- ↑ Land Securities (July 2007). "LAND SECURITIES' 20 FENCHURCH STREET TOWER APPROVED" (PDF). landsecurities.com. Land Securities Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 September 2007. สืบค้นเมื่อ 10 July 2007.
- ↑ 8.0 8.1 Lane, Thomas (2 September 2015). "Carbuncle Cup 2015 winner announced". Building Design. สืบค้นเมื่อ 2 September 2015.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 Wainwright, Oliver (2 September 2015). "Carbuncle Cup: Walkie Talkie wins prize for worst building of the year". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 2 September 2015.
- ↑ "London's Walkie Talkie judged UK's worst building". BBC News. 2 September 2015. สืบค้นเมื่อ 2 September 2015.
- ↑ 11.0 11.1 Sherwin, Adam (2 September 2013). "Walkie Talkie City skyscraper renamed Walkie Scorchie after beam of light melts Jaguar car parked beneath it". The Independent.
- ↑ "Who, what, why: How does a skyscraper melt a car?". BBC. 3 September 2013. สืบค้นเมื่อ 4 September 2013.
- ↑ "London's 'fryscaper' draws crowd on hottest day". Mississauga.com. 6 September 2013. สืบค้นเมื่อ 8 September 2013.
- ↑ Smith-Spark, Laura (3 September 2013). "Reflected light from London skyscraper melts car". CNN. สืบค้นเมื่อ 10 February 2018.
- ↑ Spence, Peter. "Eggsclusive: We use the Walkie Scorchie light beam to fry an egg". City A.M.
- ↑ Jefford, Kasmira; Waterson, James (28 August 2013). "Walkie Talkie building scorches Londoners". CITY A.M. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-31. สืบค้นเมื่อ 2021-05-24.
- ↑ Waterson, James (2 September 2013). "Exclusive: Walkie Scorchie melted my Jag". CITY A.M. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-04. สืบค้นเมื่อ 2021-05-24.
- ↑ "London Walkie-Scorchie Skyscraper Cost-Cutting Blamed for Car-Melting, Egg-Frying Reflected Sunbeams". International Business Times. 1 January 2013. สืบค้นเมื่อ 8 September 2013.
- ↑ Marsden, Sam (2 September 2013). "Glare from Walkie-Talkie skyscraper 'damaged vehicles'". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 3 September 2013.
- ↑ Spillane, Chris (4 September 2013). "London's Walkie-Talkie 'Fryscraper' Draws Crowds in Heat". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 8 September 2013.
- ↑ Antonia Molloy (15 May 2014). "Walkie Talkie skyscraper to be fitted with permanent sunshade after it". The Independent.
- ↑ "'Death ray' at Vegas hotel pool heats up guests". NBC News. 30 September 2010.
- ↑ Wainwright, Oliver (6 September 2013). "Walkie Talkie architect 'didn't realise it was going to be so hot'". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 25 September 2013.
- ↑ 24.0 24.1 Oliver Wainwright (6 January 2015). "London's Sky Garden: the more you pay, the worse the view". The Guardian.