วิกฤตการณ์ชายแดนเบลารุส–สหภาพยุโรป พ.ศ. 2564
วิกฤตการณ์ชายแดนเบลารุส–สหภาพยุโรป พ.ศ. 2564 | ||||
---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การประท้วงในประเทศเบลารุส พ.ศ. 2563–2564 และวิกฤตการณ์ผู้ย้ายถิ่นยุโรป | ||||
แผนที่แสดงเส้นทางหลักของผู้ย้ายถิ่นอย่างผิดกฎหมายไปยังชายแดนระหว่างเบลารุสกับสหภาพยุโรป | ||||
วันที่ | 7 กรกฎาคม 2564 – ปัจจุบัน (3 ปี 6 เดือน 9 วัน) | |||
สถานที่ | เบลารุส, โปแลนด์, ลัตเวีย และลิทัวเนีย | |||
สาเหตุ |
| |||
คู่ขัดแย้ง | ||||
| ||||
จำนวน | ||||
| ||||
ความสูญเสีย | ||||
|
วิกฤตการณ์ชายแดนเบลารุส–สหภาพยุโรป พ.ศ. 2564 เกิดขึ้นเมื่อผู้อพยพย้ายถิ่นจำนวนนับหมื่นคน (ส่วนใหญ่มาจากประเทศอิรักและทวีปแอฟริกา) หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศลัตเวีย ประเทศลิทัวเนีย และประเทศโปแลนด์ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปผ่านทางชายแดนของประเทศเหล่านี้กับประเทศเบลารุส วิกฤตการณ์นี้ถูกกระตุ้นจากความสัมพันธ์ที่เสื่อมถอยลงอย่างรุนแรงระหว่างเบลารุสกับสหภาพยุโรปหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีเบลารุสใน พ.ศ. 2563 การประท้วงในเบลารุสใน พ.ศ. 2563–2564 เหตุการณ์ไรอันแอร์ เที่ยวบินที่ 4978 และความพยายามนำตัวกรึสต์ซีนา ซีมานอว์สกายา กลับประเทศ
วิกฤตการณ์ดังกล่าวเริ่มขึ้นในช่วงต้นฤดูร้อนของ พ.ศ. 2564 เมื่อประธานาธิบดีอาเลียกซันดร์ ลูกาแชนกา แห่งเบลารุส ขู่ว่าจะส่งผู้ค้ามนุษย์ ผู้ลักลอบขนยาเสพติด และผู้อพยพติดอาวุธเข้าสู่สหภาพยุโรป[16][17] ต่อมา ทางการเบลารุสและวิสาหกิจการท่องเที่ยวที่รัฐควบคุมได้ร่วมกับสายการบินบางแห่งที่ดำเนินการในตะวันออกกลางเริ่มส่งเสริมการท่องเที่ยวไปยังเบลารุสโดยเพิ่มการเชื่อมต่อจากตะวันออกกลาง และตรวจลงตราให้แก่ผู้จองเที่ยวบินซึ่งดูเหมือนว่ามีจุดประสงค์เพื่อไปล่าสัตว์ กลุ่มบางกลุ่มในสื่อสังคมยังให้คำแนะนำผิด ๆ เกี่ยวกับกฎการข้ามชายแดนแก่ผู้ต้องการย้ายถิ่นซึ่งส่วนใหญ่พยายามจะเดินทางเข้าสู่เยอรมนี ผู้ที่มาถึงเบลารุสจะได้รับคำชี้แจงเกี่ยวกับวิธีการและสถานที่ในการบุกรุกชายแดนสหภาพยุโรปและสิ่งที่ควรบอกแก่เจ้าหน้าที่ชายแดนของอีกฝั่ง[18] และมักจะได้รับการนำทางจากเจ้าหน้าที่ไปจนถึงชายแดน อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่สามารถข้ามชายแดนไปได้มักถูกบังคับให้อยู่ที่ชายแดน ทางการเบลารุสไม่ยอมรับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่โปแลนด์ส่งไปและถูกกล่าวหาว่าทำร้ายร่างกายผู้อพยพบางคนที่ข้ามชายแดนไม่สำเร็จ[19]
โปแลนด์ ลิทัวเนีย และลัตเวียได้บรรยายวิกฤตการณ์ดังกล่าวว่าเป็นการสงครามผสมผสานจากการค้าผู้อพยพที่เบลารุสก่อขึ้นเพื่อต่อต้านสหภาพยุโรป และเรียกร้องให้สหภาพยุโรปเข้าแทรกแซง[20][21] รัฐบาลของประเทศทั้งสามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ลิทัวเนียสามารถยับยั้งการหลั่งไหลของผู้อพยพไว้ได้ ในขณะที่อีกสองรัฐไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เนื่องจากวิกฤตการณ์นี้ รัฐที่ได้รับผลกระทบทั้งสามจึงตัดสินใจสร้างกำแพงป้องกันชายแดนที่ติดกับเบลารุส โดยทั่วไปนั้น ประชากรของรัฐที่ได้รับผลกระทบสนับสนุนมาตรการพิเศษต่าง ๆ แต่องค์การสิทธิมนุษยชนได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการใช้นโยบายปิดกั้นและผลักดันผู้ขอลี้ภัยของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ชายแดนลิทัวเนียและโปแลนด์ การปฏิเสธความเป็นไปได้ที่จะยื่นขอลี้ภัย รวมทั้งอาหาร น้ำ และที่พักพิงที่ไม่เพียงพอสำหรับผู้อพยพ ซึ่งกรณีหลังนี้อยู่ภายใต้คำสั่งศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป (อีซีเอชอาร์)[22]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Border tensions are of 'utmost concern to all sober-thinking people,' Russia says". New York Times. 11 November 2021.
- ↑ "Russia slams EU over Poland-Belarus border crisis". Politico. 10 November 2021.
- ↑ "Turkey Dismisses Polish Accusation of Aiding Migrant Crisis". Balkan Insight. 11 November 2021.
- ↑ 4.0 4.1 "EU solidarity in Lithuania". Frontex. 2021-07-30.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Estonia to send Lithuania 100 kilometers of barbed wire". ERR. 24 July 2021.
- ↑ "Ukraine sends barbed wire to Lithuania for Belarus border". France 24. 12 August 2021.
- ↑ "Британські війська зміцнять польський кордон із Білоруссю". Ukrinform. 13 November 2021.
- ↑ "Hungary offers to help Poland with border surveillance". Associated Press. 9 September 2021.
- ↑ "Belarus migrants: Poland faces fresh border breaches". BBC News. 10 November 2021. สืบค้นเมื่อ 10 November 2021.
- ↑ "Team of 10 UK soldiers sent to Poland to assist on Belarus border". The Guardian. 12 November 2021.
- ↑ "Polski żołnierz zmarł przy granicy. "Doszło do nieszczęśliwego zdarzenia"". Rzeczpospolia (ภาษาโปแลนด์). 2021-11-13. สืบค้นเมื่อ 2021-11-13.
- ↑ Kujawa, Emilia (2021-10-25). "Powstało 139 km płotu na granicy polsko-białoruskiej". Radio Szczecin (ภาษาโปแลนด์). สืบค้นเมื่อ 2021-11-13.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Minko, Ryszard; Szubzda, Wojciech (2021-11-03). "Na terytorium Polski weszły trzy umundurowane osoby z bronią". Polskie Radio Białystok (ภาษาโปแลนด์). สืบค้นเมื่อ 2021-11-13.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Kujawa, Emilia (2021-11-08). "Żołnierze 12DZ ranni w starciach na polsko-białoruskiej granicy". Radio Szczecin (ภาษาโปแลนด์). สืบค้นเมื่อ 2021-11-13.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Simmons, Ann M. (2021-11-13). "Migrant Dies as Belarus-Poland Border Standoff Deepens". สืบค้นเมื่อ 2021-11-14.
- ↑ Thebault, Reis; Dixon, Robyn (1 August 2021). "Why are so many migrants coming to one of Europe's smallest countries? Blame Belarus, officials say". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2 August 2021.
- ↑ "Кто стоит за потоком мигрантов из Беларуси в Литву. Расследование Reform.by". Reform.by. 23 July 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-11-11.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Нелегальных мигрантов заранее учат, что говорить на допросах — минобороны Литвы". Euroradio (ภาษารัสเซีย). 2021-07-13. สืบค้นเมื่อ 2021-10-16.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""We Are Begging Belarusians: Let Us Return To Iraq"". Charter '97. 2021-10-13. สืบค้นเมื่อ 2021-10-16.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Whitmore, Brian (30 June 2021). "Belarus dictator weaponizes illegal migrants against EU". Atlantic Council.
- ↑ "Latvia and Lithuania act to counter migrants crossing Belarus border". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2021-08-10. สืบค้นเมื่อ 2021-08-10.
- ↑ "Court tells Poland, Latvia to aid migrants on Belarus border". Deutsche Welle. 26 August 2021.
- วิกฤตการณ์ผู้ย้ายถิ่น
- ประเทศเบลารุสในปี พ.ศ. 2564
- ประเทศลัตเวียในปี พ.ศ. 2564
- ประเทศลิทัวเนียในปี พ.ศ. 2564
- ประเทศโปแลนด์ในปี พ.ศ. 2564
- ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปี พ.ศ. 2564
- ความสัมพันธ์เบลารุส–สหภาพยุโรป
- ความสัมพันธ์เบลารุส–ลัตเวีย
- ความสัมพันธ์เบลารุส–ลิทัวเนีย
- ความสัมพันธ์เบลารุส–โปแลนด์
- ความสัมพันธ์เบลารุส–รัสเซีย
- ความสัมพันธ์เบลารุส–เยอรมนี
- ความสัมพันธ์โปแลนด์–รัสเซีย
- ความสัมพันธ์ลัตเวีย–รัสเซีย
- ความสัมพันธ์ลิทัวเนีย–รัสเซีย
- ความสัมพันธ์รัสเซีย–สหภาพยุโรป