รัฐประหารในประเทศอียิปต์ พ.ศ. 2556
รัฐประหารในประเทศอียิปต์ พ.ศ. 2556 | |||
---|---|---|---|
การประท้วงต่อต้านรัฐประหารที่จัตุรัสเราะบาอ์, 1 สิงหาคม ค.ศ. 2013 | |||
วันที่ | 3 กรกฎาคม 2013 | ||
สถานที่ | อียิปต์ | ||
สาเหตุ | การประท้วงในประเทศอียิปต์ เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2013 | ||
เป้าหมาย | ปลดประธานาธิบดีมุฮัมมัด มุรซี | ||
ผล | กองทัพอียิปต์ปลดประธานาธิบดีมุฮัมมัด มุรซีออก
| ||
คู่ขัดแย้ง | |||
ผู้นำ | |||
| |||
ความเสียหาย | |||
เสียชีวิต | มากกว่า 1,150 คน[4][5] | ||
บาดเจ็บ | มากกว่า 4,000 คน[2][3] |
วันที่ 3 กรกฎาคม 2556 จอมพล อับดุลฟัตตาห์ อัสซีซี (Abdul Fatah al-Sisi) ถอดประธานาธิบดีมุฮัมมัด มุรซี (Mohamed Morsi) และระงับรัฐธรรมนูญแห่งอียิปต์หลังมีการประท้วงสาธารณะ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นหลังการประท้วงสาธารณะขนานใหญ่ในประเทศอียิปต์ทั้งสนับสนุนและต่อต้านมุรซี และมีคำเตือนจากกองทัพให้ประธานาธิบดีสนองตอบข้อเรียกร้องของผู้ประท้วง มิฉะนั้นกองทัพจะดำเนินตามแผนของตน อัล-เซสซีประกาศให้อัดลี มันซูร์ (Adly Mansour) เป็นประธานาธิบดีอียิปต์ชั่วคราว มุรซีถูกกักบริเวณอยู่ในบ้านและมีการจับกุมผู้นำภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood) จากนั้น ได้เกิดการเดินขบวนและการปะทะระหว่างผู้สนับสนุนและผู้คัดค้านรัฐประหารทั่วประเทศอียิปต์[6]
การประท้วงต่อต้านมุรซีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ตรงกับวันครบรอบหนึ่งปีพิธีเข้ารับตำแหน่งของมุรซี ผู้ประท้วงหลายล้านคนทั่วประเทศออกมาตามท้องถนนและเรียกร้องให้ประธานาธิบดีลาออกทันที สาเหตุรวมถึงการกล่าวหาว่ามุรซีเป็นเผด็จการเพิ่มขึ้นและผลักดันวาระศาสนาอิสลามโดยไม่คำนึงถึงผู้คัดค้านฆราวาสนิยม (secular)[7][8][9] การเดินขบวนประท้วง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไปโดยสงบ กลายเป็นรุนแรงเมื่อผู้ประท้วงต่อต้านมุรซีห้าคนถูกสังหารในการปะทะและเหตุยิงกันหลายครั้ง ขณะเดียวกัน ผู้สนับสนุนมุรซีจัดการชุมนุมในนครนาสซ์ (Nasr City) อันเป็นย่านของกรุงไคโร[10]
เช้าวันที่ 1 กรกฎาคม ผู้ประท้วงต่อต้านมุรซีปล้นสะดมสำนักงานใหญ่ประจำชาติของกลุ่มภารดรภาพมุสลิมในกรุงไคโร ผู้ประท้วงขว้างปาวัตถุใส่กระจกและปล้นอาคาร ทั้งขโมยอุปกรณ์สำนักงานและเอกสาร กระทรวงสาธารณสุขและประชากรยืนยันว่ามีผู้เสียชีวิตแปดคนในเหตุปะทะรอบสำนักงานใหญ่[11] วันที่ 3 กรกฎาคม มือปืนเปิดฉากยิงใส่การชุมนุมสนับสนุนมุรซี เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 16-18 คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 200 คน[12][13][14][15] ขณะเดียวกัน ระหว่างที่มีการประท้วงต่อต้านรัฐบาล ก็มีการประท้วงสนับสนุนมุรซีขนาดเล็กกว่าด้วย
สถานการณ์บานปลายเป็นวิกฤตการณ์การเมืองและรัฐธรรมนูญระดับชาติ เมื่อมุรซีปฏิเสธข้อเรียกร้องของกองทัพที่ให้เขาสละอำนาจและกองทัพขู่ว่าจะยึดอำนาจหากนักการเมืองพลเรือนไม่ระงับสถานการณ์ มุรซีกล่าวสุนทรพจน์ท้าทายซึ่งเขาย้ำความชอบธรรมของเขาในฐานะที่เป็นประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยและวิจารณ์กองทัพที่ถือฝ่ายในวิกฤตการณ์นี้ วันที่ 3 กรกฎาคม กองทัพอียิปต์ประกาศยุติการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของมุรซี[16][17] ระงับรัฐธรรมนูญ และให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่โดยเร็ว กองทัพแต่งตั้งให้อัดลี มันซูร์ ประธานศาลสูงสุด เป็นประธานาธิบดีชั่วคราว และมอบหมายให้เขาตั้งรัฐบาลเปลี่ยนผ่านที่นิยมนักวิชาการ (technocratic)[16] มุรซีถูกกักบริเวณอยู่ในบ้านและผู้นำภราดรภาพมุสลิมถูกจับ[18] แถลงการณ์ดังกล่าวตามมาด้วยการเดินขบวนและการปะทะระหว่างผู้สนับสนุนและผู้คัดค้านรัฐประหารทั่วประเทศอียิปต์ ฝ่ายแกรนด์ชีคแห่งอัลอัซฮัร (Grand Sheikh of Al Azhar) อะห์มัด มุฮัมมัด อัฏฏ็อยยิบ พระสันตะปาปาทาวาดรอสที่ 2 แห่งศาสนจักรคอปติก เช่นเดียวกับผู้นำฝ่ายค้าน โมฮัมเหม็ด เอลบาราเด ออกแถลงการณ์หลังแถลงการณ์ของกองทัพเช่นกัน[19]
ประชาคมนานาชาติมีปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ปะปนกัน โลกอาหรับส่วนใหญ่สนับสนุนหรือเป็นกลาง ยกเว้นประเทศตูนิเซียอันเป็นจุดเริ่มต้นของอาหรับสปริง รัฐอื่นไม่ประณามก็แสดงความกังวลต่อรัฐประหารดังกล่าว เนื่องจากระเบียบของสหภาพแอฟริกาว่าด้วยการขัดขวางการปกครองด้วยรัฐธรรมนูญโดยรัฐสมาชิก อียิปต์จึงถูกระงับสมาชิกภาพ นอกจากนี้ ยังมีการถกเถียงในสื่อว่าด้วยการอธิบายเหตุการณ์เหล่านี้ การประท้วงสนับสนุนมุรซีดำเนินต่อไปอย่างน้อยถึงวันที่ 21 กรกฎาคม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "BREAKING: Egypt's interim president dissolves Shura Council: State TV". Ahram Online. 5 July 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 October 2013. สืบค้นเมื่อ 17 July 2013.
- ↑ "Health Ministry: 52 dead since unrest began". Egypt Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2013. สืบค้นเมื่อ 6 July 2013.
- ↑ "31 Egyptians killed in clashes". World Bulletin. 6 July 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2013. สืบค้นเมื่อ 6 July 2013.
- ↑ "Egypt: Rabaa Killings Likely Crimes against Humanity". Human Rights Watch. 12 August 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2014. สืบค้นเมื่อ 15 August 2014.
- ↑ "90 Egyptians killed in week's clashes". World Bulletin. 6 July 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2013. สืบค้นเมื่อ 6 July 2013.
- ↑ Abigail Hauslohner. "Egypt protests: Protesters joyous as army removes Morsi, Morsi rejects 'coup'". Toronto Star. Retrieved 3 July 2013.
- ↑ Patrick Kingsley (30 June 2013). "Protesters across Egypt call for Mohamed Morsi to go". The Guardian.
- ↑ Hendawi, Hamza; Macdonald, Alastair (30 June 2013). "Egypt protests: Thousands gather at Tahrir Square to demand Morsi's ouster". AP via Toronto Star. สืบค้นเมื่อ 30 June 2013.
- ↑ Spencer, Richard (1 July 2013). "Egypt protests: Army issues 48-hour ultimatum for agreement amid clashes". The Daily Telegraph. Cairo. สืบค้นเมื่อ 1 July 2013.
- ↑ "Egypt crisis: Mass protests over Morsi grip cities". BBC News. 1 July 2013. สืบค้นเมื่อ 1 July 2013.
- ↑ "Egypt protesters storm Muslim Brotherhood headquarters". BBC News. 1 July 2013. สืบค้นเมื่อ 1 July 2013.
- ↑ "Egypt: Deadly Clashes at Cairo University".
- ↑ "Gun attack on Cairo pro-Morsi rally kills 16: ministry".
- ↑ "Attack on pro-Morsi rally kills 16".
- ↑ "Morsi refuses to quit as Egypt army deadline looms". The times of Oman. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-27. สืบค้นเมื่อ 2013-07-22.
- ↑ 16.0 16.1 "Morsy out in Egypt coup". CNN. 28 June 2013. สืบค้นเมื่อ 3 July 2013.
- ↑ "Egyptian army suspends constitution". BBC News. 3 July 2013.
- ↑ Abigail Hauslohner. "Egypt protests: Protesters joyous as army removes Morsi, Morsi rejects 'coup'". Toronto Star. สืบค้นเมื่อ 3 July 2013.
- ↑ "Elbaradei appointed as Egypt's interim PM". Al Jazeera. 6 July 2013. สืบค้นเมื่อ 6 July 2013.