แผ่นดินไหวในจังหวัดฮกไกโด พ.ศ. 2561
เวลาสากลเชิงพิกัด | 2018-09-05 18:07:58 |
---|---|
รหัสเหตุการณ์ ISC | 612697604 |
USGS-ANSS | ComCat |
วันที่ท้องถิ่น | 6 กันยายน ค.ศ. 2018 |
เวลาท้องถิ่น | 03:08 น. เวลามาตรฐานญี่ปุ่น |
ขนาด | 6.6 Mw |
ความลึก | 35.0 km (22 mi)* |
ศูนย์กลาง | 42°40′16″N 141°55′59″E / 42.671°N 141.933°E |
ประเภท | รอยเลื่อนย้อน แผ่นดินไหวในแผ่นเปลือกโลก[1] |
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้ | X (อนุภาพรุนแรง)
[2] ชินโดะ 7 |
ค่าความเร่งสูงสุดของพื้นดิน | 1.83 g 1796 Gal |
สึนามิ | ไม่มี |
แผ่นดินถล่ม | มี |
แผ่นดินไหวตาม | 130 ใหญ่ที่สุด: ขนาด 5.7 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2019 (21:22 น. JST)[3] |
ผู้ประสบภัย | เสียชีวิต 41 ราย บาดเจ็บ 691 ราย[4] |
แผ่นดินไหวในจังหวัดฮกไกโด พ.ศ. 2561 หรือ แผ่นดินไหวเฮเซที่ 30 แห่งฮกไกโดอิบูริตะวันออก (ญี่ปุ่น: 平成30年北海道胆振東部地震; โรมาจิ: Heisei san-jū-nen Hokkaidō Iburi tōbu jishin) มีขนาด 6.6 (มาตราขนาดโมเมนต์) เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2561 เวลา 03:08 น. (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) มีจุดศูนย์กลางในกิ่งจังหวัดอิบูริใกล้กับเมืองโทมาโกไม จังหวัดฮกไกโด มีความลึก 35.0 กิโลเมตร (21.7 ไมล์) มีความรุนแรงแผ่นดินไหวสูงสุด 7 ตามมาตราชินโดะ แรงสั่นสะเทือนสามารถรับรู้ได้ในจังหวัดฮกไกโด จังหวัดอาโอโมริ และยังรู้สึกได้ถึงแรงสั่นสะเทือนไปถึงภูมิภาคคันโต[5] แผ่นดินไหวทําให้ไฟฟ้าดับทั่วฮกไกโด ผู้คน 5.3 ล้านคนไม่มีไฟฟ้าใช้ [6] มีผู้เสียชีวิต 41 คน และบาดเจ็บ 601 คน แผ่นดินไหวครั้งนี้มีชื่อทางการคือ "แผ่นดินไหวเฮเซที่ 30 แห่งฮกไกโดอิบูริตะวันออก"
ธรณีวิทยา
[แก้]พื้นที่ตอนกลางของจังหวัดฮกไกโดมีแนวโน้มที่จะเกิดแผ่นดินไหวแม้ว่าจะไม่ได้ตั้งอยู่บนขอบแผ่นเปลือกโลกใด ๆ ก็ตาม จากการสํารวจของกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีรอยเลื่อนแผ่นดินไหวหลายแห่งในตอนกลางของฮกไกโดรวมถึงรอยเลื่อนฟุราโนะและอิชิคาริ ในภูมิภาคนี้เคยเกิดแผ่นดินไหวมาแล้วหลายครั้งในปี 1910, 1974, 1981, 1982 และ 2000 ซึ่งมีแผ่นดินไหวอุราคาวะ พ.ศ. 2525เป็นแผ่นดินไหวที่ใหญ่ที่สุดมีขนาด 7.1 แผ่นดินไหวทำให้มีผู้บาดเจ็บและเกิดความเสียหายในโทมาโกไมและซัปโปโระ มีภูเขาไฟหลายลูกตั้งอยู่ใกล้กับศูนย์กลางของแผ่นดินไหว[7] ภูเขาไฟมีส่วนทำให้เกิดดินถล่มหลังจากฝนตกหนัก หินพัมมิชและดินถูกแรงเฉื่อนของแผ่นดินไหวทําให้เกิดดินถล่มที่นําไปสู่ความเสียหายรุนแรงทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นผลมาจากดินถล่ม [8]
แผ่นดินไหวตาม
[แก้]วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2019 ได้มีแผ่นดินไหวตามขนาด 5.7 ห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวไปทางเหนือ 10 กิโลเมตร เป็นแผ่นดินไหวตามที่รุนแรงที่สุด[9] แผ่นดินไหวตามไม่มีรายงานความเสียหายที่สําคัญ แต่มีการหยุดชะงักของระบบรางรถไฟชินคันเซ็นและรถไฟใต้ดินเทศบาลซัปโปโระ มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเกิดหิมะถล่มในเมืองอัตสึมะ[10][11]
ความเสียหาย
[แก้]แผ่นดินไหวสร้างความเสียหายในฮกไกโด 367.5 พันล้านเยน (3.32 พันล้านดอลลาร์ 102.8 พันล้านบาท) แผ่นดินไหวทําให้อุตสาหกรรมและสิ่งอํานวยความสะดวกสาธารณะในภูมิภาคหยุดทำงาน[12]
ไฟดับ
[แก้]แผ่นดินไหวทำให้ไฟดับ 2.95 ล้านครัวเรือนในฮกไกโดไม่มีไฟฟ้าใช้ เนื่องจากโรงงานไฟฟ้าพลังงานถ่านหินของบริษัทพลังงานไฟฟ้าฮอกไกโดในเมืองอัตสึมะได้รับความเสียหายอย่างหนักจากไฟไหม้ที่เกิดขึ้นในช่วงที่เกิดแผ่นดินไหว ความเสียหายที่เกิดกับโรงงานทำให้เกิดความไม่สมดุลของไฟฟ้าทั่วฮกไกโดส่งผลให้ไฟดับ [13]เมื่อเวลา 18:30 น. ในวันที่เกิดแผ่นดินไหว ไฟฟ้าได้รับการซ่อมแซม 340,000 ครัวเรือนในฮกไกโด โรงพยาบาลหลายแห่งใช้ไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินเนื่องจากไฟฟ้าดับ [14]
วันที่ | เวลา | ครัวเรือน | % | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
6 กันยายน | 3:08 | 0 / 2,950,000 | 0% | |
16:00 | 329,000 | 12% | [16] | |
7 กันยายน | 3:00 | 964,000 | 33% | [17] |
9:00 | 1,455,000 | 49% | [18] | |
12:00 | 1,513,000 | 51% | [19] | |
8 กันยายน | 4:00 | 2,928,000 | 99% | [20] |
การคมนาคม
[แก้]เที่ยวบินทั้งหมดไปยังท่าอากาศยานชินชิโตเซะถูกยกเลิกในวันที่เกิดแผ่นดินไหว เอ็นเอชเคเวิลด์ประกาศว่าสนามบินกลับมาดําเนินงานอีกครั้งเมื่อเวลา 11:00 น. ในวันที่ 7 กันยายน หลังจากแผ่นดินไหว ระบบขนส่งสาธารณะทั้งหมดรวมถึงบริการรถไฟรถไฟใต้ดินและรถบัสถูกปิดในฮกไกโดเนื่องจากไฟฟ้าดับและเกิดความเสียหาย [21][22]
แผ่นดินไหวทำให้ถนนหลายสายในฮกไกโดไม่สามารถใช้งานได้ ถนนหลายสายในฮอกไกโดถูกขวางกั้นจากเศษซากดินถล่มถนนบางสายเสียหายจากแผ่นดินเหลวในคิโยตะซึ่งอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางแผ่นดินไหว[23]
บริษัททางด่วนญี่ปุ่นตะวันออกรายงานว่าถนนดังนี้ได้ปิดให้บริการหลังจากแผ่นดินไหว ได้แก่[24]
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
[แก้]ไฟดับส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมการเกษตรและการประมงในฮกไกโด จังหวัดฮกไกโดผลิตนมดิบถึงครึ่งหนึ่งในญี่ปุ่น ไฟดับทำให้เครื่องทำความเย็นหรืออุปกรณ์รีดนมวัวไม่สามารถใช้งานได้ ผลผลิตอื่น ๆ เช่นหัวหอมและมันฝรั่งไม่สามารถเก็บความเย็นหรือส่งออกไปได้เนื่องจากรถไฟหยุดให้บริการ ทำให้เกิดความเสียหายมูลค่าประมาณ 13.6 พันล้านเยน[25]
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในฮกไกโดได้รับผลกระทบอย่างหนักที่เกิดจากความล่าช้าของระบบขนส่ง นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่เกิดแผ่นดินไหวตามอยู่เป็นระยะทําให้การท่องเที่ยวในพื้นที่ลดลง ผลกระทบทั้งหมดของแผ่นดินไหวคาดว่าจะทําให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเสียหายประมาณ 35.6 พันล้านเยน (ณ เดือนตุลาคม 2018)
ความรุนแรงของแผ่นดินไหว
[แก้]แผ่นดินไหวเป็นครั้งแรกในฮกไกโดที่มีความรุนแรงระดับ 7 (มาตราความรุนแรงคลื่นไหวสะเทือนของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น) และเป็นครั้งที่ 6 ในญี่ปุ่นนับตั้งแต่การใช้งานระบบในปี 1949 [26][27]
ความรุนแรง | ชื่อเมืองและเทศบาล |
---|---|
7 | อัตสึมะ |
6+ | อะบิระ, มูกาวะ |
6- | ท่าอากาศยานชินชิโตเซะ, ฮิดะกะ, บิราโทริ |
5+ | ซัปโปโร, โทมาโกไม, เอเบ็ตสึ, มิคาสะ, ชิโตเซะ, เอนิวะ , นากานุมะ, ชินฮิดากะ |
5- | ฮาโกดาเตะ, มูโรรัง, อิวามิซาวะ, โนโบริเบ็ตสึ, เดโต, คิตะฮิโรชิมะ, อิชิการิ, ชินชิโนสึ, นัมโปโร, ยูนิ, คุริยามะ, ชิราโออิ |
ผลกระทบต่อมนุษย์
[แก้]มีผู้เสียชีวิตที่ได้รับการยืนยัน 43 ราย มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 691 ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เสียชีวิตในอัตสึมะ 36 ราย ภูมิภาคนี้ถูกพายุพายุไต้ฝุ่นเชบี 1 วันก่อนเกิดแผ่นดินไหว ทําให้เกิดแผ่นดินถล่มเนื่องจากดินเปียกจากพายุ [29]
ผู้ได้รับผลกระทบ | ความเสียหายต่ออาคาร | ||||
---|---|---|---|---|---|
เสียชีวิต | 43 ราย | เสียหายรุนแรง | 469 หลัง | ||
บาดเจ็บ | 782 คน | บาดเจ็บสาหัส | 48 คน | เสียหายปานกลาง | 1,660 หลัง |
บาดเจ็บเล็กน้อย | 734 คน | เสียหายเล็กน้อย | 13,849 หลัง |
การตอบสนอง
[แก้]นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะได้ส่งกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นจำนวน 25,000 นาย ฮกไกโดเพื่อช่วยเหลือในการบรรเทาภัยพิบัติ เขายังประกาศว่าจะระงับการหาเสียงชั่วคราว อาเบะยังไปเยือนซัปโปโรและอัตสึมะหลังจากแผ่นดินไหวได้สามวัน [30]เขาได้พบกับผู้นําทางการเมืองท้องถิ่นและผู้อยู่อาศัยในศูนย์พักพิงชั่วคราว หลังจากการเยือนของเขานายกรัฐมนตรีประกาศว่ารัฐบาลจะจัดสรรเงิน 540 ล้านเยนจากเงินสํารองเพื่อช่วยในการฟื้นตัวของฮกไกโด[31]นอกจากนี้ฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่นยกเลิกการแข่งขันนัดกระชับมิตรนัดที่ 7 กับฟุตบอลทีมชาติชิลีที่จะจัดขึ้นที่ซัปโปโรโดม[32] และสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะกับสมเด็จพระจักรพรรดินีมิจิโกะได้เสด็จเยือนอัตสึมะเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนเพื่อติดต่อกับผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหวและดินถล่มและยังสํารวจพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากดินถล่ม [33]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "平成 30 年北海道胆振東部地震の評価" (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Earthquake Research Promotion Headquarters Earthquake Investigation Committee. สืบค้นเมื่อ 7 September 2018.
- ↑ Yoshihiko Ito; Shusaku Yamazaki; Toshiyuki Kurahashi (2020). "Geological features of landslides caused by the 2018 Hokkaido Eastern Iburi Earthquake in Japan". Geological Society, London, Special Publications. 501: 171–183. doi:10.1144/SP501-2019-122.
- ↑ "Earthquake Information (Earthquake and Seismic Intensity Information) Issued at 21:26 JST 21 Feb 2019". Japan Meteorological Agency. 21 February 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2019. สืบค้นเมื่อ 22 February 2019.
- ↑ 平成30年北海道胆振東部地震による被害及び消防機関等の対応状況(第31報) (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Fire and Disaster Management Agency. 5 October 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 October 2018. สืบค้นเมื่อ 3 December 2018.
- ↑ ""M 6.6 – 27km E of Tomakomai, Japan"". United States Geological Survey. สืบค้นเมื่อ 15 February 2022.
- ↑ "แผ่นดินไหวและสึนามิ: การสังเกตการณ์และการบรรเทาภัยพิบัติ" (PDF). สํานักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น http://www.jma.go.jp/jma/kishou/books/jishintsunami/en/jishintsunami_en.pdf. สืบค้นเมื่อ 15 February 2022.
{{cite web}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ "The Earthquake off Urakawa (M 7.1), March 21, 1982" (PDF). Hokkaido University. สืบค้นเมื่อ 15 February 2022.
- ↑ ""Slippery volcanic soils blamed for deadly landslides during Hokkaido earthquake"". Normile, Dennis (11 September 2018). สืบค้นเมื่อ 15 February 2022.
- ↑ ""Earthquake Information (Earthquake and Seismic Intensity Information) Issued at 21:26 JST 21 Feb 2019"". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-22. สืบค้นเมื่อ 15 February 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ ""ไม่มีรายงานความเสียหายที่สําคัญหลังจากแผ่นดินไหวขนาด 5.8 กระทบภูมิภาคอิบุรีของฮอกไกโด"". . The Japan Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-22. สืบค้นเมื่อ 15 February 2022.
- ↑ ""Earthquake Information (Earthquake and Seismic Intensity Information) Issued at 21:26 JST 21 Feb 2019"". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-22. สืบค้นเมื่อ 15 February 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ ""ความเสียหายจากแผ่นดินไหวฮอกไกโดที่ร้ายแรงประมาณ 367.5 พันล้านเยน"". ไมนิจิ ชิมบุน. สืบค้นเมื่อ 16 February 2022.
- ↑ ""Quake paralyzes public transport in Hokkaido"". NHK World-Japan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-07. สืบค้นเมื่อ 16 February 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ ""Quake paralyzes public transport in Hokkaido"". . NHK World-Japan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-06. สืบค้นเมื่อ 2022-02-16.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "設備および停電等の状況について". Hokkaido Electric Power Company.
- ↑ "記者会見発言要旨(9月6日16時現在" (PDF). Hokkaido Electric Power Company. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 September 2018. สืบค้นเมื่อ 7 September 2018.
- ↑ "設備および停電等の状況について(9月7日3時現在)" (PDF). Hokkaido Electric Power Company. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 September 2018. สืบค้นเมื่อ 7 September 2018.
- ↑ "設備および停電等の状況について(9月7日9時現在)" (PDF). Hokkaido Electric Power Company. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 September 2018. สืบค้นเมื่อ 7 September 2018.
- ↑ "設備および停電等の状況について(9月7日12時現在)" (PDF). Hokkaido Electric Power Company. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 September 2018. สืบค้นเมื่อ 7 September 2018.
- ↑ "設備および停電等の状況について". Hokkaido Electric Power Company. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2018.
- ↑ ""ライフラインの状況(9月6日18:30時点)"". Prime Minister's Official Residence (Japan).
- ↑ ""Breaking News at 11:00"". NHK World-Japan. สืบค้นเมื่อ 16 February 2022.
- ↑ "住宅倒壊などの情報 北海道 厚真町". NHK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2018. สืบค้นเมื่อ 6 September 2018.
- ↑ "北海道管内で地震による通行止めを実施しています" [We are carrying out a road closure due to an earthquake within Hokkaido]. East Nippon Expressway Company. 6 September 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2018. สืบค้นเมื่อ 3 December 2018.
- ↑ "Farmers, fishers struggling after Hokkaido quake". NHK World-Japan (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2018. สืบค้นเมื่อ 7 September 2018.
- ↑ "最大震度7を記録した地震の一覧". www.weblio.jp. สืบค้นเมื่อ 20 February 2022.
- ↑ "厚真町は震度7 北海道内で史上初の観測 気象庁". Asahi Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-06. สืบค้นเมื่อ 7 September 2018.
- ↑ 北海道胆振地方中東部を震源とする地震について (ภาษาญี่ปุ่น). 日本首相官邸. 6 September 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2018. สืบค้นเมื่อ 6 September 2018.
- ↑ Staff, Our Foreign (6 September 2018). "Hokkaido earthquake: Eight dead as landslides and power outages hit northern Japan". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 6 September 2018.
- ↑ "คาโอริ คาเนโกะ, ชางรัน คิม "แผ่นดินไหวอันทรงพลังทําให้ฮอกไกโดเป็นอัมพาตในภัยพิบัติล่าสุดที่จะถล่ม". สืบค้นเมื่อ 16 February 2022.
- ↑ Kaori Kaneko, Chang-Ran Kim. "Powerful quake paralyses Hokkaido in latest disaster to hit Japan". Reuters. สืบค้นเมื่อ 6 September 2018.
- ↑ "Japan vs. Chile cancelled after earthquake hits Sapporo". ESPN. 6 September 2018. สืบค้นเมื่อ 6 September 2018.
- ↑ "天皇皇后両陛下 北海道地震の被災者をお見舞い 厚真町" [The Emperor and Empress visit the victims of the Hokkaido Earthquake in Atsuma]. NHK. 15 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 November 2018. สืบค้นเมื่อ 9 December 2018.