โกปาอาเมริกาหญิง 2022
รายละเอียดการแข่งขัน | |
---|---|
ประเทศเจ้าภาพ | โคลอมเบีย |
วันที่ | 8–30 กรกฎาคม |
ทีม | 10 (จาก 1 สมาพันธ์) |
สถานที่ | 3 (ใน 3 เมืองเจ้าภาพ) |
อันดับเมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน | |
ชนะเลิศ | บราซิล (สมัยที่ 8) |
รองชนะเลิศ | โคลอมเบีย |
อันดับที่ 3 | อาร์เจนตินา |
อันดับที่ 4 | ปารากวัย |
สถิติการแข่งขัน | |
จำนวนนัดที่แข่งขัน | 25 |
จำนวนประตู | 87 (3.48 ประตูต่อนัด) |
ผู้ชม | 172,233 (6,889 คนต่อนัด) |
ผู้ทำประตูสูงสุด | ยามิลา โรดริเกซ (6 ประตู) |
ผู้เล่นยอดเยี่ยม | ลินดา ไกเซโด |
ผู้รักษาประตูยอดเยี่ยม | โลเรนา |
รางวัลแฟร์เพลย์ | ชิลี |
โกปาอาเมริกาหญิง 2022 (สเปน: Copa América Femenina 2022) เป็นการแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงแชมป์ระหว่างประเทศของทวีปอเมริกาใต้ ครั้งที่ 9 โกปาอาเมริกาหญิง[1] จัดขึ้นสำหรับทีมชาติที่เป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลอเมริกาใต้ การแข่งขันจัดขึ้นที่ประเทศโคลอมเบียตั้งแต่วันที่ 8 ถึง 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2565[2]
การแข่งขันครั้งนี้ถือเป็นรอบคัดเลือกโซนอเมริกาใต้สำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง 2023 ที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์[3] โดยให้โควตาผ่านเข้ารอบโดยตรง 3 ตำแหน่งและเพลย์ออฟอีก 2 ตำแหน่ง สำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง[4] และอีก 3 ตำแหน่งสำหรับการแข่งขันแพนอเมริกันเกมส์ 2023 ที่ซันติอาโก (นอกเหนือจากชิลีที่ผ่าการคัดเลือกโดยอัตโนมัติในฐานะเจ้าภาพ) นอกจากนี้ ผู้เข้ารอบทั้งสองทีมยังผ่านเข้ารอบการแข่งขันฟุตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 ที่ประเทศฝรั่งเศสอีกด้วย หลังจากการแข่งขันครั้งนี้ การแข่งขันจะจัดขึ้นทุก 2 ปีแทนที่จะเป็น 4 ปี[5]
บราซิลป้องกันแชมป์ได้เป็นสมัยที่ 4 ติดต่อกัน โดยเอาชนะโคลอมเบีย 1-0 ในรอบชิงชนะเลิศ และเป็นแชมป์สมัยที่ 8 ของพวกทีม[6] ในฐานะผู้ชนะ พวกเขาจะแข่งขันฟินาลิสซิมา 2023 นัดแรก กับทีมชาติอังกฤษ ผู้ชนะการแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2022[7]
สนามแข่งขัน
[แก้]ประกาศสถานที่จัดงานเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2564 การแข่งขันจัดขึ้นในสามเมือง ได้แก่ กาลิ, บูการามังกา และอาร์เมเนีย[8][9]
อาร์เมเนีย | บูการามังกา | กาลิ |
---|---|---|
เอสตาดิโอเซนเตนาริโอ | สนามกีฬาอัลฟอนโซ โลเปซ | สนามกีฬาปัสกวล เกร์เรโร |
ความจุ: 20,716 ที่นั่ง | ความจุ: 28,000 ที่นั่ง | ความจุ: 35,405 ที่นั่ง |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Colombia busca organizar la Copa América Femenina de 2022". El Heraldo. Agencia EFE. 30 September 2021. สืบค้นเมื่อ 3 January 2022.
- ↑ "Colombia, host of the 2022 Copa América Femenina". 27 October 2021. สืบค้นเมื่อ 27 October 2021.
- ↑ "¿La Copa América femenina vuelve a Argentina en 2022?". Mundo D. 8 September 2020.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Update on FIFA Women's World Cup and men's youth competitions". FIFA. 24 December 2020. สืบค้นเมื่อ 24 December 2020.
- ↑ "Alejandro Domínguez: "En CONMEBOL y en el mundo el futuro tiene que ser del fútbol femenino"" (ภาษาสเปน). CONMEBOL. 17 December 2020.
- ↑ "Brasil conquista su octava estrella en la CONMEBOL Copa América Femenina" (ภาษาสเปน). CONMEBOL. 30 July 2022.
- ↑ "UEFA and CONMEBOL launch new intercontinental events". UEFA.com. Union of European Football Associations. 2 June 2022. สืบค้นเมื่อ 3 June 2022.
- ↑ "Cali, Bucaramanga y Armenia serán las sedes de la Copa América Femenina en el 2022". Infobae. 26 December 2021.
- ↑ "Medellín no será sede de la Copa América femenina". TeleMedellín. 11 March 2022.